แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาววรรณนภา สุทธิประภา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : งานสอน งานวิจัย วิทยากรบรรยายความรู้ด้านบัญชี และภาษีอากร หัวหน้าโครงการ กรรมการ และวิทยากรโครงการบริการวิชาการวิชาการและทำนุศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : การบัญชี และการภาษีอากร
หัวหน้าโครงการ
นางสาวพิมลพรรณ อุดมพันธ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : สอน 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : e-commerce
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวใจแก้ว แถมเงิน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การตลาด
ประสบการณ์ : หัวหน้า กรรมการ และวิทยากรโครงการบริการวิชาการด้านการตลาดตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : การตลาด การจัดการ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวฉัตรฤดี ศิริลำดวน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการธุรกิจ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการลงทุนเพื่อสังคม SIP ททท.สนับสนุนงบประมาณ
ความเชี่ยวชาญ : ด้านการบริหารการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวกาญจนา คุ้มทรัพย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบริหารการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา (2545) - รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและประกันคุณภาพ (2550) - ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวางแผน (ก.ค.2558-เม.ย. 59)
ความเชี่ยวชาญ : เศรษฐศาสตร์การพัฒนา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สหกรณ์ เศรษฐศาสตร์สีเขียว กิจการเพื่อสังคม (social enterprise)
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจิรภา โสภณ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการท่องเที่ยวและโรงแรม
ประสบการณ์ : ที่ปรึกษาโรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมบริการที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคม และนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมาก ตลาดการท่องเที่ยวในปัจจุบันมีการแข่งขันอย่างรุนแรง ดังนั้น การวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยใช้อัตลักษณ์ของประเทศหรือท้องถิ่น ให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจะทำให้การท่องเที่ยวมีการเติบโตที่เหมาะสมจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างมีอัตลักษณ์จะมีบทบาทต่อการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวและมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและได้มีการถ่ายทอดมรดกสืบเนื่องมาเป็นเวลานาน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชุมชนเพื่อความภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่น และยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไปในชุมชน การจัดหาแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องสำคัญ จะต้องมีการวางแผนและจัดการด้านให้คนในชุมชนมีส่วนรวม รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ของคนในชุมชนเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าชม และรัฐบาลได้ออกกฎหมายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้องค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน สร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นจุดขาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ การเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน เป็นแนวคิด ซึ่งจะนำไปสู่การรักษามรดกวัฒนธรรมเป็นประโยชน์ด้านองค์ความรู้และการให้คุณค่าแก่สังคมและการนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน แหล่งท่องเที่ยวหลายพื้นที่ในประเทศไทยมีศักยภาพที่อาจจะได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะภาคอีสานเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบหลากหลาย โดยให้ชุมชนเมืองและชนบทร่วมมือกัน โดยวางเป้าหมายที่จะนำภาคอีสานไปสู่เศรษฐกิจบนฐานความรู้ ฐานความน่าอยู่ กล่าวคือ เมืองน่าอยู่ สะดวก ปลอดภัยมีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสถานศึกษาและสถานพยาบาลคุณภาพสูงแวดล้อมด้วยธรรมชาติ (กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ, 2556) และศิลปวัฒนธรรมที่งดงามสมบูรณ์ที่จะดึงดูดกิจกรรมการท่องเที่ยวและบริการสร้างงานที่ดีให้แก่ประชาชนและสร้างความรุ่งเรืองให้เศรษฐกิจภาคอีสานในภาพรวม (สำนักผังประเทศและผังภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2553) จังหวัดอุบลราชธานีถือว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นศูนย์รวมของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจและมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกวัน เพราะถือเป็นตัวเลือกให้กับนักท่องเที่ยวที่มีความศรัทธาในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แต่นอกเหนือจากความศรัทธา ปัจจัยหลักที่นักท่องเที่ยวตัดสินใจเลือกที่จะเดินทางหรือกลับมาสักการะแหล่งวัฒนธรรมอีกครั้ง นั่นคือ ต้นทุนการเดินทาง และสภาพแวดล้อมของสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลายมากมาย หากชุมชนได้มีการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวแบบที่พักสัมผัสวัฒนธรรมที่มีจุดเด่น และมีการพัฒนากำหนดเกณฑ์โดยการออกแบบรูปแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนให้เหมาะสมแล้ว จะทำให้โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวแบบที่พักสัมผัสวัฒนธรรม มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืนอยู่คู่สังคมไทย ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม โดยใช้การท่องเที่ยวแบบที่พักสัมผัสวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างมรดกวัฒนธรรมของไทยและสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น อีกด้วย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นสถานศึกษา ที่มีปรัชญาที่มุ่งเน้นการพัฒนาท้องถิ่น มีศูนย์บริการทางด้านวิชาการแก่ชุมชน และมีการทำความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ในการพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัย ที่พร้อมจะให้ความรู้แก่ชุมชนและประชาชนทั่วไปรวมถึงชาวต่างประเทศ และเพื่อเป็นการให้ความรู้ในการเสริมสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวแบบที่พักสัมผัสวัฒนธรรมแก่ประชาชนของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้จัดโครงการเสริมสร้างความรู้ให้ชุมชน ใน “โครงการเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน” ขึ้นมาในครั้ง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดความรู้และเพิ่มขีดความสามารถให้กับเครือข่ายธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบที่พักสัมผัสวัฒนธรรมและผู้ที่สนใจ
2.เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และการขยายแนวคิดการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตอีสานใต้
3.เพื่อสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการมรดกวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. บุคลากรและนักวิชาการสาขาการท่องเที่ยว และสาขาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 10 คน 2. หน่วยงานราชการ คณะกรรมการชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว นักศึกษาและบุคคลที่สนใจทั่วไป ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 50 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
- อบรมเชิงปฏิบัติการ - ศึกษาดูงานธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม - จัดทำแผนการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.แต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน จัดประชุมเพื่อกำหนดรูปแบบงาน หลักสูตรการอบรม และกิจกรรมในแต่ละช่วง - --- --- --- 5,000.00
2.2. กำหนดหลักสูตรอบรมร่วมกับวิทยากรหรือผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ลงพื้นที่สำรวจหาต้นแบบธุรกิจท่องเที่ยวมรดกเชิงวัฒนธรรมเพื่อศึกษาดูงาน - -- --- --- 20,000.00
3.3. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการประชาสัมพันธ์โครงการ และลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่ตรงและครบจำนวนตามพันธกิจของโครงการ --- -- --- 25,000.00
4.4. จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรมและประสานงานวิทยากร หน่วยงานราชการในพื้นที่เพื่อเข้าศึกษาดูงานธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม --- -- - --- 25,000.00
5.5. ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 2 วันและศึกษาดูงานจำนวน 1 วัน 1 คืน --- --- -- -- 40,000.00
6.6. สรุปและประเมินผลโครงการ --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 29 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 362 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
08.30–16.30 การบรรยายให้ความรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ วิทยากรภายนอก
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
09.00-12.00 การบรรยายให้ความรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ - วิทยากรคณะบริหารศาสตร์
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
13.00-16.00 - เดินทางไปศึกษาดูงานการจัดการการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมและอนุรักษ์เพื่อสร้างมาตรฐานการท่องเที่ยว วิทยากรคณะบริหารศาสตร์
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
09.00-16.00 การบรรยายให้ความรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมและการบริหารจัดการการท่องเที่ยว วิทยากรภายนอก

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการคิดค้นรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในชุมชนท้องถิ่น 2. เกิดการพึ่งพากันและกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและธุรกิจเอกชน คนในชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน 3. มีการอบรมและเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมและการบริหารจัดการการท่องเที่ยว 4. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : 1.เกิดการพึ่งพากันและกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและธุรกิจเอกชน คนในชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1.ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน สู่นักท่องเที่ยว มีการสืบสานตำนานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว 2.ผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสำคัญ เกิดพลังอนุรักษ์วัฒนธรรมในพื้นที่ และสร้างกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม มีความสามัคคีในชุมชน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชาสัมมนาบัญชีการเงิน วิชาสัมมนาการตลาด วิชาสัมมนาโรงแรม
หลักสูตร การบัญชี การตลาด การโรงแรม
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาสามารถวิเคราะห์จุดบกพร่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 30,300.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 15,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 1,000.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
12,000.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 14,700.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 7,500.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
7,500.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 84,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 17,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 10 คน x ครั้งละ 200.00 บาท
=
2,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 30 ห้อง x ห้องละ 500.00 บาท
=
15,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 22,500.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
22,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 27,000.00 บาท )
- จำนวน 6 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,500 บาท/คัน/วัน
=
27,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 3,500.00 บาท )
1) ค่าจ้างจัดสถานที่อบรม
=
3,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 5,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,700.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
60 x 40 บาท
=
2,400 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร (5,400 แผ่น * 0.50 บาท)
2,700 x 1 บาท
=
2,700 บาท
3) ค่าวัสดุประชาสัมพันธ์ (ป้ายไวนิ่ล)
1 x 600 บาท
=
600 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 120,000.00 บาท