แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เปิดฟาร์มและห้องปฏิบัติการในสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางนิภาพรรณ สิงห์ทองลา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : พืชศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการเปิดฟาร์มและห้องปฏิบัติการในวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2550
ความเชี่ยวชาญ : การตรวจคุณภาพอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
หัวหน้าโครงการ
นางสาวจำนงค์ จันทะสี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาตร์)
ประสบการณ์ : - ผู้ช่วยนักวิจัย ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโโดยชีวินทรีย์แ่ห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง - เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานชุดโครงการ การพัฒนาไก่พื้นเมือง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ความเชี่ยวชาญ : โรคพืช วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวนพมาศ นามแดง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นายวิชาญ แก้วเลื่อน คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : วิเคราะห์อาหารสัตว์
ผู้ร่วมโครงการ
นายศุภกร สีสันต์ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เทคโนโลยีการเกษตร
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
การเรียนการสอนด้านเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการผลิตปัจจัยสี่แก่มนุษย์ ประกอบกับประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตร ดังนั้น การพัฒนา การศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ได้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตทางการเกษตรออกไปรับใช้สังคมจำนวน 5 สาขาวิชาซึ่งประกอบด้วย สาขาพืชไร่ สาขาพืชสวน สาขาสัตวศาสตร์ สาขาประมง และสาขาอุตสาหกรรมเกษตร นอกจากนี้ คณะเกษตรศาสตร์ยังศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เกษตร เช่น ด้านอาหารสัตว์/พืชอาหารสัตว์ ข้าวและการผลิตข้าวอินทรีย์ ยางพารา งาและผลิตภัณฑ์งา การผลิตและการปรับปรุงพันธุ์พืช การผลิตและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การประมง การจัดการดิน การควบคุมศัตรูพืช ตลอดรวมถึงการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้จะถูกถ่ายทอดไปยังนักศึกษา นักเรียน เกษตรกรและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่บริการ 8 จังหวัด ซึ่งได้แก่จังหวัดอุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, ยโสธร, สุรินทร์, บุรีรัมย์, ร้อยเอ็ด และนครพนม กิจกรรมและภารกิจต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน จึงมีผลงานทางวิชาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตรเป็นที่ยอมรับและมีประโยชน์จำนวนมาก หากได้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน น่าจะเกิดประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา ประชาชนและการพัฒนาประเทศ และเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย คณะฯ จึงเห็นควรเป็นอย่างยิ่งที่จะจัดให้มีกิจกรรม “เปิดฟาร์มและห้องปฏิบัติการในสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์” ให้กับนักเรียนและประชาชนทั่วไป ในพื้นที่บริการได้เข้ามาศึกษาถึงความก้าวหน้าทางด้านสาขาวิทยาศาสตร์เกษตร และจากผลวิเคราะห์โครงการเปิดฟาร์มและห้องปฏิบัติการในสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้จัดขึ้นมาก่อนพบว่ามีคณะครู นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์การเกษตรของคณะฯ และเปิดฟาร์มให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าเยี่ยมชมและศึกษาความรู้วิทยาศาสตร์การเกษตร 2. เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้แสดงความสามารถในการเข้าร่วมกิจกรรมตอบปัญหา การพูดส่งเสริมการเกษตร และประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์เกษตร เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็ก เยาวชน และผู้ประกอบอาชีพครู ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียน นักศึกษา คณะครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่บริการ 8 จังหวัด ซึ่งได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, ยโสธร, สุรินทร์, บุรีรัมย์, ร้อยเอ็ด และนครพนม
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
2000 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1 วิเคราะห์โครงการเดิมที่เกี่ยวข้อง 2 แต่งตั้งกรรมการดำเนินงาน 3 กำหนดกิจกรรมและผู้รับผิดชอบ 4 ประชาสัมพันธ์การจัดงาน 5 เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร และกิจกรรม 6 จัดกิจกรรม 7 ประเมินผลและจัดทำรายงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วิเคราะห์โครงการเดิมที่เกี่ยวข้อง --- --- --- 0.00
2.แต่งตั้งกรรมการดำเนินงาน --- - --- --- 1,000.00
3.กำหนดกิจกรรมและผู้รับผิดชอบ --- --- -- -- 2,000.00
4.ประชาสัมพันธ์การจัดงาน --- --- -- 3,000.00
5.เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสารและกิจกรรม --- --- - 30,000.00
6.จัดกิจกรรม --- --- --- -- 60,000.00
7.ประเมินผลและจัดทำรายงาน --- --- --- - 4,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
17 สิงหาคม พ.ศ. 2560
08.30-16.30 น. นิทรรศการวิทยาศาสตร์เกษตร และการแข่งขันตอบปัญหาทางการเกษตรระดับประถมศึกษา 2 ระดับ
18 สิงหาคม พ.ศ. 2560
08.30-16.30 น. นิทรรศการวิทยาศาสตร์เกษตร การแข่งขันระดับมัธยม 2 ระดับ คือตอบปัญหาทางการเกษตร ประกวดโครงงานวิทยาศาสต

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : นักเรียน เยาวชน อาจารย์และประชาชนทั่วไปนำความรู้และผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์เกษตรไปปรับรับใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอนและการประกอบอาชีพได้
ด้านสังคม : 1. สร้างมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียน นักเรียน คณะครู อาจารย์ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป กับคณะเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ดียิ่งขึ้น 2. สร้างเจตคติที่ดีต่อสาขาวิทยาศาสตร์เกษตร พร้อมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์การเรียน การสอน และกิจกรรมของคณะเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยวิทยาศาสตร์การเกษตรเป็นศาสตร์แห่งการผลิตปัจจัยสี่ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับประชากรโลก
ด้านสิ่งแวดล้อม : นักเรียน เยาวชน อาจารย์และประชาชนทั่วไปนำความรู้และผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์เกษตร ไปรับใช้เพื่อลดกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อการทำลายสิ่งแวดล้อม
ด้านอื่นๆ : ช่วยประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน เยาวชน อาจารย์และประชาชนทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในสาขาวิทยาศาสตร์เกษตรต่ออาชีพและการดำรงชีวิตของมนุษย์

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
2000
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้ร่วมโครงการได้รับความรู้และแสดงสามารถด้านวิทยาศาสตร์เกษตร คุ้มค่าต่องบประมาณ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1205 312 หลักการแปรรูปอาหาร 2 (Principle of Food Processing II)
หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอาหาร
นักศึกษาชั้นปี : 3 และ4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการและได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 3,700.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,700.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
1,600.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,100.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
2,100.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 72,160.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 56,160.00 บาท )
1) ทุนการศึกษาการแข่งขันพูดส่งเสริมการเกษตร ม.ต้น
=
5,000.00 บาท
2) ทุนการศึกษาการแข่งขันพูดส่งเสริมการเกษตร ม.ปลาย
=
5,000.00 บาท
3) ทุนการศึกษาการแข่งขันประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เกษตร ม.ต้น
=
8,300.00 บาท
4) ทุนการศึกษาการแข่งขันประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เกษตร ม.ปลาย
=
8,300.00 บาท
5) ทุนการศึกษาการแข่งขันตอบปัญหาทางการเกษตร ม.ต้น
=
6,800.00 บาท
6) ทุนการศึกษาการแข่งขันตอบปัญหาทางการเกษตร ม.ต้น
=
6,800.00 บาท
7) ทุนการศึกษาการแข่งขันตอบปัญหาทางการเกษตร ประถมช่วงชั้นที่ 1
=
4,800.00 บาท
8) ทุนการศึกษาการแข่งขันตอบปัญหาทางการเกษตร ประถมช่วงชั้นที่ 2
=
4,800.00 บาท
9) ค่าถ่ายเอกสารและเข้าเล่ม
=
6,360.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 24,140.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 9,840.00 บาท )
1) กระดาษ A4 ,ซองสีนำตาล,ใบประกาศนียบัตร,ปากกาไวน์บอร์ด ปากกา ดินสอ
1 x 9,840 บาท
=
9,840 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) วัสดุประชาสัมพันธ์
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์ หมึกพิมพ์
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 1,000.00 บาท )
1) วัสดุเชื้อเพลิง
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 7,300.00 บาท )
1) โลห์รางวัลชนะเลิศกิจกรรมการแข่งขัน 8 อัน
=
7,300.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท