แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 34
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : การเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการด้านการเกษตร และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ผ่านกระบวนการจัดการแข่งขัน
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.สราญ ปริสุทธิกุล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เกษตรเขตร้อน
ประสบการณ์ : การจัดการพืชอาหารสัตว์และการผลิตแพะแกะ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการพืชอาหารสัตว์ การผลิตแพะแกะ
หัวหน้าโครงการ
นายบรรพต คชประชา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : วท.บ(พืชสวน)
ประสบการณ์ : นักวิชาการพืชสวน
ความเชี่ยวชาญ : การเพาะเห็ด
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ทวีศักดิ์ วิยะชัย คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ การขยายพันธุ์พืช การผลิตเห็ด การผลิตต้นอ่อนงอก
ความเชี่ยวชาญ : การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2526 โดยมีสถาบันการศึกษาที่ทำการเรียนการสอนทางด้านการเกษตรเข้าร่วม 4 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งความหมายของคำว่า 4 จอบ ในสมัยนั้น หมายถึง จอบแต่ละด้ามที่ถือว่าเป็นสถาบันตัวแทนจากแต่ละภูมิภาคของประเทศ อันได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งจะทำการหมุนเวียนสถาบันที่เป็นเจ้าภาพในการจัดงานประเพณี 4 จอบ ในทุกๆปี วัตถุประสงค์ของการจัดงานประเพณี 4 จอบ คือ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร ผ่านทางการจัดกิจกรรมต่างๆ และรับทราบข้อมูลวิชาการด้านการเกษตร เช่น การแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร กีฬาสากล และกีฬาฮาเฮ เป็นต้น รวมถึงเพื่อก่อให้เกิดมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาและบุคลากรจากแต่ละสถาบัน อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจากแต่ละสถาบันอีกด้วย ปัจจุบันงานประเพณี 4 จอบ ได้ดำเนินมาถึงครั้งที่ 34 โดยมีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีดำเนินการเป็นสถาบันเจ้าภาพในการจัดงาน ภายใต้ชื่อ “เกษตรเมืองนักปราชญ์ ราชธานีอีสาน ร่วมสืบสานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 34” ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22 - 27 ธันวาคม 2559 และมีสถาบันการศึกษาที่ทำการเรียนการสอนทางด้านการเกษตรเข้าร่วม ทั้งสิ้น 12 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะวิชาการทางด้านการเกษตร ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือและพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต
2.เพื่อเพิ่มพูลความรู้ทางด้านวิชาการแก่นักศึกษาทั้ง 12 มหาวิทยาลัย
3.เพื่อแลกเปลี่ยน และสืบสานศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน
4.เพื่อส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้จักเสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
5.เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีและสร้างความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ นิสิต นักศึกษาของสถาบันต่างๆ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นิสิต นักศึกษา สาขาการเกษตรทั่วประเทศไทย ทั้ง 12 สถาบันได้รับความรู้จากการบริการวิชาการด้านการเกษตรเพิ่มมากขึ้น
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
1450 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ และทักษะวิชาการทางด้านการเกษตร 2. กิจกรรมการเผยแพร่ข้อมูล และทักษะวิชาการทางด้านการเกษตรแก่นักศึกษา และบุคลากรทั้ง 12 สถาบัน 3. กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสากล 4. กิจกรรมสันทนาการ เช่น การแข่งขันกีฬาฮาเฮ กีฬาพื้นบ้าน 5. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละสถาบัน 6. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และทัศนศึกษา

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดทำข้อเสนอโครงการ -- --- --- --- 0.00
2.ประชุมเตรียมพร้อมคณะทำงาน - --- --- --- 0.00
3.เตรียมงาน(จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ) และจัดหาสถานที่ในการจัดงาน -- --- --- --- 500,000.00
4.ดำเนินงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ -- --- --- --- 1,000,000.00
5.สรุปโครงการ --- - --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 6 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
07.00 – 14.00 น. นิสิต นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรจากสถาบันต่างๆ เดินทางถึง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และลงทะเบียนเข้าที
22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
14.00 – 17.00 น. ประชุมนิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรทุกสถาบัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการเกษตร
22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
17.00 – 22.00 น. พิธีเปิดงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 34 ณ ลานบึกบึน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
16.00 – 18.00 น. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
13.00 – 16.00 น. การแข่งขันกีฬาสากล
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
12.30 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
12.00 – 12.30 น. พิธีมอบเกียรติบัตรการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
08.00 – 12.00 น. นักศึกษารับฟังการการบรรยาย/สาธิต ทักษะทางการเกษตรที่ถูกวิธี เพื่อเตรียมการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษต บุคลากรทั้ง 12 สถาบัน
24 ธันวาคม พ.ศ. 2559
18.00 – 23.00 น. การประกวดดาว – เดือน 4 จอบ
24 ธันวาคม พ.ศ. 2559
13.00 – 16.00 น. การแข่งขันกีฬาสากล
24 ธันวาคม พ.ศ. 2559
12.30 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
24 ธันวาคม พ.ศ. 2559
12.00 – 12.30 น. พิธีมอบเกียรติบัตรการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร
24 ธันวาคม พ.ศ. 2559
08.00 – 12.00 น. นักศึกษารับฟังการการบรรยาย/สาธิต ทักษะทางการเกษตรที่ถูกวิธี เพื่อเตรียมการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษต บุคลากรทั้ง 12 สถาบัน
24 ธันวาคม พ.ศ. 2559
06.00 – 08.00 น. กิจกรรมตักบาตร (พระสงค์ 34 รูป)
25 ธันวาคม พ.ศ. 2559
17.00 – 19.00 น. การแข่งขันสันทนาการเพื่อความสัมพันธ์ ณ ศูนย์กีฬาเอนกประสงค์
25 ธันวาคม พ.ศ. 2559
14.00 – 17.00 น. รอบชิงการแข่งขันกีฬาสากล
25 ธันวาคม พ.ศ. 2559
13.00 – 14.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
25 ธันวาคม พ.ศ. 2559
12.00 – 13.00 น. พิธีมอบเกียรติบัตรการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร
25 ธันวาคม พ.ศ. 2559
08.00 – 12.00 น. นักศึกษารับฟังการการบรรยาย/สาธิต ทักษะทางการเกษตรที่ถูกวิธี เพื่อเตรียมการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษต บุคลากรทั้ง 12 สถาบัน
26 ธันวาคม พ.ศ. 2559
06.00 – 15.00 น. กิจกรรมทัศนศึกษา จ.อุบลราชธานี
26 ธันวาคม พ.ศ. 2559
15.00 – 18.00 น. ผู้แทนนิสิต นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรประชุมสรุปผลการแข่งขันกีฬาทักษะ และกีฬาสากล งานประเพณี 4 จอบแ
26 ธันวาคม พ.ศ. 2559
18.00 – 23.00 น. พิธีปิดงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 34 ณ ลานบึกบึน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
27 ธันวาคม พ.ศ. 2559
08.00 – 12.00 น. นิสิต นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรจากสถาบันต่างๆเดินทางกลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น เกิดสัมพันธภาพภายในสายงานการเกษตร
ด้านสิ่งแวดล้อม : ในกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาได้พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยการช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่ม
ด้านอื่นๆ : 1. นักศึกษามีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางการเกษตรซึ่งกันและกัน 2. นักศึกษาเกิดการเพิ่มพูนองค์ความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิชาชีพของตนเองมากยิ่งขึ้น 3. นักศึกษามีน้ำใจเป็นนักกีฬา และตระหนักถึงประโยชน์ของการเล่นกีฬามากยิ่งขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
1450
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
นักศึกษาสาขาการเกษตรทั่วประเทศ ทั้ง 12 สถาบันเกิดการเรียนรู้ เพิ่มพูลความรู้ในด้านการเกษตรมากยิ่งขึ้น

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 156,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 47,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 40,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
40,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 8 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 109,000.00 บาท )
1) ค่าทำงานนอกเวลาราชการจำนวน 20 คน x จำนวน 10 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
40,000.00 บาท
2) ค่าทำความสะอาดพื้นที่บริเวณการจัดงานจำนวน 6 คน x จำนวน 8 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
9,600.00 บาท
3) ค่าตอบแทนกรรมการตัดสินกีฬาสากลจำนวน 18 คน x จำนวน 33 ชม. x จำนวน 100.00 บาท/ชม.
=
59,400.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 1,342,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 435,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 1450 คน
=
435,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 507,500.00 บาท )
1) จำนวน 7 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 1450 คน
=
507,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 400,000.00 บาท )
1) จ้างเหมาเวทีพร้อมเครื่องเสียงพิธีเปิด-ปิด
=
300,000.00 บาท
2) วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร
=
100,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 1,300.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,300.00 บาท )
1) ไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ
1 x 1,300 บาท
=
1,300 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 1,500,000.00 บาท