แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ประชุมวิชาการวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 6
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านการบริการสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ภาวนา พนมเขต คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : จุลชีววิทยา
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการคัดกรองโรคธาลัสซีเมี ปี 2553 และ 2554 ผู้ร่มโครงการตรวจวัดระดับความเครียดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2554
ความเชี่ยวชาญ : จุลชีววิทยา เมลิออย์โดสิส
หัวหน้าโครงการ
นายวัชรพงษ์ แสงนิล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2549 โดยมีภารกิจที่จะต้องผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม สร้างงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้บริการชุมชนด้านสุขภาพแบบองค์รวมและบูรณการ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและประเทศชาติ โดยเฉพาะประชาชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ดังนั้นจึงได้มีนโยบายในการสนับสนุนให้จัดกิจกรรมเพื่อบริการวิชาการประจำปีขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2560 นี้จะจัดในหัวข้อเรื่อง นวัตกรรมสุขภาพกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืนโดยแนวคิดในการสร้างเสริมสุขภาพว่า คือ กระบวนการระดมทรัพยากรต่างๆ เพื่อเอื้อให้ประชาชนมีขีดความสามารถในการควบคุมปัจจัยที่จะก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและพัฒนาให้มีสุขภาพที่ดีทั้งกาย ใจและสังคม เพื่อใช้ความมีสุขภาพดีเป็นต้นทุนในการดำเนินชีวิตให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป ซึ่งสำนักส่งเสริมอนามัย กรมอนามัย ได้ให้คำจำกัดความว่า คือ กระบวนการเพิ่มความสามารถของตนเองในการพัฒนาสุขภาพของตนเองให้บรรลุความสมบูรณ์ทางกาย อารมณ์และจิตใจ การส่งเสริมสุขภาพจะประสบความสำเร็จได้ กลุ่มชนและบุคคลต้องเข้าใจ รู้ปัญหา ความอยากได้ ความต้องการและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคม โดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok charter) ได้กำหนดว่าการส่งเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการชี้นำเพื่อสุขภาพโดยตั้งบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและภารดรภาพ เป็นการลงทุนเพื่อการพัฒนานโยบายที่ยั่งยืนและเพื่อการดำเนินตลอดจนการจัดโครงสร้างพื้นฐานที่จะจัดการกับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดด้านสุขภาพ การสร้างศักยภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย สร้างภาวะผู้นำ พัฒนาทักษะส่งเสริมสุขภาพ การถ่ายทอดความรู้และศึกษาวิจัย การออกระเบียบ กฎหมาย เพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองจากอันตรายและมีโอกาสที่จะมีสุขภาพดีเท่าเทียมกัน การสร้างภาคีเครือข่ายและพันธมิตร ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมและองค์การระหว่างประเทศ เพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน ซึ่งลักษณะพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ คือ สุขอนามัยส่วนบุคคล การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับ การจัดการกับความเครียด การงดสูบบุหรี่ การงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การป้องกันอุบัติภัย การตรวจสุขภาพประจำปีและการควบคุมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของชุมชนอีสานใต้ ตามวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยฯ ได้เห็นความสำคัญในด้านการแพทย์และสาธารณสุขในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะสนับสนุนให้กับงานส่งเสริม ควบคุม ป้องกันและรักษาโรคและภัยสุขภาพให้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การเผยแพร่องค์ความรู้ นวัตกรรมสุขภาพ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด

วัตถุประสงค์
1.ร่วมมือเพื่อเป็นเวทีสร้างความและสร้างเครือข่ายวิจัย บริการวิชาการ ดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ระหว่างโรงเรียนแพทย์ร่วมผลิตกับวิทยาลัยฯ
2.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์วิจัย องค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุข จากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อย่างเป็นรูปธรรม
3.เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย บทความ การจัดการเรียนการสอนทางด้านการแพทย์

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักศึกษาศุนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ อาจารย์ นักวิชาการทางด้านสาธารณสุข แพทย์ พยาบาล
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
300 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
จัดประชุมวิชาการ นิทรรศการแสดงผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนความรู้ งานวิจัยทางการแพทย์

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมคณะกรรมการจัดงานเพื่อออกแบบงานประชุมและคัดเลือกวิทยากร --- --- --- 0.00
2.ประกาศรับบทความวิจัยระดับนานาชาติ และวารสารสืบเนื่องจากการประชุม - --- 0.00
3.จัดงานประชุม --- -- --- --- 146,450.00
4.นำส่งผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ลงวารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา และแก้ไข และส่งต่อปยังสำนักพิมพ์ --- --- 100,000.00
5.5. ตรวจสอบภาษาอังกฤษ การจัดทำบทความให้อยู่ในฐาน Pubmed และการทำรูปเล่มวารสาร --- --- --- 103,550.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
30 มีนาคม พ.ศ. 2560
8.00-16.00 จัดประชุมวิชาการ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : แลกเปลี่ยนความรู้ การวิจัยทางการแพทย์
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
300
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
100
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการเกิดความร่วมมือทางการแพทย์และการวิจัย

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 23,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
21,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
1,800.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 319,650.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 64,800.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 48,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 6 คน x ครั้งละ 4,000.00 บาท
=
48,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 6 ห้อง x ห้องละ 1,400.00 บาท
=
16,800.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 27,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 300 คน
=
21,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 600.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 22,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 300 คน
=
22,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 1,800.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 1 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
1,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 203,550.00 บาท )
1) ค่าตีพิมพ์บทความ
=
203,550.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 6,950.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,950.00 บาท )
1) กระดาษ A4 สมุด ดินสอ สี ปากกา
39 x 50 บาท
=
1,950 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ป้ายประชาสัมพันธ์
2 x 1,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรับส่งวิทยากร
3 x 1,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 350,000.00 บาท