แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวเพื่อกลุ่มผู้สูงวัย
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเตรียมการสู่สังคมผู้สูงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวจิรภา โสภณ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : International Hospitality Management
ประสบการณ์ : วิทยากรบรรยาย Hospitality management, Hotel service quality management, Personality development
ความเชี่ยวชาญ : Hospitality Management Community-based Tourism
หัวหน้าโครงการ
นางสาววรารัตน์ บุญแฝง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : มัคคุเทก์ งานโรงแรม งานขาย
ความเชี่ยวชาญ : การบริการ/การท่องเที่ยว/การขาย/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สายรุ้ง ดินโคกสูง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : สอน วิจัย
ความเชี่ยวชาญ : การท่องเที่ยวชุมชน pro-poor tourism
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสิริรัตน์ ชอบขาย คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : การขายและการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2536 ร้อยละ 7.2 ของประชากรไทยเป็นผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในปี 2538 ประชากรกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.11 และคำนวณไว้ว่าในปี 2543, 2553 และ 2563 จำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.19, 11.36 และ 15.28 ของประชากรทั้งหมดในแต่และช่วงลำดับ (สำนักส่งเสริมสุขภาพ, 2558) การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุชาวไทยส่วนใหญ่ เดิมจะใช้ชีวิตเรียบง่าย อยู่อย่างประหยัด และเข้าร่วม กิจกรรมทางสังคมน้อย บางรายไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง เนื่องจากข้อจำกัดด้านสุขภาพ แต่ในปัจจุบัน ผู้สูงอายุบางส่วนจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น สามารถดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงแม้จะมีอายุมากขึ้น มีความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิตและการเข้าร่วมกิจกรรม สนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และต้องการพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสถานภาพทางการเงินมั่นคงพอมักจะใช้สิ่งของหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และชอบการเดินทางท่องเที่ยว (อัญชลี, 2550 อ้างใน Sasinand, 2550) ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ธุรกิจการท่องเที่ยวไทยไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่น่าจะให้ความสำคัญ เพราะมีกำลังซื้อ ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาในการเดินทาง และยังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจึงควรตระหนักถึงช่องทางการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจจากกลุ่มคนเหล่านี้ โดยการส่งเสริมให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆทางการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ในรูปแบบที่มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองแก่ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งควรมอบบริการที่สอดคล้องกับความต้องการทางกายภาพและสภาพจิตใจของผู้สูงวัย ดังนั้นการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มผู้สูงวัยให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้เป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถส่งมอบบริการให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็น ทั้งนี้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว มีด้วยกันหลายประเภท อาทิ ธุรกิจด้านที่พัก ร้านอาหาร บริษัททัวร์ ร้านจำหน่ายสินค้าทางการท่องเที่ยว ธุรกิจขนส่ง นวดแผนไทย และธุรกิจผลิตหรือจำหน่ายสินค้าที่ระลึก คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคณะที่จัดให้มีหลักสูตรการจัดการการโรงแรม เพื่อผลิตบัณฑิตเข้าสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ จึงได้พัฒนาหลักสูตรในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและยกระดับคุณภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว โดยโครงการบริการวิชาการเพื่อการบริการผู้สูงวัยในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย คือ (1) การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการตลาดและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงวัย (2) การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการส่งมอบบริการที่มีคุณภาพเพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้สูงวัย ทั้งนี้เมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงานแล้ว ผู้ร่วมโครงการจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว ให้สามารถส่งมอบบริการที่สอดคล้องกับความต้องการทางกายภาพและสภาพจิตใจของผู้สูงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความพึงพอใจสูงสุด

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวในเขต 4 จังหวัด (อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ศรีสะเกษ และยโสธร)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1) เตรียมแผนการดำเนินงาน 2) เตรียมงาน ประชาสัมพันธ์โครงการ และดำเนินการจัดฝึกอบรม 3) สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การประสานและแต่งตั้งคณะทำงาน -- --- --- --- 5,000.00
2.การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม -- --- --- --- 5,000.00
3.การกำหนดแผนการดำเนินงาน -- --- --- --- 5,000.00
4.การประชาสัมพันธ์โครงการ --- --- --- 30,000.00
5.การจัดอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการให้สามารถส่งมอบบริการที่สอดคล้องกับความต้องการทางกายภาพและสภาพจิตใจของผู้สูงวัย --- --- --- 250,000.00
6.การสรุป ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน --- --- --- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 122 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
08.30-16.00 น. การอบรมความรู้พื้นฐานการส่งมอบบริการด้านการท่องเที่ยวแก่ผู้สูงวัย วิทยากร 1
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
08.30-16.00 น. การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวของผู้สูงวัย วิทยากร 1 วิทยากรปฏิบัติการ 3
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
08.30-16.00 น. การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการส่งมอบบริการที่มีคุณภาพเพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้สูงวัย วิทยากร 1 วิทยากรปฏิบัติการ 3

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 12.1 ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมและสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 12.2 ผู้สนใจทั่วไปและนักศึกษาได้ได้รับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ระดับมาก

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1705 411 MICE Management
หลักสูตร การจัดการการโรงแรม
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มีการสอดแทรกเนื้อหาในรายวิชาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ได้ออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 54,480.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 50,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
21,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,080.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
1,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,880.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
2,880.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 198,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 3 เดือน x เดือนละ 10,000.00 บาท
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 110,000.00 บาท )
1) ค่าที่พักสำหรับผู้เข้าอบรม 1000 บาท* 30 ห้อง* 2 คืน
=
60,000.00 บาท
2) ค่าเช่าสถานที่จัดประชุม 10000*3วัน
=
30,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาเช่าอุปกรณ์สำหรับฝึกปฏิบัติ
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 34,720.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 11,720.00 บาท )
1) กระดาษ A4
10 x 148 บาท
=
1,480 บาท
2) ปากกาลูกลื่น
100 x 10 บาท
=
1,000 บาท
3) ปากกาเมจิก
20 x 52 บาท
=
1,040 บาท
4) กระดาษโรตี
50 x 15 บาท
=
750 บาท
5) สมุดโน้ต
70 x 15 บาท
=
1,050 บาท
6) กระเป๋าเอกสารการประชุม
70 x 50 บาท
=
3,500 บาท
7) กระดาษแข็ง
20 x 40 บาท
=
800 บาท
8) ป้ายชื่อ
70 x 30 บาท
=
2,100 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 23,000.00 บาท )
1) ค่าจัดทำโปสเตอร์และโบรชัวร์แผ่นพับ
230 x 100 บาท
=
23,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 288,000.00 บาท