แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีสู่เยาวชน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Plant Pathology
ประสบการณ์ : การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมไส้เดืนฝอยรากปมโดยชีววิธี การเพาะเห็ด
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.สุภาวดี แก้วระหัน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : General Plant Science
ประสบการณ์ : ด้านการสอน วิชาปฐพีเบื้องต้น พืชอุตสาหกรรม งานวิจัย อโครงการน้ำทิ้งจากโรงงานก้าวหน้าไก่สดต่อการผลิตข้าว โครงการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการผลิตป๋ยน้ำจากสิ่งเหลือใช้ในครัวเรือน การนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงงานก้าวหน้าไก่สดมาใช้ประโยชน์ในการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ธาตุอาหารพืช
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจำนงค์ จันทะสี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาตร์)
ประสบการณ์ : - ผู้ช่วยนักวิจัย ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโโดยชีวินทรีย์แ่ห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง - เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานชุดโครงการ การพัฒนาไก่พื้นเมือง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ความเชี่ยวชาญ : โรคพืช วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
ผู้ร่วมโครงการ
นายสมชาย คำแน่น คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : วท.บ.(สาธารณสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี, ประเทศไทย. 2552.
ประสบการณ์ : พนักงานห้องปฏิบัติการ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : งานอารักขาพืช การผลิตเห็ด
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากความตื่นกลัวพิษตกค้างของสารเคมีในพืชผัก ประกอบกับผู้บริโภคหันมาสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะกระแสการบริโภคอาหารปลอดภัย ปลอดสารพิษ ทำให้ตลาดสินค้าปลอดสารพิษเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological Control) โดยการใช้ประโยชน์จากศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ตัวห้ำ (predator) ตัวเบียน (parasite) ตลอดจนเชื้อโรค (pathogen) เพื่อควบคุมศัตรูพืช นับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับแนวคิดการผลิตพืชปลอดภัย จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่ามีศัตรูธรรมชาติหลายชนิดมีบทบาทสำคัญในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น แมลงเบียนหลายชนิด ได้แก่ แตนเบียนไข่ Trichogramma sp. และแตนเบียนหนอน Cotesia flavipes เป็นแมลงเบียนที่สำคัญของหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย ส่วนในแปลงผักพบแตนเบียนหนอนใยผัก Cotesia plutellae และแตนเบียนหนอนกระทู้ผัก Apanteles sp. ส่วนแมลงตัวห้ำพบหลายชนิดสามารถเพาะเลี้ยงเพื่อนำไปควบคุมศัตรูพืช เช่น มวนพิฆาต Eocanthecona furcellata มวนเพชฌฆาต Sycanus sp. เป็นศัตรูธรรมชาติที่ทำลายหนอนผีเสื้อได้หลายชนิด แมลงช้างปีกใส Mallada basalis เป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งและแมลงหวี่ขาว นอกจากนี้ยังมีแมลงหางหนีบ Proreus simulans และ Labidura riparia เป็นตัวห้ำที่มีศักยภาพควบคุมหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด Ostrinia furnacalis ส่วนแมลงหางหนีบ Euborellia sp. เป็นตัวห้ำที่ใช้กันแพร่หลายและประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงแก่เกษตรกร เชื้อจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการควบคุมโรคและแมลงศัตรูผัก เช่น เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis สามารถควบคุมหนอนผีเสื้อ หนอนใยผัก เชื้อไวรัส NPV สามารถควบคุมหนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย เชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae สามารถนำมาควบคุมตัวอ่อนแมลงที่พบในดิน เช่น ตัวหนอนด้วงหมัดผัก หนอนด้วงหนวดยาว รวมทั้งการใช้เชื้อราขาว Beauveria bassiana ควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้ ส่วนการใช้เชื้อจุลินทรีย์โรคพืชพบว่ามีเชื้อจุลินทรีย์หลายสายพันธุ์ของ Trichoderma harizanum และ Bacillus subtillis สามารถยับยั้งการเกิดโรครากเน่า โคนเน่า โรคเหี่ยว ได้ในพืชหลายชนิด คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการเผยแพร่เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีเพื่อผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งเพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการเรียนการสอนวิชา ๑๒๐๒ ๔๓๓ การควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช โดยการนำนักศึกษาเข้าร่วมให้บริการวิชาการ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทักษะด้านการสื่อสารกับชุมชน จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีสู่เยาวชน” ให้กับนักเรียนในระดับประถมและระดับมัธยมศึกษา เพื่อเป็นการปลูกฝังแนวคิดในการทำการเกษตรแบบปลอดภัยให้กับเยาวชนในท้องถิ่น ได้เรียนรู้ถึงการเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติบางชนิด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืช ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยสำหรับนำมาใช้ควบคุมศัตรูพืช และนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่และขยายผลสู่เพื่อนนักเรียน ครอบครัว รวมทั้งชุมชน สร้างเสริมสุขภาพของผู้ปลูก และผู้บริโภคให้ห่างไกลจากการใช้สารเคมี และลดมลพิษที่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้เยาวชนได้รู้จักชนิดของศัตรูพืช และศัตรูธรรมชาติ
2.2. เพื่อให้เยาวชนทราบถึงวิธีการเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์ศัตรูธรรมชาติเพื่อควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
3.3. เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะการสื่อสารกับชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
80 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1 รับสมัครผู้เข้าอบรมโดยการประชาสัมพันธ์ทางสื่ออินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยและทางจดหมาย 1.2 ปลูกพืชอาหารสำหรับแมลงศัตรูพืช ได้แก่ หม่อน ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ถั่ว 1.3 ดำเนินการเพาะเลี้ยงเหยื่อ (แมลงศัตรูพืช) ได้แก่ หนอนกระทู้ผัก หนอนไหม เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ไข่ผีเสื้อข้าวสาร 1.4 ดำเนินการเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แมลงช้างปีกใส แมลงหางหนีบ มวนเพชฌฆาต มวนพิฆาต เชื้อรา B. bassiana เชื้อรา M. anisopliae และเชื้อรา Trichoderma harizanum 1.5 จัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม 1.6 จัดฝึกอบรมโดยการบรรยายและปฏิบัติการ ระยะเวลา 1 วัน จำนวน 2 ครั้ง 1.7 สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.รับสมัครและคัดเลือกผู้เข้าอบรมฯ -- --- --- --- 4,000.00
2.ปลูกพืชอาหาร -- --- --- --- 20,000.00
3.เพาะเลี้ยงเหยื่อ และศัตรูธรรมชาติ - --- --- --- 40,000.00
4.จัดทำเอกสารฝึกอบรมฯ - --- --- --- 7,000.00
5.จัดฝึกอบรมฯ -- --- --- --- 65,000.00
6.สรุปผลการดำเนินงาน --- -- --- --- 4,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.00 - 08.20 น. ลงทะเบียนพร้อมรับเอกสารฝึกอบรม
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
16.15 - 16.30 น. พิธีปิดการฝึกอบรม
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
15.15 - 16.15 น. ปฏิบัติการฐานกิจกรรม “วิธีการนำศัตรูธรรมชาติมาใช้ควบคุมศัตรูพืชในสภาพแปลงปลูก” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/ นายสมชาย คำแน่น
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
15.00 - 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
14.00 - 15.00 น. ปฏิบัติการฐานกิจกรรม “จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืชและการเพาะเลี้ยง” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/ ผศ.ดร.สุภาวดี แก้วระหัน
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
13.00 - 14.00 น. ปฏิบัติการฐานกิจกรรม “แมลงหางหนีบและการเพาะเลี้ยง” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/ นางสาวจำนงค์ จันทะสี
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
11.00 - 12.00 น. ปฏิบัติการฐานกิจกรรม “แมลงช้างปีกใสและการเพาะเลี้ยง” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/ ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
10.00 - 11.00 น. ปฏิบัติการฐานกิจกรรม “มวนตัวห้ำและการเพาะเลี้ยง” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/ นายสมชาย คำแน่น
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
09.45 - 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.30 - 09.45 น. บรรยาย “ศัตรูพืช ศัตรูธรรมชาติ และการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี” ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.20 - 08.30 น. พิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
14.00 - 15.00 น. ปฏิบัติการฐานกิจกรรม “จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืชและการเพาะเลี้ยง” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/ ผศ.สุภาวดี แก้วระหัน
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
15.00 - 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
15.15 - 16.15 น. ปฏิบัติการฐานกิจกรรม “วิธีการนำศัตรูธรรมชาติมาใช้ควบคุมศัตรูพืชในสภาพแปลงปลูก” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/ นายสมชาย คำแน่น
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
16.15 - 16.30 น. พิธีปิดการฝึกอบรม
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
13.00 - 14.00 น. ปฏิบัติการฐานกิจกรรม “แมลงหางหนีบและการเพาะเลี้ยง” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/ นางสวาจำนงค์ จันทะสี
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
11.00 - 12.00 น. ปฏิบัติการฐานกิจกรรม “แมลงช้างปีกใสและการเพาะเลี้ยง” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/ ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
09.45 - 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.30 - 09.45 น. บรรยาย “ศัตรูพืช ศัตรูธรรมชาติ และการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี” ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.20 - 08.30 น. พิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.00 - 08.20 น. ลงทะเบียนพร้อมรับเอกสารฝึกอบรม
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
10.00-11.00 น ปฏิบัติการฐานกิจกรรม “มวนตัวห้ำและการเพาะเลี้ยง” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/ นายสมชาย คำแน่น

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เยาวชนเหล่านี้สามารถเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติได้เองอย่างง่าย เพื่อนำไปใช้ควบคุมการระบาดของศัตรูพืช เป็นการช่วยลดรายจ่ายในการควบคุมศัตรูพืช รวมทั้งสามารถเลี้ยงเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริม
ด้านสังคม : เยาวชนสามารถนำความรู้ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือถ่ายทอดแนวคิด และเทคนิคในการควบคุมศัตรูพืชให้แก่ครู และเพื่อนๆในโรงเรียน มีการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณศัตรูธรรมชาติ เพื่อใช้ในกลุ่มโรงเรียนตนเอง จึงเป็นแนวทางสามารถกระตุ้นให้เยาวชนพัฒนาเป็นกลุ่มยุวเกษตร ที่จะสร้างชุมชนเข้มแข็งที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต
ด้านสิ่งแวดล้อม : เกิดการอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้กับชุมชน
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
85
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ปลูกฝังแนวคิดในการทำการเกษตรแบบปลอดภัยให้กับเยาวชนในท้องถิ่น ปลูกจิตสำนึกและปลูกฝังให้เยาวชนได้ตระหนักถึงผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้เรียนรู้ถึงการเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติบางชนิด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืช

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา โรคพืชวิทยาเบื้องต้น, วิชา กีฎวิทยาเบื้องต้น, วิชา การควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช, วิชา การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
หลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพืชไร่ พืชสวน
นักศึกษาชั้นปี : 2 และ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชาได้ร้อยละ 100
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 15 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 21,440.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 13,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 13,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,240.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
3,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 44,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 7,500.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 2,500 บาท/คัน/วัน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 24,500.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาแรงงานเลี้ยงแมลง (1 คน x 300 บาท x 40 วัน)
=
12,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารฝึกอบรม 80 ชุดๆละ 150 บาท
=
12,000.00 บาท
3) ค่าถ่ายเอกสาร 1,000 แผ่นๆละ 0.50 บาท
=
500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 34,560.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,560.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 2,560 บาท
=
2,560 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ทำป้ายประชาสัมพันธ์
2 x 500 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 1,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 1,500 บาท
=
1,500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าเชื้อเพลิง
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 27,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
=
2,000.00 บาท
2) วัสดุเกษตร
=
20,000.00 บาท
3) วัสดุสารเคมี
=
3,500.00 บาท
4) วัสดุงานบ้านงานครัว
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท