แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ความเชี่ยวชาญ : ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
หัวหน้าโครงการ
นางสาวเสาวนีย์ เหล่าสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์
ผู้ร่วมโครงการ
นางรัตนาพร ทิวะพล คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : นักวิทยาศาสตร์ 30 ปี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพิศิชานันท์ ศรีสุวรรณ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมีทั่วไป 5 ปี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
นางสุภาพร กรแก้ว คุณวุฒิ : ไม่ได้ระบุ
สาขา : อาชีวะ
ประสบการณ์ : งานเลขานุการ 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : งานเลขานุการ
ผู้ร่วมโครงการ
นางมัทธนา กะชา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมี 1 เป็นเวลา 20 ปี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สุภาพร พรไตร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การสอนวิทยาศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.สุระ วุฒิพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : สอน 6 ปี
ความเชี่ยวชาญ : วิทยากรโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากการประเมินผลนานาชาติของโครงการ Programme for International Student Assessment (PISA) พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (Walker, 2011) อีกทั้งประเทศไทยยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะขับเคลื่อนการพัฒนา ซึ่งปัญหานี้ ทั้งภาครัฐ เอกชน หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งครูและผู้ปกครองต่างต้องตระหนักที่จะช่วยกันแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ดังนั้นเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด (Blachman, 1984) มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับ นานมีบุ๊คส์ พร้อมด้วยเครือข่ายความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน จึงได้ดำเนินโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย โดยมุ่งวางรากฐานวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย ส่งเสริมให้เด็กกระตือรือร้น กล้าคิด ช่างสังเกต รู้จักตั้งคำถามพร้อมกับค้นหาคำตอบ ตลอดจนมีทักษะการสื่อสาร และสามารถที่จะทำงานเป็นกลุ่มได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเครือข่ายท้องถิ่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนั้น มีโรงเรียนในเครือข่ายประมาณ 100 โรงเรียนตั้งแต่ปี 2554 – 2558 โดยมีผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น 2 คนคือ ผศ.ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลาและ ผศ.ดร.สุระ วุฒิพรหม ในปีงบประมาณ 2556 ได้ดำเนินการจัดการอบรมเรื่องน้ำ อากาศและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้โรงเรียนวัดบ้านค้อหวางได้รับตราพระราชทาน 1 โรงเรียน ในปีงบประมาณ 2557 ได้ดำเนินการจัดการอบรมเรื่องน้ำ อากาศ และโครงงานวิทยาศาสตร์ มีการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล ทำให้โรงเรียนได้รับตราพระราชทานถึง 9 โรงเรียน ในปีงบประมาณ 2558 เป็นการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสัญจรที่โรงเรียน เพื่อให้ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น ได้เห็นสภาพจริงในการดำเนินงานของครู รับทราบปัญหาและอุปสรรคเพื่อช่วยกันหาแนวทางแก้ไข ได้ทำงานร่วมกับครูและนักเรียน ในปีงบประมาณ 2559 โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยขยายผล ได้ขยายผลโครงการโดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้กับครูสังกัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เรื่องน้ำและอากาศในวันที่ ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2558 มีผู้เข้ารับการอบรม 66 คน ครั้งที่ 2 เรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ ระหว่างวันที่ 12-13 ธันวาคม 2558 มีผู้เข้ารับการอบรม 75 คน ในปีนี้มีผู้เข้ารับการอบรมตามเป้าหมายเพราะเรามีรางวัลให้สำหรับครูที่แนะนำเพื่อนมาอบรมได้จำนวนมากที่สุด และได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษาจำนวน 2 คนร่วมเป็นวิทยากรด้วย จากสถานการณ์การเกษียณอายุของครูที่เคยอบรมและย้ายโรงเรียน ดังนั้นในปีงบประมาณ 2560 การอบรมเรื่องน้ำและอากาศ ซึ่งเป็นหัวข้อพื้นฐานของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยจึงต้องดำเนินต่อไปเพื่อรักษาความเข้มแข็งของเครือข่ายเดิมและสร้างเครือข่ายใหม่ไปทั่วทั้งจังหวัดอุบลราชธานี โดยในปีนี้มียุทธศาสตร์ในการใช้เครือข่ายศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ยกตัวอย่างเช่น นายชัยชนะ โททอง ศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นครูสังกัดโรงเรียนบ้านโนนค้อ อำเภอบุณฑริก เป็นสื่อกลางในการแนะนำครูในระดับปฐมวัยในเขตอำเภอบุณฑริกและอำเภอใกล้เคียงเข้ามาอบรม อันเป็นการสร้างความเข้มแข็งและเครือข่ายระหว่างอาจารย์กับศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยและศิษย์เก่าด้วยกันเอง

วัตถุประสงค์
1.พัฒนาคุณภาพครูด้านเทคนิคการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดการเรียนรู้ลงมือทำ ทำนาย-สังเกต-อธิบายและโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นฐาน
2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
- ครูโรงเรียนอนุบาลและประถมศึกษาทุกสังกัดของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 120 คน - ครูโรงเรียนอนุบาลและประถมศึกษาในสังกัด อบต.คำขวาง อบต.ธาตุ อบต.โพธิ์ใหญ่ อบต.ศรีไค จำนวน 40 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
160 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
๑. การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องน้ำและอากาศ ๒. การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องน้ำและอากาศ --- --- --- 10,000.00
2.เตรียมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย --- --- --- 10,000.00
3.ขั้นการประเมินเพื่อขอรับตราพระราชทาน --- --- - --- 0.00
4.การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องน้ำและอากาศ --- --- -- --- 50,600.00
5.การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย --- --- --- -- 69,400.00
6.ขั้นการจัดทำรายงานโครงการ --- --- --- - 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
3 มิถุนายน พ.ศ. 2560
9-16 การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องน้ำและอากาศ วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
9-16 การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มจำนวนนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต
ด้านสังคม : สร้างสังคมวิทยาศาสตร์ของครูและนักเรียนในระดับปฐมวัย
ด้านสิ่งแวดล้อม : ครูใช้ สิ่งต่างๆ รอบตัวหรือของเหลือใช้ เป็นสื่อในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้
ด้านอื่นๆ : 1.สร้างทีมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและครูปฐมวัยในการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 2.เพิ่มปริมาณโรงเรียนที่ได้รับตราพระราชทานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
160
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
งบประมาณทั้งหมด 150,000 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 2 ครั้ง ๆ ละ 80 คนคิดเป็น 938 บาทต่อคน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1151 792 การค้นคว้าอิสระ (Independent Study)
หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน เป็นหัวข้อในการทำการค้นคว้าอิสระ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาร่วมเป็นวิทยากรในโครงการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 45,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 43,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
28,800.00 บาท
2) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 1,800.00 บาท )
1) ค่าจ้างนักศึกษาช่วยงาน จำนวน 3 คน x จำนวน 24 ชม. x จำนวน 25.00 บาท/ชม.
=
1,800.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 71,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 19,200.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
19,200.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 48,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
48,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาบันทึกภาพนิ่งและวีดีโอจำนวน 4 วัน ๆ ละ 1000 บาท
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 33,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 23,800.00 บาท )
1) วัสดุการศึกษา
=
6,500.00 บาท
2) กล่องบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
=
5,800.00 บาท
3) ค่าถ่ายเอกสาร
=
5,000.00 บาท
4) วัสดุวิทยาศาสตร์
=
6,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท