แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.จิตรา สิงห์ทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food Science and Technology
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : Food Technology Food Hydrocolloids Food Quality Control and Assurance
หัวหน้าโครงการ
นางนิภาพรรณ สิงห์ทองลา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : วท.บ เกษตรศาสตร์
ประสบการณ์ : การทำงานในห้องปฏิบัติการงานอุตสาหกรรมเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : การตรวจคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.จินดามณี แสงกาญจนวนิช คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food Science
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ปัญจภรณ์ ทัดพิชญางกูร พรหมโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีการอาหาร
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีการอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : ผลิตภัณฑ์ประมง คุณสมบัติเชิงหน้าทีี่ของโปรตีน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร และ เคมีอาหาร หัวข้อที่สนใจ การใช้ประโยชน์จากโปรตีนพืช; สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน
ความเชี่ยวชาญ : การแปรรูปอาหาร คุณสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.วิริยา พรมกอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food Science and Technology
ประสบการณ์ : การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.วีรเวทย์ อุทโธ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
ความเชี่ยวชาญ : บรรจุภัณฑ์อาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.อภิญญา เอกพงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาววชิราพรรณ บุญญาพุทธิพงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวชุติมา ทองแก้ว คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวเมทินี มาเวียง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Biotechnology
ประสบการณ์ : การผลิตซอสงปรุงรส "มิริน"จากข้าวไทย การเปลี่ยนแปลงคุณภาพข้าวระหว่างการเก็บรักษาข้าว การผลิตแผ่นเมี่ยง (rice paper) จากข้าวไทย การผลิตข้าวฮางงอกกาบาสูงร่วมกับแบคทีเรียแลคติก การผลิตหัวเชื้อสำหรับผลิตปลาส้ม
ความเชี่ยวชาญ : Rice utilization Applied microbiology Alcoholic beverage Fermented food
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ฉัตรชยา อ่อนอำไพ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food and Nutritional Sciences
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ประยงค์ อุดมวรภัณฑ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D.(Food Science)
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : เทคโนโลยีเนื้อสัตว์ และ ผลิตภัณฑ์นม
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีนโยบายที่จะพัฒนายกระดับสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภานะพร้อมจำหน่าย โดยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๔๒) พ.ศ.๒๕๕๕ เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภานะพร้อมจำหน่าย เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้นสำหรับกลุ่มอาหารพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที และกลุ่มอาหารทั่วไป ที่ยังไม่ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๙๓) พ.ศ.๒๕๔๓ เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องในการผลิต และการเก็บรักษา และเพื่อยกระดับสถานที่ผลิตในกลุ่มผู้ประกอบวิสาหกิจุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ให้สามารถผลิตอาหารพื้นเมือง อาหารของฝาก เป็นต้น ให้มีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ พร้อมสร้างความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้ามากยิ่งขึ้นและเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ตามที่นโยบายรัฐบาลได้กำหนดให้อาหารที่ต้องส่งออกหรือบริโภคภายในประเทศมีมาตรฐานเดียว อันจะส่งเสริมให้เกิดความได้เปรียบเชิงการแข่งขันกับต่างประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน ดังนั้น สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยยาลัยอุบลราชธานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดบริการวิชาการเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ประกอบกับจากการสำรวจข้อมูลสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพพร้อมจำหน่าย พบว่ามีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์สถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภานะพร้อมจำหน่ายย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๔๒) พ.ศ.๒๕๕๕ จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาสถานประกอบการและศักยยภาพองผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับสถานประกอบการรวมถึงสร้างเคครือข่ายระหว่างเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคการศึกษา และผู้ประกอบการ ให้เกิดความเข้มแข็งในการดำเนินงานพัฒนาสถานประกอบการ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ เพื่อให้มีความรู้และมีมาตรฐานในการพัฒนาสถานประกอบการต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร การบริหารจัดการ การพัฒนาสถานที่ผลิต และพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิต
2.เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถให้กับผู้เข้าอบรมให้สามารถถ่ายทอดได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มผู้ประกอบวิสาหกิจุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง นักศึกษา อาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ในการฝึกอบรมครั้งนี้จะใช้วิธีการฝึกอบรมที่หลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วยการบรรยาย การทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติงานกลุ่มและรายบุคคล การนำเสนองาน และกรณีศึกษา

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. ขั้นเตรียมการ จัดเตรียมเนื้อหาการอบรม วิทยากร/ผู้เชชี่ยวชาญ และข้อมูลผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรม รวมทั้งแต่งตั้งคณะทำงาน --- --- --- 5,000.00
2.2. ประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบการ อาจารย์และนักศึกษา -- - --- --- 10,000.00
3.3.ประชุมคณะทำงาน ประชุมคณะมำงานฝ่ายต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมนการอบรม -- - --- --- 5,000.00
4.4. จัดเตรียมเอกสารและวัสดุสำหรับการอบรม จัดเตรียมเอกสารและวัสดุต่างๆ สำหรับการฝึกอบรม --- - --- --- 20,000.00
5.5. จัดฝึกอบรม ในการฝึกอบรมครั้งนี้จะใช้วิธีการฝึกอบรมที่หลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วยการบรรยาย การทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติงานก --- - - --- 50,000.00
6.6. การประเมินผลและสรุปผลการบริการวิชาการ ประเมินผลและสรุปการอบรม --- --- -- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
09.00-12.00 หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
13.00-17.00 หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
09.00-12.00 การบริหารจัดการสมัยใหม่
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
13.00-17.00 การพัฒนาสถานประกอบการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้เข้าอบรมที่เป็นผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสนับสนุนการดำเนินการพัฒนาสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย (Primary GMP)
ด้านสังคม : ผู้เข้าอบรมที่เป็นเจ้าหน้ที่ที่เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดแก่ผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ
ด้านสิ่งแวดล้อม : ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสนับสนุนการพัฒนาสถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
ด้านอื่นๆ : มีการบูรณาการบริการวิชาการนี้ร่วมกับรายวิชา 1205 362 ความปลอดภัยอาหารและระบบประกันคุณภาพ (Food Safety and Assurance System) ในหลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
3398

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา รายวิชา 1205 362 ความปลอดภัยอาหารและระบบประกันคุณภาพ (Food Safety and Assurance System)
หลักสูตร หลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ กรณีศึกษา
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 31,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 14,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 16,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
6,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 53,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 19,920.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 3 คน x ครั้งละ 5,000.00 บาท
=
15,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 1,500.00 บาท
=
3,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 1,920.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
1,920.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
8,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 19,080.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร/เข้าเล่ม
=
9,000.00 บาท
2) ค่าจัดทำรูปเล่ม
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจัดสถานที่
=
4,000.00 บาท
4) ค่าของที่ระลึก
=
3,080.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 15,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) แผ่นพับ/ไวนิล
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) หมึกพิมพ์
2 x 2,500 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท