แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวเพื่อการดูแลสุขภาพชุมชนที่ต่อเนื่องยั่งยืน ตำบลฝางคำ อำเภอสิริธร จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายอารี บุตรสอน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : - คณะกรรมการตัดสินงานวิจัย - วิทยากร R2R
ความเชี่ยวชาญ : - การจัดการสาธารณสุขชุมชน และอนามัยชุมชน - การวิจัยด้านสาธารณสุข และระบาดวิทยา
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาสาธารณสุข และปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนคนไทย พบว่า ปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่มาจากปัจจัยส่วนบุคคลอันเนื่องมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทั้งพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งพฤติกรรมของประชาชนที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว มีทั้งพฤติกรรมเสี่ยงร่วม เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความเครียด การขาดการออกกำลังกาย การบริโภคที่ไม่เหมาะสม ปัญหาการเลี้ยงดูบุตร และการให้ความอบอุ่นในครอบครัว การใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง และอนามัยส่วนบุคคล และมีพฤติกรรมเสี่ยงเฉพาะ เช่น การบริโภคปลาดิบ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันของผู้ใช้สารเสพติด การสำส่อนทางเพศ การเฝ้าระวังและการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง การไม่นำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีน และขาดการป้องกันอุบัติเหตุทางจราจร เป็นต้น จากสภาพปัญหาสาธารณสุขดังกล่าวจำเป็นต้องมีการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยการให้ประชาชนในครัวเรือนได้มีบทบาทในการดูแลสุขภาพครอบครัวของตนเองมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการปฏิรูประบบสุขภาพมีเป้าหมายหลักของบริการปฐมภูมิที่สำคัญมี 2 ประการคือ การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค (Self care) และ การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างเสมอภาคเป็นธรรม การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญคือการมีหมอประจำครอบครัว เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีญาติเป็นหมอและสามารถพึ่งพาได้ทุกเมื่อ และในปัจจุบันการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของคนในชุมชนลดลง แนวคิดหนึ่งคือการพัฒนานักสุขภาพครอบครัวเป็นหมอประจำครอบครัว เพื่อเข้าไปดูแลและจัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน รายครัวเรือนให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเด็กและสตรี กลุ่มเด็ก 0-5 ปี กลุ่มวัยเรียน กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งการสรุปวิเคราะห์ข้อมูล แก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งสร้างแกนนำประจำครอบครัว เพื่อให้มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นแก่ครัวเรือนสามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น การพัฒนาไปให้ถึงความสำเร็จตามเป้าหมาย และเป็นไปตามเจตนารมณ์ได้ นั้น ท้องถิ่นและชุมชนต้องมีความเข้มแข็ง หมายถึง ต้องสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนบริหารจัดการระบบและองค์กรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป้าหมายสูงสุดของการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อยู่ที่ “การที่ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนา” การปรับแนวทางการดำเนินงาน ให้กลุ่มคน หน่วยงาน/องค์กรภาคีเครือข่าย ให้มีความรู้ เข้าใจเรื่องสุขภาพ เห็นถึงจุดหมายของสุขภาพหรือสุขภาวะให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนการสานพลังร่วมกันในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนให้เกิดขึ้นได้นั้น ในเชิงการวางกลยุทธ์ สิ่งที่ต้องการคือ การสร้างความเข้มแข็งชุมชนตลอดจนการสร้างความเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการเสริมพลังซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนาcแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว (กสค.) เพื่อเป็น “หมอประจำครอบครัว” ที่จะดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวอย่างใกล้ชิด เป็นแบบอย่างในการแสดงพฤติกรรมสุขภาพ และประสานความร่วมมือให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด ด้วยกระบวนการของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชนน ดังนั้นวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงมีความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวเพื่อการดูแลสุขภาพชุมชนที่ต่อเนื่องยั่งยืน จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวเพื่อการดูแลสุขภาพชุมชนที่ต่อเนื่องยั่งยืน ตำบลฝางคำ อำเภอสิริธร จังหวัดอุบลราชธานี” ขึ้น เพื่อพัฒนาแกนนำสุขภาพในแต่ละครอบครัวเพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสาธารณสุขบรรลุผลดียิ่งขึ้น ประชาชนมีสุขภาวะต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวตำบลฝางคำ อำเภอสิริธร จังหวัดอุบลราชธานี
2.เพื่อให้แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว (กสค.) จำนวน 4 หมู่บ้าน ๆ ละ 60 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
240 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.จัดทำเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติและให้การสนับสนุน 2.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.จัดอบรมแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 4.สรุปและประเมินผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ศึกษาพื้นที่และจัดทำโครงการ ประสานงานพื้นที่และประสานโครงการ ประชุมร่วมกับผู้นำหมู่บ้านเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ จัดทำโครงการเสนอบริการวิชาการ ป - --- --- 0.00
2.ประสนกลุ่มเป้าหมายร่วมโครงการ --- -- - --- 0.00
3.อบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการ --- --- -- --- 100,000.00
4.ประเมินผลโครงการ --- --- - -- 0.00
5.สรุปรายงานและนำเสนอผลการดำเนินโครงการ --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลของภาครัฐ
ด้านสังคม : เพิ่มศักยภาพการดูแลตนเอง
ด้านสิ่งแวดล้อม : ช่วยดูแลเพื่อนบ้านเพื่อนช่วยเพื่อน
ด้านอื่นๆ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านการดูแลตนเองในเบื้องต้น สนับสนุน Primary Health Care

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
240
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
416.67 บาท/คน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา อนามัยชุมชน (1902 311)
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ระบบสุขภาพชุมชนและการศึกษาชุมชน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ฝึกการศึกษาชุมชน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การศึกษาชุมชนด้วยเครื่องมือทางสังคมศาสตร์
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 28,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 48,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 240 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 240 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 23,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 23,200.00 บาท )
1) ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม
232 x 100 บาท
=
23,200 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท