แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ : การปลูกพืชไม่ใช้ดินในระบบการปลูกผักในวัสดุทดแทนดิน (Substrate culture)
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : พืชศาสตร์(ไม้ผล)
ประสบการณ์ : ระบบน้ำเพื่อการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ขยายพันธุ์พืช การผลิตไม้ผล
หัวหน้าโครงการ
ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : ด้านพืชผักเศรษฐกิจ
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผักใช้ดินและไม่ใช้ดิน
ผู้ร่วมโครงการ
นายบุญส่ง เอกพงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เกษตรเขตร้อน
ประสบการณ์ : การผลิตผัก ผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ระบบชลประทาน
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผัก ผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ระบบชลประทาน
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.นิมมานรดี พรหมทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D. in Horticulture
ประสบการณ์ : การปรับปรุงพันธุ์ส้ม
ความเชี่ยวชาญ : การปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล สรีรวิทยาไม้ผล การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชสวน
เหรัญญิก

หลักการและเหตุผล
พืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมนำมาใช้รับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณค่าทางอาการทั้งวิตามินและ แร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อ นำมาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจึงควรหันมา ทำ การปลูกผักปลอกภัยจากสารพิษ โดยนำ เอาวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เป็นการทดแทนหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลง เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ความหมายของผักปลอดภัยจากสารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษ หมายถึง ผลผลิตพืชผักที่ไม่มีสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ หรือมีตกค้างอยู่ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 28 เมษายน 2538 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง ข้อดีของการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ 1. ทำให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค 2. ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย 3. ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 4. ลดปริมาณการนำ เข้าสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 5. เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ทำให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น 6. ลดปริมาณสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่จะปนเปื้อนเข้าไปในอากาศและนํ้า ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษนั้น จะใช้หลักการปลูกพืชผักโดยการใช้สารเคมีในการผลิตให้น้อยที่สุด หรือใช้ตามความจำเป็นและจะใช้หลัก “การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานหรือไอพีเอ็ม” แทนแต่การที่จะป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้ได้ผลนั้นจะต้องเลือกวิธีที่ประหยัดเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ ทำงานโดย แผงโซล่าเซลล์จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วทำการประจุ(ชาร์จ)เข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อรอจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ปั๊มน้ำต่อไป โดยมีตัวController เป็นตัวควบคุมการชาร์จและใช้กระแสไฟฟ้าทั้งหมดในระบบ ปริมาณน้ำที่ได้ในการสูบแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับความสูงในการสูบส่งและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มีในแบตเตอรี่ ปริมาณกระแสไฟในแบตเตอรี่จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดดและกำลัง วัตต์(W)ของแผงโซลาร์เซลล์ ทั้งนี้ปริมาณน้ำที่ได้ในการสูบแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของปั๊มน้ำ ของแต่ละรุ่นในระบบด้วยเหมาะ สำหรับพื้นที่ห่างไกลจากไฟฟ้าบ้าน เช่น ไร่ สวน พื้นที่นา พื้นที่การเกษตรอื่นๆ ที่ต้องการน้ำให้กับต้นไม้ พืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ การปศุสัตว์ การประมง ระบบน้ำในบ้าน ฯลฯ ลักษณะเด่นของเซลล์แสงอาทิตย์ • ใช้พลังงานจากธรรมชาติ คือ แสงอาทิตย์ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ ไม่ก่อปฏิกิริยาที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ • เป็นการนำพลังงานจากแหล่งธรรมชาติมาใช้อย่างคุ้มค่าและไม่มีวันหมดไปจากโลกนี้ • สามารถนำไปใช้เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทุกพื้นที่บนโลก และได้พลังงานไฟฟ้าใช้โดยตรง • ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นใดนอกจากแสงอาทิตย์ รวมถึงไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะด้านอากาศและน้ำ • ไม่เกิดเสียงและไม่มีการเคลื่อนไหวขณะใช้งาน จึงไม่เกิดมลภาวะด้านเสียง • เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และไม่มีชิ้นส่วนใดที่มีการเคลื่อนไหวขณะทำงาน จึงไม่เกิดการสึกหรอ • ต้องการการบำรุงรักษาน้อยมาก • อายุการใช้งานยืนยาวและประสิทธิภาพคงที่ • มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว • ช่วยลดปัญหาการสะสมของก๊าซต่างๆ ในบรรยากาศ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจำพวกน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น เกิดฝนกรด และอากาศเป็นพิษ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ที่สนใจปลูกผักเพื่อบริโภคในครอบครัว ส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ การเพาะเห็ด ตลอดจนพืชผักอินทรีย์ประเภทต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย สำหรับการบริโภคเองในครอบครัวและ ชุมชน ตลอดจนเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม เกี่ยวกับการปลูกผักในวัสดุทดแทนดิน (Substrate culture)
2.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ยกระดับการเกษตรพื้นบ้านสู่ การเกษตรแบบปลอดภัย ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อบริโภคเองในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
7.1.1ครูและนักเรียน ในโรงเรียนที่มีโครงการอาหารกลางวัน ในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน 7.1.2ประชาชน ผู้สนใจทั่วไป ในเขตพื้นที่รอบๆ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 30 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ภาคทฤษฎี บรรยายในห้องโดยใช้สื่อ โสตทัศนูปกรณ์ ภาคปฏิบัติ สาธิตและให้ปฏิบัติจริงในแปลงปลูก

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์และประสานงานกับโรงเรียน ผู้นำชุมชน - --- --- --- 5,000.00
2.จัดหา จัดเตรียม วัสดุการเกษตร พันธุ์พืช --- -- - --- 32,000.00
3.ดำเนินการอบรม --- --- -- --- 50,000.00
4.ติดตามผลการฝึกอบรม --- --- -- -- 5,000.00
5.สรุปผลการฝึกอบรม --- --- --- -- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 31 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
09.00-10.00 น. บรรยาย วิธีการผลิตผักที่ปลอดภัยจากสารพิษที่ถูกต้องและเหมาะสม นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13.00-14.00 น. บรรยาย การผลิตปุ๋ยหมักแบบน้ำ แบบแห้ง ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
14.00-16.00 น. ปฏิบัติการ การผลิตปุ๋ยหมักแบบน้ำ แบบแห้ง ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
11.00-12.00 น. ปฎิบัติการ การเพาะกล้า ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
10.00-11.00 น. บรรยาย การเพาะกล้า ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
14.00-16.00 น. ปฏิบัติการ การตรวจธาตุอาหาร ในวัสดุทดแทนดิน นางสาวนพมาศ นามแดง และนายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
10.00-12.00 น. ปฏิบัติการ การเตรียมวัสดุทดแทนดินเพื่อปลูกผักบนโต๊ะ ในกระถาง และการย้ายปลูก ดร.ทวีศักดิ์ วิยะชัย และนายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13.00-14.00 น. บรรยาย การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
09.00-10.00 น. บรรยาย การปลูกผักในโรงเรือน การปลูกผักบนโต๊ะ การปลูกผักในกระถาง นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
10.00-12.00 น. ปฏิบัติการ การเก็บเกี่ยวและการปรุงปรุงอาหารจากผัก ดร.นิมานรดี พรหมทอง และนายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
14.00-15.00 น. บรรยาย การเพิ่มมูลค่าผักด้วยบรรจุภัณฑ์ ผศ.ดร.วีรเวทย์ อุทโธ
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
15.00 -16.00 น. บรรยาย การตลาดผักใน e-commerce ดร.สุภาวดี ชัยวิวัฒน์ตระกูล
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
09.00-10.00 น. บรรยาย การจัดการธาตุอาหารในการปลูกพืชในวัสดุทดแทนดิน ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13.00-14.00 น. ปฏิบัติการ การเตรียมเชื้อไตรโคเดอร์มา และเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ และ ดร.ทวีศักดิ์ วิยะชัย

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ประหยัดเงินค่าใช้จ่ายในการซื้อผักไว้รับประทานซึ่งมีราคาแพงและมีสารพิษปลอมปน
ด้านสังคม : มีความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
ด้านสิ่งแวดล้อม : รู้จักการใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมนำวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์เช่น การหมักปุ๋ยชีวภาพจาก เศษผัก เศษอาหาร
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ใช้งบประมาณตามแผนงานที่กำหนดไว้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การผลิตผักเศรษฐกิจ
หลักสูตร ปริญญาตรี
นักศึกษาชั้นปี : ปี 2-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ70 ของนักศึกษา ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น/สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 19,860.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 16,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท
3) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,060.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 900.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
900.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,160.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,160.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 35,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 70.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 9,000.00 บาท
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) เอกสารประกอบการฝึกอบรม 60 เล่ม
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 41,740.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,800.00 บาท )
1) กระดาษ เครื่องเขียน
60 x 30 บาท
=
1,800 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,500.00 บาท )
1) ป้ายไวนิล
5 x 300 บาท
=
1,500 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,540.00 บาท )
1) หมึกพิมพ์
1 x 2,540 บาท
=
2,540 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 900.00 บาท )
1) น้ำมันเบนซิน
30 x 30 บาท
=
900 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 35,000.00 บาท )
1) วัสดุฝึกอบรม วัสดุการเกษตร และวัสดุก่อสร้าง
=
35,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 97,000.00 บาท