แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การตรวจและวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการโรคธาลัสซีเมียในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาการบริการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และพัฒนาโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ภาวนา พนมเขต คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : จุลชีววิทยา
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการคัดกรองโรคธาลัสซีเมี ปี 2553 และ 2554 ผู้ร่มโครงการตรวจวัดระดับความเครียดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2554
ความเชี่ยวชาญ : จุลชีววิทยา เมลิออย์โดสิส
หัวหน้าโครงการ
นายวัชรพงษ์ แสงนิล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขได้เปิดให้บริการทางการแพทย์ในอาคารผู้ป่วยนอก โดยมีกลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก ที่มีหน้าที่หลักในการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยาคลินิก ก็มีบทบาทในการตรวจวินิจฉัยหลายด้าน ได้แก่ การตรวจทางจุลชีวิทยาและปรสิต การตรวจทางภูมิคุ้มกัน การตรวจทางเคมีคลินิก และการตรวจโรคทางโรคเลือดและพันธุกรรม โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางที่พบมากในเขตแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ โรคดังกล่าวเป็นโรคที่มีการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม การตรวจวินิจฉัยคู่เสี่ยง ถึงระดับ genotype มีประโยชน์อย่างมากในการลดความเสี่ยงและอุบัติการณ์ของเด็กๆที่เกิดใหม่ ซึ่งการตรวจวินิจฉัยคู่สมรส ถึงระดับ genotype เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ในระดับสูง ไม่เปิดให้บริการในห้องปฏิบัติการทั่วไป ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคลินิก อาคารผู้ป่วยนอก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียถึงระดับโมเลกุล มากได้ระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะการตรวจวินิจฉัย DNA ในกลุ่ม beta thalassemia และห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคลินิก ก็ได้รับการยอมรับจากสมาคมเทคนิคการแพทย์ให้เป็นศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ดังนั้นการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการนอกจากจะเป้นการให้ความรู้ ได้ฝึกปฏิบัติ และการแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้ว ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้รับคะแนน CMTE เพื่อใช้ในการประกอบการต่อใบประกอบวิชาชีพด้วย และเป็นการประชาสัมพันธ์การเปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียให้เป็นที่ทราบของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้ใหม่ๆที่เป็นปัจจุบันแก่เจ้าหน้าที่ทางห้องปฏิบัติการในการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
2.เพื่อฝึกปฏิบัติการแปลผลการตรวจธาลัสซีเมียในระดับ DNA

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
แพทย์ นักศึกษาแพทย์ ปี2 และ 3 นักเทคนิคการแพทย์
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
คัดเลือกวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ทางโรคเลือด ธาลัสซีเมีย เลือกตัวอย่างและเตรียมตัวอย่างเลือดที่พบได้ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงตอนใต้ เพื่อใช้ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ออกแบบข้อสอบความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคดังกล่าวและการแปลผล เพื่อทดสอบผู้เข้าร่วมอบรม นำข้อมูลที่ได้จากการหาตัวอย่างเลือดมาศึกษาระบาดวิทยาของโรค

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมคณะกรรมการจัดงาน -- --- --- --- 0.00
2.เตรียมตัวอย่างเพื่อใช้ในการฝึกปฏิบัติการ --- --- 27,500.00
3.จัดงานประชุม --- -- --- --- 70,000.00
4.สรุป วิเคราะห์ รายงานผลการทดลอง --- --- 2,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
29 มีนาคม พ.ศ. 2560
08.00-16.00 โรคธาลัสซีเมียการตรวจและการแปลผล ศ.นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ทราบความเสี่ยงของคู่สมรส จะทำให้คู่สมรสตัดสินใจในการมีบุตร ลดจำนวนผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ลดอุบัติการณ์ของโรค และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยดังกล่าว
ด้านสังคม : ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
100
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมอบรมนำความรู้ไปใช้ในงานประจำและชีวิตประจำวันได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ระบบเลือดและน้ำเหลือง
หลักสูตร แพทยศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ฝึกปฏิบัติการ อ่านผล แปลผล รูปแบบและลักษณะของธาลัสซีเมียที่พบมากในแถบภาคตะวันออกเฉียงตอนใต้ ได้ทุกชนิ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 17,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 15,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 400.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 1,800.00 บาท )
1) ปฏิบัติงานนอกเวลาจำนวน 1 คน x จำนวน 3 ชม. x จำนวน 600.00 บาท/ชม.
=
1,800.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 71,350.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 18,800.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 16,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 4,000.00 บาท
=
16,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 2,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 1,400.00 บาท
=
2,800.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,250.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
3,750.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
3,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 1,000.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 39,300.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาเตรียมสารเคมีและตัวอย่างที่ใช้ในการอบรม
=
35,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูล
=
1,800.00 บาท
3) เข้าเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 11,250.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 6,250.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท
2) กระดาษ A4 สมุด ดินสอ สี ปากกา
25 x 50 บาท
=
1,250 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ป้ายประชาสัมพันธ์
2 x 1,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 3,000.00 บาท )
1) น้ำมันรับส่งวิทยากร
3 x 1,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท