แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ บริการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด และดัชนีมวลกายเพื่อการ ป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านการบริการสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวจารุวรรณ์ วงบุตดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สรีรวิทยา
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ
นายวัชรพงษ์ แสงนิล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สุวภรณ์ แดนดี คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สรีรวิทยา
ประสบการณ์ : อาจารย์หลักสูตรแพทยศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : neurophysiology behavior
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.เชาวลิต ยั่วจิตร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สรีรวิทยา
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : renal physiology
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานาน ข้อมูลจากสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ พบว่า ในปี 2556 ประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กว่า 700,000 รายเสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 9,647 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 27 คน อาการของผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน กระหายน้ำบ่อย อ่อนเพลีย กินเก่ง หิวเก่ง แต่น้ำหนักลดลงเนื่องจากร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อ คันผิวหนัง เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัว ชาไม่มีความรู้สึก เนื่องจากน้ำตาลสูง นานๆ ทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก หากผู้ป่วยเไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับอวัยวะส่วนต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ โรคเบาหวานเข้าจอประสาทตาเกิดจากการทำลายเส้นเลือดขนาดเล็กเป็นระยะเวลานานจนทำให้สูญเสียการมองเห็น โดยเฉลี่ยพบว่าเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเบาหวาน หากผู้ป่วยเป็นเบาหวานมาเป็นระยะเวลา 15 ปีจะพบโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80 ตาบอดประมาณร้อยละ 2 และสูญเสียการมองเห็นขั้นรุนแรง ร้อยละ 10 ทั้งนี้โรคเบาหวานสามารถป้องกันได้ โดยการสร้างเสริมสุขภาพ อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกิน ดำรงชีวิตด้วยหลัก “ 3อ.2 ส.” ได้แก่ อ.แรก อาหาร เลือกรับประทานอาหารไม่หวานจัด มันน้อย เค็มน้อย รับประทานปริมาณเหมาะสม มีผักและผลไม้พอเหมาะ อ.2 ออกกำลังกาย ประมาณ 50-60 นาที อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ หรือให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์ อ. 3 อารมณ์ ไม่ตึงเครียด จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม ทำจิตให้สงบ มีสมาธิ ส.แรก งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงจากสถานที่ที่มีควันบุหรี่ ส.2 งดดื่มสุรา จากข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า โรคเบาหวานอยู่อันดับที่ 7 ใน 10 อันดับแรกของผู้ป่วยใน โดยมีอัตราป่วยผู้ป่วยใน (อัตราต่อแสนประชากร) เท่ากับ 1,023.55, 1,183.8

วัตถุประสงค์
1. เพื่อบริการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและดัชนีมวลกาย
2. เพื่อรณรงค์ให้ความรู้และการป้องกันโรคเบาหวาน
3. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักการดูแลสุขภาพตนเอง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
อสม. ประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
70 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. จัดกิจกรรมบริการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและดัชนีมวลกายในเขตพื้นที่ศึกษา 2. รณรงค์ให้ความรู้และการป้องกันโรคเบาหวาน 3. วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูล 4. ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผล

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.บริการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและดัชนีมวลกายในเขตพื้นที่ศึกษา - --- - --- 33,800.00
2.รณรงค์ให้ความรู้และการป้องกันโรคเบาหวาน --- -- -- --- 42,200.00
3. วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูล --- --- -- -- 23,000.00
4.ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผล --- --- --- -- 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 181 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : ประชาชนได้รับบริการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและได้รับความรู้ การดูแล และการป้องกันโรค
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
70
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สรีรวิทยาของมนุษย์
หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 16,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 16,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
16,800.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 72,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 14,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
14,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 40,000.00 บาท )
1) ค่าจับพิกัด GPS
=
10,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูล
=
1,500.00 บาท
3) ค่าวิเคราะห์ข้อมูล
=
1,500.00 บาท
4) ค่าจัดทำฐานข้อมูล
=
10,000.00 บาท
5) ค่าตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
=
8,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาจัดนิทรรศกาล
=
8,000.00 บาท
7) ค่าถ่ายเอกสาร
=
1,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 10,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 600.00 บาท )
1) ค่าป้ายประชาสัมพันธ์
1 x 600 บาท
=
600 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง
40 x 25 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 9,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุทางการแพทย์ เช่น เข็มเจาะเลือด แถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
=
9,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท