แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ พัฒนาจิตตปัญญาเพื่อเตรียมความพร้อมการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายจักรพันธ์ แสงทอง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อักษรศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
ประสบการณ์ : ประสบการณ์ 1.โครงการวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง แนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ความคิดตะวันตก คณะศิลปศาสตร์ ปี 2555 2.โครงการบริการวิชาการแก่สังคมปี2555-57 โครงการพี่น้องสานสัมพันธ์ครั้งที่ 1-3 4.โครการวิจัยเรื่อง ความเชื่อเรื่องนาคกับปฏิบัติการทางสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนชายแดนไทย-ลาว คณะศิลปศาสตร์ ปี 2556 การนำสนอบทความ 1.เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้บนพื้นที่ วาทกรรม และอำนาจ ใน การประชุมระดับชาติเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 4 2.เรื่อง พุทธศาสนาแบบชาวบ้านระบบอภิปรัชญาในภูมิปัญญาไทย ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 8 ผลงานตีพิมพ์ : บทความเรื่อง ความเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบวาทกรรมในวารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2552) - โครงการศูนย์พี่เลี้ยงโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา : ศูนย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) และ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (พฤษภาคม 2555 – เมษายน 2560)
ความเชี่ยวชาญ : งานวิชาการด้าน ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ความคิดตะวันตก ปรัชญาและศาสนา
หัวหน้าโครงการ
ดร.อุทัย อันพิมพ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พัฒนบูรณาการศาสตร์
ประสบการณ์ : 1.เคยทำงานวิจัยและบริการวิชาการด้านการผลิตและขยายพันธุ์พืช 2.เคยทำงานวิจัยและบริการวิชาการด้านการผลิตเห็ด 3.เคยทำงานวิจัยและบริการวิชาการด้านการจัดการความรู้ 4.เคยทำงานวิจัยและบริการวิชาการด้านเศรษฐกิจพอเพียง
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการความรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สุขวิทย์ โสภาพล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D. Crop Science
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการวิจัย “การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลโพนทราย อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด” พ.ศ.2549 ผู้ร่วมโครงการวิจัย “การจัดการความรู้เกษตรอินทรีย์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” พ.ศ.2550 ผู้ร่วมโครงการวิจัย “โครงการวิจัยการประเมินผลโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์คุณธรรม”พ.ศ.2551 ผู้ร่วมโครงการวิจัย “โครงการวิจัยเรื่องการบริหารจัดการหนี้ของเกษตรกรลูกค้าธ.ก.ส.” พ.ศ.2551 ผู้ร่วมโครงการวิจัย “โครงการวิจัยประเมินผล โครงการปลูกป่าไม้ใช้หนี้เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน” พ.ศ.2551 สุขวิทย์ โสภาพล .2553. แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้ แสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเองในวิชาสหวิทยาศาสตร์ชีวภาพเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 10 2: 172-180. ผู้ร่วมโครงการวิจัย “รูปแบบการบริหารจัดการองค์กรและการจัดการตลาดกลุ่มข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านราษฎร์เจริญ ตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2554. หัวหน้าโครงการวิจัย “การศึกษารูปแบบการปรับตัวของเกษตรกรนาน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ พ.ศ.2555
ความเชี่ยวชาญ : เกษตรอินทรีย์ การพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจพอเพียง พุทธเศรษฐศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
นายณัฏฐ์ ดิษเจริญ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ประสบการณ์ : โครงการศูนย์พี่เลี้ยงโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา : ศูนย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) และ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (พฤษภาคม 2555 – เมษายน 2560) โครงข่ายประสาทเทียมสำหรับรูปแบบพยากรณ์โรคของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) (ปีงบประมาณ 2558: ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558) การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้ตามผู้เรียน ทุนวิจัยหน้าใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มกราคม 2554 – ธันวาคม 2554)
ความเชี่ยวชาญ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การศึกษาที่เน้นการพัฒนาด้านในอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสิ่งต่างๆ โดยปราศจากอคติ เกิดความรักความเมตตา อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม สามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างสมดุลกระบวนการเรียนรู้ แนวคิดในการจัดการเรียนรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษาจึงเป็นการศึกษาแบบองค์รวมที่เน้นการเรียนรู้ในแบบต่างๆ คือ 1. การเรียนรู้แบบบูรณาการและผสานสรรพศาสตร์ (Integrative & Transdisciplinary Learning) คือการเรียนรู้ที่ไม่แบ่งแยกศาสตร์สาขาต่างๆ ออกจากกัน การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่า ศาสตร์สาขาต่างๆ แท้จริงแล้วมีจุดเริ่มต้นเหมือนกัน นั่นคือความพยายามที่จะอธิบายหรือทำความเข้าใจต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น 2.การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง (Experiential Learning) คือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนนำตนเองเข้าสู่การลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริง และได้รับการกระตุ้นให้สามารถสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเองเพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะ ด้านใหม่ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ วิธีคิดและการมองโลกในแง่มุมที่แตกต่างไปจากเดิม 3.การเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายใน (Transformative Learning) คือ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเฝ้ามองความเปลี่ยนแปลงภายในของตนเองอันเกิดจากความ สัมพันธ์ที่มีต่อโลกภายนอกโดยอาศัยจิตตปัญญาเป็นเครื่องมือ ซึ่งการพยายามฝึกหัดขัดเกลาตนเองด้วยวิธีการดังกล่าวนี้เอง จะนำพาผู้เรียนไปสู่ความเข้าใจต่อธรรมชาติของสรรพสิ่ง มองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างตนเองและสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างไม่แยกส่วน เกิดความเข้าใจว่าการเรียนรู้ การงานและการดำเนินชีวิต (https://www.gotoknow.org/posts/104448) โครงการ พัฒนาจิตตปัญญาเพื่อเตรียมความพร้อมการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1.เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยใช้กระบวนการจิตตปัญญา 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูและนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีรับผิดชอบ โครงการนี้จะจัดกิจกรรมจิตตปัญญาให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเครือข่ายที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีรับผิดชอบ จำนวน 4 โรงเรียน มีการจัดอบรมให้ความรู้จิตตปัญญาศึกษาจากวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ โดยให้ครูแต่ละโรงเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับบริบทความเหมาะสมกับนักเรียนของตน หลังจากครบทั้ง 4 โรงเรียนแล้วจะมีการประชุมสรุปถอดบทเรียนแนวทางการจัดกิจกรรมจิตตปัญญาที่ประสบความสำเร็จร่วมกัน และนำไปทดลองใช้กับนักเรียนที่สอบเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอีกครั้งเพื่อประเมินและวัดผลความสำเร็จของกิจกรรมเพื่อให้ได้รูปแบบกิจกรรมที่ดีที่สุด (Best Practice) คณะผู้จัดโครงการบริการวิชาการชุดนี้เห็นว่า โครงการนี้จะช่วยพัฒนารูปแบบกิจกรรมจิตตปัญญาให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการสอนให้กับครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยใช้กระบวนการจิตตปัญญา
2.เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูและนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีรับผิดชอบ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูและนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
450 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.ประชุมทีมงาน เตรียมความพร้อมในการจัดโครงการ ประสานงาน ประชุมหารือกับโรงเรียนเครือข่าย 2.อบรมให้ความรู้เรื่องจิตตปัญญาศึกษาให้กับครูและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 3.จัดกิจกรรมหนุนเสริม ติดตามและประเมินผลขั้นต้น จัดเวทีนำเสนอกิจกรรมจิตตปัญญาของโรงเรียนเครือข่าย 4.จัดเวทีคืนความรู้ สรุปผลกิจกรรมให้กับโรงเรียนเครือข่าย จัดกิจกรรมจิตตปัญญาเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สรุปและปิดโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมทีมงาน ประสานงาน ประชุมหารือกับโรงเรียนเครือข่าย อบรมให้ความรู้เรื่องจิตตปัญญาศึกษาให้กับครูและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ --- --- --- 40,000.00
2.จัดกิจกรรมหนุนเสริม ติดตามและประเมินผลขั้นต้น จัดเวทีนำเสนอกิจกรรมจิตตปัญญาของโรงเรียนเครือข่าย --- --- --- 40,000.00
3.จัดเวทีคืนความรู้ สรุปผลกิจกรรมให้กับโรงเรียนเครือข่าย จัดกิจกรรมจิตตปัญญาเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี --- --- --- 60,000.00
4.สรุปและปิดโครงการ --- --- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559
9.00-16.00 ประสานงานเตรียมความพร้อมในการจัดโครงการกับโรงเรียนเครือข่าย หัวหน้าโครงการและคณะ
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
9.00-16.00 ประชุมหารือกับโรงเรียนเครือข่าย หัวหน้าโครงการและคณะ
1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
9.00-16.00 อบรมให้ความรู้เรื่องจิตตปัญญาศึกษาให้กับครูและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ หัวหน้าโครงการและคณะ
16 มกราคม พ.ศ. 2560
9.00-16.00 จัดกิจกรรมหนุนเสริม ติดตามและประเมินผลขั้นต้น หัวหน้าโครงการและคณะ
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
9.00-16.00 จัดเวทีนำเสนอกิจกรรมจิตตปัญญาของโรงเรียนเครือข่าย หัวหน้าโครงการและคณะ
1 มีนาคม พ.ศ. 2560
9.00-16.00 จัดเวทีคืนความรู้ สรุปผลกิจกรรมให้กับโรงเรียนเครือข่าย หัวหน้าโครงการและคณะ
1 มิถุนายน พ.ศ. 2560
9.00-16.00 จัดกิจกรรมจิตตปัญญาเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หัวหน้าโครงการและคณะ
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
9.00-16.00 สรุปรายงานการจัดโครงการ จัดการเอกสารเบิกจ่าย ปิดโครงการ หัวหน้าโครงการและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : - นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้น - พัฒนาครูและนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
450
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
งบประมาณต่อคนคนละ ประมาณ 330 บาท

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1431110 มนุษย์กับการใช้เหตุผล
หลักสูตร ศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องจิตตปัญญาในการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ให้นักศึกษาในรายวิชาที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ให้นักศึกษาในรายวิชาเป็นผู้ช่วยในการจัดกิจกรรมจิตตปัญญาให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 28,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 400.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 106,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 22,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 450 คน
=
22,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 54,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 60.00 บาท x จำนวน 450 คน
=
54,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 30,000.00 บาท )
- จำนวน 2 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 3,000 บาท/คัน/วัน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 14,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 11,500.00 บาท )
1) สมุด อุปกรณ์เครื่องเขียน
50 x 50 บาท
=
2,500 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร
450 x 20 บาท
=
9,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์
6 x 500 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 200.00 บาท )
1) แผ่นซีดี
1 x 200 บาท
=
200 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท