แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งหน่วยให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งที่ค้นพบได้ในระยะแรก เพื่อแนวทางสู่การควบคุมป้องกันสุขภาพที่ยังยืน
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาการบริการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และพัฒนาโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับ
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านการบริการสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.สุรศักดิ์ แว่นรัมย์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเวชศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย ปี 2553 และ 2554 ผู้ร่วมโครงการประชุมวิชาการวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 2, 3, 4 หัวหน้าโครงการบริการวิชาการตระหนักรู้และใส่ใจ เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี ปี 2558 และ ปี 2559
ความเชี่ยวชาญ : ชีวเวชศาสตร์: โรคติดเชื้อและโรคมะเร็ง
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.ภาวนา พนมเขต คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : จุลชีววิทยา
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการคัดกรองโรคธาลัสซีเมี ปี 2553 และ 2554 ผู้ร่มโครงการตรวจวัดระดับความเครียดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2554
ความเชี่ยวชาญ : จุลชีววิทยา เมลิออย์โดสิส
ผู้ร่วมโครงการ
นายปรีดา ปราการกมานันท์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเวชศาสตร์ (biomedical sciences)
ประสบการณ์ : การตรวจทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์
ความเชี่ยวชาญ : Biosensor technology Cervical cancer
ผู้ร่วมโครงการ
นายปาริชาติ วงศ์เสนา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : แพทยศาสตร์ วุฒิบัตรผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค
ประสบการณ์ : กลุ่มงานพยาธิวิทยากายวิภาค รพ. สรรพสิทธิประสงค์ 2545-2550
ความเชี่ยวชาญ : พยาธิวิทยากายวิภาค
ผู้ร่วมโครงการ
นางทักษิณ พิมพ์ภักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : 1.ผู้ร่วมโครงการ/เหรัญญิก โครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับบุคลากรสาธารณสุข (ครั้งที่ 2) ปี 2555 2.ผู้ร่วมโครงการ/เลขานุการ โครงการหมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ตำบลเมืองศรีไค ปี 2555 3.ผู้ร่วมโครงการ/เลขานุการ โครงการหมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ตำบลเมืองศรีไค ปี 2556 4.ผู้ร่วมโครงการ โครงการบูรณาการความรู้ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชน ปี 2556 5.ผู้ร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2556
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงปริมาณ การบริหารจัดการข้อมูล
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.มินตรา สาระรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ : : 1) การสร้างเสริมสุขภาพ : ทางเลือกใหม่ของคุณ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่22 อุบลราชธานี 3)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ปีที่ 1. และ 2) 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราธานี 5)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ความเชี่ยวชาญ : การสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพัจนภา วงษาพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พิษวิทยาทางอาหารและโภชาการ)
ประสบการณ์ : ผู้ขเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ปีงบประมาณ 2555-2556
ความเชี่ยวชาญ : - อาหารและโภชนาการ - พฤติกรรมการบริโภคอาหาร -การประเมินความเสี่ยงในการได้รับสารอันตรายทางเคมีจากการบริโภคอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุที่สำคัญประการหนึ่งคือโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง ในประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ และคนตายด้วยโรคมะเร็งพบเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น โรคมะเร็งเป็นโรคที่ใช้ระยะเวลานานหลายปีในการก่อให้เกิดโรค ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น มีการควบคุมโรคติดต่อดีขึ้น มีการควบคุมให้อัตราตาย ของทารกแรกคลอดและเด็กลดลง ทำให้โครงสร้างของประชากรเปลี่ยนแปลงไป มีสารก่อมะเร็งมากขึ้นในสิ่งแวดล้อม และมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการรับประทานอาหารที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น สำหรับในประเทศไทย โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชายคือ โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมากสำหรับในเพศหญิง โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับและท่าน้ำดี มะเร็งปอด ตามลำดับ ในแต่ละท้องถิ่นแต่ละภูมิภาคของประเทศมีอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการวางแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งที่ถูกต้องอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งที่พบบ่อยในแต่ละชนิดควรจะต้องมีแผนดำเนินงานที่ชัดเจน มีความเป็นไปได้ที่นำไปปฏิบัติ และสามารถทำการวัดผลได้ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมจากการให้บริการนั้น ๆ ด้วย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม โรคมะเร็งเป็นปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย อุบัติการณ์การเสียชีวิตของมะเร็งพบมากเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปตาม อายุ เพศ เชื้อชาติ และสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งนั้น ๆ ประเด็นการทราบตั้งแต่ในระยะแรกถึงปัจจัยเสี่ยงต่อเกิดโรคมะเร็งหรือโอกาสที่จะเป็นมะเร็งทั้งเพศชายและหญิงจึงมีความสำคัญ ทำให้มีโอกาสที่ควรได้รับการป้องกัน ดูแล รักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการตรวจวิเคราะห์และการให้ความรู้ควบคู่การให้บริการแก่สังคม โดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเสี่ยงในของพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่บริการ ข้าราชการครูสังกัดตำรวจตระเวนชายแดน ผู้เสียสละในการพัฒนาประเทศในถิ่นธุรกันดารควรได้รับการใส่ใจและดูแลอย่างเป็นระบบ จึงเป็นประเด็นสำคัญต่อแนวทางพัฒนาการให้บริการที่ทั่วถึงในพื้นที่ อีกทั้งเพื่อรองรับการขยายตัวต่อการรองรับนโยบายของมหาวิทยาลัยต่อการเป็นมหาวิทยาลัยที่รองรับการให้บริการวิชาการสู่ชุมชนด้วย ดังนั้นการให้บริการวิชาการแบบบูรณาการการเรียนการสอนในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งทั้งเพศชายและหญิง สำหรับข้าราชการครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เป็นต้นแบบนำร่องของการให้บริการในเชิงรุกเป็นเป้าหมายสำคัญ เพื่อเป็นการให้ความรู้ให้ตระหนักด้านการแพทย์ที่ถูกต้องตลอดจนเป็นแนวทางต่อการให้บริการสังคม เพื่อเป็นต้นแบบนำร่องที่ดีต่อการดูแลให้บริการคุณครูผู้เสียสละ และจักทำให้วิทยาลัยสามารถเพิ่มศักยภาพในการให้บริการประชาชนมากขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยมีโอกาสช่วยเหลือรับใช้สังคมสมดังเจตนารมณ์มากขึ้น

วัตถุประสงค์
1.สร้างความร่วมมือโดยการให้ความรู้ด้านปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งที่พบบ่อย สำหรับข้าราชการครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นต้นแบบถ่ายทอดด้านวิชาการเรื่องโรคมะเร็ง
2.เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งที่ค้นพบได้ในระยะแรก สำหรับข้าราชการครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เป็นต้นแบบนำร่องของการให้บริการในเชิงรุกขององค์กร

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ นักศึกษาที่เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยนักศึกษาแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข ได้รับมอบหมายให้ออกให้บริการวิชาการเรื่องให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งที่ค้นพบได้ในระยะแรกเพื่อแนวทางสู่การควบคุมป้องกันสุขภาพที่ยังยืนในทุกแง่มุม ตามความเชี่ยวชาญของแต่ละสาขาวิชาชีพ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ สามารถเป็นแนวทางเพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งตลอดจนการให้บริการเชิงรุกในอนาคตได้ 2. กิจกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งที่พบบ่อยทั้งเพศชายและเพศหญิง ภายใต้การดำเนินงานของหน่วยวิจัยชีวเวชศาสตร์วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ร่วมกับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. ประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมในภาพรวม อบรมให้ความรู้ ตรวจคัดกรองและตรวจเพิ่มเติมในกลุ่มเสี่ยง พร้อมรายงานผลคืนกลับข้อมูล ตลอดจนสร้างต้นแบบการให้บริการด้านการแพทย์ของหน่วยเชี่ยวชาญคัดกรองโรงมะเร็งในภาคอิสานตอนล่าง ร่วมกับการสร้างเครือข่ายต่อยอดสู่การวิจัยและให้บริการชุมชนในพื้นที่ได้

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมดำเนินงาน และประสานงานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน -- --- --- --- 0.00
2.ออกให้ความรู้เชิงบูรณาการด้านโรคมะเร็งที่พบบ่อยในกลุ่มเป้าหมาย เก็บข้อมูลแบบสอบถามและดำเนินกิจกรรมด้านบริการวิชาการ -- -- --- --- 126,000.00
3.ตรวจคัดกรองมะเร็งในประชากรกลุ่มเสี่ยงทั้งเพศชายและเพศหญิงด้วยผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัยของวิทยาลัยฯ --- --- --- 63,400.00
4.แจ้งข้อมูลพร้อมแนวทางการดูแลรักษา ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือต่อยอดการวิจัยเพื่อรับใช้ชุมชน พร้อมสรุปจัดทำรูปเล่ม --- -- 10,600.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
8.00-16.00 - กิจกรรมอบรมการให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งที่พบบ่อย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ/ ผศ.ดร.สุรศักดิ์ แว่นรัมย์ และคณะ พร้อมด้วยนักศึกษาแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข ช
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
8.00-16.00 - แบบสอบถามความรู้และปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งในข้าราชการครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ/ ผศ.ดร.สุรศักดิ์ แว่นรัมย์ และคณะ พร้อมด้วยนักศึกษาแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข ช
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
8.00-16.00 - ตรวจคัดกรองมะเร็งในประชากรกลุ่มเสี่ยงทั้งเพศชายและเพศหญิงด้วยผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัยขอ ผศ.ดร.สุรศักดิ์ แว่นรัมย์ และคณะ / หน่วยวิจัยชีวเวชศาสตร์/ โรงพยาบาลอุบลราชธานี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. บูรณาการการเรียนการสอนและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ต้นแบบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย 2. เกิดความร่วมมือและภาคีเครือข่ายการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการ และตลอดจนงานวิจัยในระดับคณะที่มีนักศึกษาเกี่ยวข้อง ภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และภายนอกมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : เป็นโครงการนำร่องเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความแข็งแกร่งด้านการให้บริการสุขภาพในเชิงรุกพร้อมสำนึกรับผิดชอบต่อประชาชนต้นแบบในพื้นที่เป้าหมาย

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
120
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คุ้มค่าอย่างยิ่งเพราะบุคลากรที่เป็นต้นแบบผู้เสียสละในถิ่นห่างไกลได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา - วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3: ชีววิทยาเนื้องอกและเร็ง สำหรับนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 - วิชาพยาธิวิยาของมนุษย์: หัวข้อเนื้องอกและมะเร็ง สำหรั
หลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต, พยาบาลศาสตรบัณฑิต, สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2 และ 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มี
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด มี
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มี

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 63,180.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 61,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 54,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
54,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,980.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 900.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
900.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 1,080.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,080.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 128,820.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 27,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
27,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 16,200.00 บาท )
- จำนวน 3 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
16,200.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 48,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คน x จำนวน 4 เดือน x เดือนละ 6,000.00 บาท
=
48,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 25,020.00 บาท )
1) ค่าจ้างเก็บแบบสอบถามและดำเนินการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งที่พบบ่อยทั้งชาย
=
25,020.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 8,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าใช้สอยด้านอุปกรณ์สำนักงาน ในการดำเนินกิจกรรมเชิงรุก
10 x 200 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) โปสเตอร์ แผ่นพับ สำหรับประชาสัมพันธ์
200 x 10 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร พิมพ์สี เข้าเล่ม รายงาน
100 x 20 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรับสิ่งส่งตรวจ ส่งผลการตรวจวเคราะห์
2 x 1,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 200,000.00 บาท