แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการพึ่งตัวเองด้านสุขภาพ ครั้งที่ 4
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.อนุวัตร ภิญญะชาติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเวชศาสตร์
ประสบการณ์ : ประธานรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและครอบครัว 1 และ 2
ความเชี่ยวชาญ : Biochemistry ภาษาถิ่นอีสานทางการแพทย์
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
นิยามของคำว่าสุขภาพ ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO)กำหนด หรือตามที่กำหนดใน พรบ. สุขภาพแห่งชาตินั้น กินความของคำว่าสุขภาพในมิติของ สุขภาพกาย (Physical Health) สุขภาพจิต (Mental Health) สุขภาพทางสังคม (Social Health) และสุขภาพทางปัญญา (จิตวิสัญญาณหรือ Spiritual Health) สุขภาพดีนั้นไม่ได้มองในความหมายในแง่ลบ คือ ไม่ป่วย ไม่พิการ เท่านั้น แต่มองในความหมายในแง่บวก (Positive Health) คือ มิติทางจิตใจ สังคม และปัญญาด้วย เมื่อนิยามของสุขภาพนั้นกินความกว้างกว่าคำว่า ไม่ป่วย ไม่พิการ หรือไม่ตาย ภาระหน้าที่ทางด้านสุขภาพ จึงไม่จำกัดเป็นของกระทรวงสาธารณสุข หรือเป็นเรื่องของแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขเท่านั้น แต่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีสุขภาวะ ทั้งภาคราชการ ท้องถิ่น และภาคประชาสังคม ในการทำงานด้านสุขภาพนั้นหากจำกัดมุมมองที่ระบบสาธารณสุขหรือบริการทางการแพทย์ จึงเป็นการดำเนินการที่อาจจะขาดมุมมองด้านอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนั้นการส่งเสริมชุมชน ซึ่งเป็นผู้รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของชุมชนเอง ให้มีส่วนร่วมหรือเป็นกำลังหลักในการดูแลสุขภาพ จะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มีพันธกิจในการผลิตบัณฑิตด้านสุขภาพเพื่อรับใช้ชุมชน ในสาขาสาธารณสุขศาสตร์และแพทยศาสตร์ ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีศักยภาพและทักษะ ในการทำงานด้านสุขภาพร่วมกับบุคลากรสหวิชาชีพ รวมถึงองค์กรในชุมชน เพื่อผลในการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการดูแลสุขภาพ กระบวนการผลิตบัณฑิตให้มีศักยภาพดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งในชั้นเรียน การฝึกปฏิบัติ รวมทั้งการมีประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะทำให้นักศึกษาเกิดทัศนคติที่ดีในการทำงานเป็นทีมร่วมกับชุมชน อันจะส่งผลต่อการทำงานในอนาคต การวินิจฉัยชุมชนด้วยเครื่องมือ 7 ชิ้น ของ ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เป็นเครื่องมือที่ งาย ไดผล และสนุก ทำให้ทราบมิติของชุมชนในด้านต่างๆทุกๆด้าน ถ้าหากข้อมูลทั้ง 7 ชิ้นของชุมชนถูกรวบรวมไว้ได้อย่างถูกวิธีแล้วจะส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ รพ.สต. ทุกแห่งในประเทศไทยจึงต้องใช้เครื่องมือนี้ในการเข้าถึงปัญหาของชุมชนโดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพ แต่ปัญหาคือ มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวนจำกัด (เพียง 1-2 คน) ที่จะต้องรวบรวมข้อมูลจากทุกๆหลังคาเรือนในตำบลที่ตนเองรับผิดชอบนั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้น โครงการบริการวิชาการนี้ จึงเป็นการดึงข้อมูลออกมาจากชุมชนให้ได้มากที่สุด โดยมีนักศึกษาแพทย์เป็นตัวกลางในการดึงข้อมูลส่งต่อให้กับ รพ.สต. เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป อีกทั้งมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เครื่องมือ 7 ชิ้น ให้แก่ อสม. ผู้นำชุมชน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการรวบรวมข้อมูลให้แก่ รพ.สต. เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นข้อมูลจากคนในชุมชนจริงๆ และมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การทำประชาคม เพื่อให้ได้ปัญหาส่วนใหญ่ของชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งจากประสบการณ์การออกโครงการในหลายปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่แล้วผู้นำชุมชนยังไม่เข้าใจขั้นตอนการทำประชาคมเท่าใดนัก และที่ผ่านมาเป็นเพียงการโหวตเท่านั้น หนึ่งในขั้นตอนสุดท้ายของการทำประชาคม คือ การเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันกับหน่วยงานราชการ ซึ่งนักศึกษาแพทย์และคณาจารย์ก็จะได้เรียนรู้ปัญหาร่วมกันและจะนำปัญหาที่สนใจโดยเฉพาะด้านสุขภาพไปเป็นหัวข้องานวิจัยเพื่อศึกษาปัญหานั้นในอีกหลายๆมิติ และสุดท้ายผลงานวิจัยก็จะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงและเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนนี้ต่อไป โครงการนี้ จะให้นักศึกษาแพทย์และคณาจารย์กิน-นอนในบ้านพ่อแม่อุปถัมภ์ เพื่อให้คุ้นเคยกับการทำงานในชุมชน การปรับตัวให้สามารถอยู่ในชุมชน และประโยชน์ด้านอื่นๆอีกด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ 7 ชิ้น และการทำประชาคม เพิ่มมากขึ้น
2.เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน และคนในชุมชน ทราบปัญหาของชุมชนที่ตนอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น
3.เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน คนในชุมชน ได้เข้าร่วมฝึกอบรมเชิมปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น การทำประชาคม และการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันกับหน่วยงานราชการได้
4.เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ฝึกการทำวิจัยในชุมชน การปรับตัวเมื่ออาศัยอยู่ในชุมชน มีความรู้และทักษะในการทำวิจัยเพิ่มมากขึ้นจากในห้องเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ใหญ่บ้าน อปพร. อบต. กำนัล ปราชญ์ชุมชน ประมาณ 40 คน 2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน ประมาณ 10 คน 3. นักศึกษาแพทย์ จำนวน 36-48 คน 4. อาจารย์แพทย์ อาจารย์สาธารณสุข และอาจารย์พิเศษ ประมาณ 20 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. จัดอบรมเชิมปฏิบัติการเกี่ยวกับ การวินิจฉัยชุมชนโดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น การทำประชาคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ อสม. ผู้นำชุมชน หรือสมาชิกในชุมชน 2. ดำเนินการระดมสมองเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่พบในชุมชนร่วมกับหน่วยงานราชการโดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพ 3. นักศึกษาแพทย์นำปัญหาด้านสุขภาพจากการทำประชาคมและจากการระดมสมองมาดำเนินโครงการบริการวิชาการหรือโครงการวิจัยขนาดย่อมเพื่อให้ชุมชนเห็นทราบปัญหาของตนเองในมิติต่างๆมากขึ้น อีกทั้งเพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนเล็งเห็นการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับหน่วยงานราชการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประสานงานกับ รพสต ผู้นำชุมชน อสม จัดทำกำหนดการ เตรียมคู่มือฝึกอบรมภาคสนาม ฝึกอบรมการวินิจฉัยชุมชนด้วยเครื่องมือ 7 ชิ้น --- --- --- 50,000.00
2.ทำประชาคมในหมู่บ้าน แล้ว นศพ นำปัญหาที่ได้มาทำวิจัยในชุมชนพร้อมกับ อสม. โดยใช้ความรู้จากรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและครอบครัว 1, 2 --- --- --- 80,000.00
3.คืนข้อมูลแก่ชุมชน โดยจัดทำโปสเตอร์เพื่อบรรยายให้ความรู้จากผลการวินิจฉัยชุมชน และจากการทำวิจัยในชุมชน --- --- --- 15,000.00
4.สรุปผลการทำโครงการบริการวิชาการและส่งรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ --- --- --- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
14 ธันวาคม พ.ศ. 2559
กลางวันและกลางคืน อบรมเรื่องวินิจฉัยชุมชนด้วยเครื่องมือ 7 ชิ้น และ นศพ. เยี่ยมบ้านโดยหลัก INHOMESS, IFFE คณาจารย์วิทยาลัยฯ, หน่วยงานราชการ
15 ธันวาคม พ.ศ. 2559
กลางวันและกลางคืน อบรมเรื่องวินิจฉัยชุมชนด้วยเครื่องมือ 7 ชิ้น และ นศพ. เยี่ยมบ้านโดยหลัก INHOMESS, IFFE คณาจารย์วิทยาลัยฯ, หน่วยงานราชการ
16 ธันวาคม พ.ศ. 2559
กลางวันและกลางคืน คืนข้อมูลแก่ชุมชน ติดตามประเมินผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสู่การพึ่งพาตนเองของชุมชน ทำประชาคม คณาจารย์วิทยาลัยฯ, หน่วยงานราชการ, นักศึกษาแพทย์
22 มกราคม พ.ศ. 2560
กลางวันและกลางคืน ดำเนินการทำวิจัยในชุมชนโดยนักศึกษาแพทย์ร่วมกันกับ อสม. ผู้นำชุมชน คณาจารย์วิทยาลัยฯ, หน่วยงานราชการ
23 มกราคม พ.ศ. 2560
กลางวันและกลางคืน ดำเนินการทำวิจัยในชุมชนโดยนักศึกษาแพทย์ร่วมกันกับ อสม. ผู้นำชุมชน คณาจารย์วิทยาลัยฯ, หน่วยงานราชการ
24 มกราคม พ.ศ. 2560
กลางวันและกลางคืน ดำเนินการทำวิจัยในชุมชนโดยนักศึกษาแพทย์ร่วมกันกับ อสม. ผู้นำชุมชน คณาจารย์วิทยาลัยฯ, หน่วยงานราชการ
25 มกราคม พ.ศ. 2560
กลางวันและกลางคืน นศพ. และคณาจารย์ เรียนรู้วิถึชุมชนกับพ่อแม่อุปถัมภ์ (survival day) ผู้นำชุมชน, พ่อแม่อุปถัมภ์, หน่วยงานราชการ
26 มกราคม พ.ศ. 2560
กลางวันและกลางคืน คืนข้อมูลแก่ชุมชน ติดตามประเมินผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสู่การพึ่งพาตนเองของชุมชน คณาจารย์วิทยาลัยฯ, หน่วยงานราชการ, นักศึกษาแพทย์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : การให้ความรู้เรื่องระบบการดูแลสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคในชุมชน จะช่วยลดลดค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ด้านสังคม : เกิดสัมพันธภาพอันดีในการสร้างเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพตลอดจนเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนในชุมชน ระหว่างชุมชน ระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
ด้านสิ่งแวดล้อม : ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการดูแลสภาพแวดล้อมในชุมชนโดยคนในชุมชนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการมีสุขภาวะที่ดี
ด้านอื่นๆ : นักศึกษาและคณาจารย์ที่ร่วมโครงการได้รับประสบการณ์ตรงในการดำเนินการด้านสุขภาพเชิงรุก

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มีการบริหารงบประมาณอย่างประหยัดและจัดสรรค่าใช้จ่ายตามความจำเป็น โดยไม่ได้จัดสรรค่าตอบแทนในส่วนของผู้เข้าร่วมโครงการ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ชุมชน 1 และ 2
หลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน จำนวนรายวิชาที่บูรณาการเนื้อหาของการบริการวิชาการสอดแทรกในสาระวิชา เป้าหมาย 2 รายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการ เป้าหมาย 100%
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนโครงการบริการวิชาการ/โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนให้พึ่งพาตนเองด้านสุขภาพที่ดำเนินการโดยนักศึกษาเป็นหลัก เป้าหมาย 4 โครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 2,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการจำนวน 1 คน x จำนวน 10 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 144,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 41,600.00 บาท )
1) จำนวน 16 มื้อ x มื้อละ 26.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
41,600.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 80,000.00 บาท )
1) จำนวน 16 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
80,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 14,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 8 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาทำป้ายประชาสัมพันธ์ 4 เรื่อง เรื่องละ 2,000 บาท
=
8,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 4,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุ (กรอบรูป กระดาษพรูฟ ปากกา ดินสอ สมุด สี ปากปาเมจิก กาว สกอตเทป ถังดำ ถุงดำ น้ำยาล้างและอุปกรณ์ทำความสะอาด ยากันยุง)
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท