แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การจัดการระบบประปาหมู่บ้าน และการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเบื้องต้น เพื่อประกอบการประเมินคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน ปี พ.ศ. 2560
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายวีระพงษ์ สุวรรณเพ็ญ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : วศบ.เคมีและชีวภาพ ปี พ.ศ.2552 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ประสบการณ์ : - ปี พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน ด้านงานช่วยสอน วิชาปฎิบัติการ ด้านวิศกรรมเคมี และด้วนวิศกรรมสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์ เครื่องวิเคราะห์โลหะหนัก AAnalyst 200 เครื่อง GC-MS เครื่อง UV-VIS Spectrophotometer ด้านการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ พารามิเตอร์ 1. โลหะหนัก (Pb, Cd, Cu, Cr, Mn, Fe ฯลฯ) 2. COD 3. nitrate 4. Phosphate 5. TKN
ความเชี่ยวชาญ : การใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์ โละหนัก (Atomic Absorption Spectroscopy ,AAnalyst 200 ) ในงานวิเคราะห์โลหะหนัก การใช้เครื่อง UV-VIS Spectrophotometer ประยุกใช้งานในงานตรวจวเคราะห์คุณภาพน้ำ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำพารามิเตอร์ต่าง ๆดังนี้ 1. โลหะหนัก (Pb, Cd, Cu, Cr, Mn, Fe ฯลฯ) 2. COD 3. nitrate 4. Phosphate 5. TKN
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ระบบสาธารณูปโภคที่ดีนำมาสู่คุณภาพชีวิตชุมชนที่ดีในอนาคต ดังนั้นหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดูแลระบบสาธารณูปโภคควรมีระบบตรวจติดตามเพื่อประเมินคุณภาพ ซึ่งจะให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในระบบสาธารณูปโภคที่มีอยู่ ซึ่งระบบประปาเป็นหนึ่งในสาธารณูปโภคที่สำคัญ หากสามารถควบคุมการผลิตน้ำประปาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมจะสามารถใช้ในการอุปโภคบริโภคได้อย่างปลอดภัย จึงเป็นที่มาของโครงการนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดการระบบผลิตประปาหมู่บ้าน การดูแลรักษาระบบประปาหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ระบบประปาและเพื่อให้น้ำประปาที่ผ่านระบบมีความสะอาด ปลอดภัย ซึ่งจะทำให้ประชาชนในชุมชนเกิดความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้บริการระบบประปาหมู่บ้านมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเบื้องต้นเพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดูแลระบบการประปาหมู่บ้านสามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นว่ามีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำที่ใช้เพื่ออุปโภคและบริโภคก่อนที่จะทำการแจกจ่ายน้ำประปาไปยังชุมชน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับระบบประปาหมูบ้าน การจัดการและการดูแลรักษาระบบประปาหมู่บ้าน
2.เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำประปาเบื้องต้น

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
คณะกรรมการบริหารกิจการประปาหมู่บ้าน ผู้มีหน้าที่ดูแลระบบประปาและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภายในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 30 คน - นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ จำนวน 30 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
อบรมเชิงปฏิบัติการ ณ สถานที่จริงที่เกิดปัญหา

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมวางแผนจัดทำโครงการ --- --- --- 1,000.00
2.ทำการประสัมพันธ์ และเตรียมความพร้อม -- --- --- 23,000.00
3.รับสมัครผู้เข้าร่วมอบรม --- -- --- 2,000.00
4.จัดอบรม ณ ห้องประชุม และ สำรวจความคิดเห็นของ ผู้เข้าร่วมการอบรม --- --- - --- 42,500.00
5.รวบรวมข้อมูลและสรุปผล --- --- --- - 0.00
6.จัดทำรูปเล่ม และรายงานผล --- --- --- 4,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
24 มิถุนายน พ.ศ. 2560
08.45-09.00 น. ลงทะเบียน
24 มิถุนายน พ.ศ. 2560
09.00 – 12.00 น. บรรยาย รูปแบบระบบประปาและการจัดการระบบประปาหมู่บ้าน วิทยากร
24 มิถุนายน พ.ศ. 2560
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
24 มิถุนายน พ.ศ. 2560
13.00 – 16.00 น. บรรยาย ปัญหาที่พบในการจัดการและแนวทางการแก้ปัญหา วิทยากร
25 มิถุนายน พ.ศ. 2560
8.45 – 9.00 น. ลงทะเบียน
25 มิถุนายน พ.ศ. 2560
09.00 – 12.00 น. บรรยาย คุณภาพน้ำประปา วิทยากร
25 มิถุนายน พ.ศ. 2560
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
25 มิถุนายน พ.ศ. 2560
13.00 – 16.00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเบื้องต้น วิทยากร
25 มิถุนายน พ.ศ. 2560
16.00 – 16.30 น. กล่าวปิดการอบรม

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ประยุกต์ใช้และปรับปรุงการดำเนินระบบประปาหมู่บ้านในหน่วยงาน ของตน 2. ผู้เข้าร่วมอบรมทราบถึงวิธีในการตรวจติดตามคุณภาพน้ำประปาเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี ผศ.ดร.สุพัฒน์พงศ์ มัตราช เป็นผู้สอนหลัก
หลักสูตร วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ส่วนหนึ่งของงานบริการวิชาการมาสอดแทรกในเนื้อหาวิชาที่สอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นการนำความรู้ในรายวิชาปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม มาใช้งานจริง
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ เปํนผู้ช่วยวิทยากร

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 11,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 46,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 26,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม
=
10,800.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงาน และถ่ายเอกสารเข้าเล่ม
=
3,200.00 บาท
3) ค่าเช่าสถานที่ในการจัดอบรม (6 ชม. * 2 วัน)
=
3,000.00 บาท
4) ค่าเดินทางราชการ (สำหรับวิทยากร)
=
4,000.00 บาท
5) ค่าอัดภาพดิจิตอล
=
1,000.00 บาท
6) ค่าเดินทางสำรวจข้อมูล
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 15,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
60 x 120 บาท
=
7,200 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์
100 x 10 บาท
=
1,000 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์
2 x 2,000 บาท
=
4,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) อุปกรณ์เก็บข้อมูลและการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 73,000.00 บาท