แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การศึกษาระบบสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมและสร้างพลังชุมชนในการพัฒนาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาการบริการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และพัฒนาโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับ
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านการบริการสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางทักษิณ พิมพ์ภักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ชีวสถิติ
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2555 - 2557 ผู้ร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2556-2557
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงปริมาณ การบริหารจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
หัวหน้าโครงการ
นายพลากร สืบสำราญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการระบาด
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1 โครงการ ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ หัวหน้าโครงการวิจัย 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาสุขภาพชุมชน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคในชุมชน ระบาดวิทยา ชีวสถิติ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.กิตติ เหลาสุภาพ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : รับราชการ ตำหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ปฏิบัติงานในภาครัฐและชุมชนกว่า 25 ปี
ความเชี่ยวชาญ : สาธารณสุขชุมชน วิทยาการระบาด พฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมโครงการ
นายอารี บุตรสอน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : - คณะกรรมการตัดสินงานวิจัย - วิทยากร R2R
ความเชี่ยวชาญ : - การจัดการสาธารณสุขชุมชน และอนามัยชุมชน - การวิจัยด้านสาธารณสุข และระบาดวิทยา
ผู้ร่วมโครงการ
นางพัจนภา ธานี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต พิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ
ประสบการณ์ : ร่วมโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ เปิดโลกการเรียนรู้ สู่ร่างอาจารย์ใหญ่ งบประมาณ 2556 ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคมปีงบประมาณ 2555-2557 หัวหน้าโครงการวิจัยทางด้านโภชนการชุมชน ทุนวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ปี 2555
ความเชี่ยวชาญ : -อาหารและโภชนาการชุมชน -พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
ปัญหาทางด้านสุขภาพของมนุษย์เป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขปัญหาหนึ่ง จากการรายงานสถิติของอัตราผู้ป่วยใน 10 อันดับแรกของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ในปี 2553 พบว่า อัตราป่วยอันดับหนึ่งคือ ระบบต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตาบอลิซึม ส่วนโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงอยู่ในลำดับที่ 7 และ 8 ตามลำดับ และยังพบว่าอัตราตาย 10 อันดับแรกของปี 2552 คือ โรคมะเร็ง เป็นอันดับหนึ่ง และโรคเบาหวานอยู่ในลำดับที่ 8 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี, 2554) ซึ่งพบว่าโรคที่เป็นสาเหตุการตายที่กล่าวมาเป็นโรคเรื้อรัง ที่สาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคเกิดจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองของประชาชนไม่ดี เช่น เรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การจัดการกับระบบความเครียดของตนเอง สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งหากประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองได้ดี อาจจะส่งผลให้การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ไม่รุนแรงมากกว่าเดิมลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามารวมไปถึงประชาชนผู้ที่ยังไม่เป็นโรคก็เป็นการป้องกันการเกิดโรคได้อีกด้วย ดังนั้นหากประชาชนมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย และสิ่งแวดล้อม ก็มีจะมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรค และช่วยชะลอโรคไม่ให้รุนแรงมากขึ้นได้ รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการประเมินสุขภาพตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมในการศึกษาและพัฒนาระบบสุขภาพของตนเอง และชุมชนอย่างมีส่วนร่วม การศึกษาระบบสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาพ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพให้แก่ประชาชน รวมไปถึงการป้องกันการเกิดโรคด้วย การประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมร่วมด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการให้บริการความรู้พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในทุกกลุ่มอายุ เพือเป็นการดูแลสุขภาพของตนเองของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยฯ จึงเสนอโครงการระบบสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมและสร้างพลังชุมชนในการพัฒนาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และประยุกต์ความรู้ดังกล่าวให้กับประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำความรู้ที่ได้แก้ไขพฤติกรรมที่นำไปสู่การป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ให้กับประชาชนสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้มีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สามารถทำงานและดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ตลอดจนสร้างความเชื่อด้านสุขภาพที่ถูกต้อง สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทของชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป พร้อมทั้งทำการประยุกต์ความรู้ดังกล่าวให้กับประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำความรู้ที่ได้แก้ไขพฤติกรรมที่นำไปสู่การป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ให้กับประชาชน สามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้มีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สามารถทำงานและดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสำรวจปัญหาและผลกระทบทางด้านสุขภาพ ตลอดจนหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในชุมชน อันนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการดูแลตนเองด้านสุขภาพ อย่างมีส่วนร่วมของประชาชน
2.เพื่อดำเนินการกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรคหรือปัญหาสุขภาพ ตลอดจนแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
3.เพื่อส่งเสริม ให้นักศึกษามีศักยภาพในการทำงานด้านสุขภาพ โดยบูรณาการความรู้ ร่วมกับชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ - นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 - อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาสาธารณสุขศาสตร์
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.รวบรวมข้อมูล สำรวจพื้นที่ 2.ศึกษาข้อมูลชุมชน โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น 3.จัดอบรม 3 วัน 4.ดำเนินงานบริการวิชาการในชุมชน 5.ประเมินผลการอบรม การดำเนินการ สรุปข้อมูลคืนชุมชน ุ6.สรุปผล/จัดทำรูปเล่ม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.- จัดประชุมเตรียมความพร้อม รวบรวมข้อมูล ออกสำรวจ พื้นที่ - ติดต่อประสานงานวิทยากร ติดต่อพื้นที่ที่จะจัดกิจกรรม ทำหนังสือประชาสัมพันธ์ - --- --- --- 5,600.00
2.- หาข้อมูลในชุมชน วินิจฉัยชุมชน โดยทำแผนที่เดินดิน และออกเยี่ยมบ้าน - ทำประชาคมในชุมชน -- --- --- --- 23,500.00
3.จัดอบรม 2 วัน ดำเนินงานบริการวิชาการ ในชุมชน 3 วัน ประเมินโครงการโดยวัดความรู้ก่อนและหลังของผู้เข้าร่วมโครงการ -- --- --- --- 68,400.00
4.จัดทำรายงานผลการดำเนินการและจัดทำรูปเล่ม --- - --- --- 2,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 14 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559
08.30 - 16.30 รวบรวมข้อมูล สำรวจพื้นที่ เตรียมความพร้อมชุมชน อ.ทักษิณ พิมพ์ภักดิ์และคณะ
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559
08.30 -16.30 - ติดต่อประสานงานวิทยากร ติดต่อพื้นที่ที่จะจัดกิจกรรม ทำหนังสือประชาสัมพันธ์ - ออกแบบแบบสำรวจสถาน อ.ทักษิณ พิมพ์ภักดิ์และคณะ
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.30 - 16.30 ศึกษาข้อมูลชุมชน สำรวจข้อมูลสถานะสุขภาพของแต่ละกลุ่มอายุ จัดทำแผนที่เดินดิน อ.ทักษิณ พิมพ์ภักดิ์และคณะ
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.30 - 16.30 จัดทำประชาคม เพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพในชุมชน ร่วมกับชุมชน อ.ทักษิณ พิมพ์ภักดิ์และคณะ
17 ธันวาคม พ.ศ. 2559
13.00 - 16.00 ดำเนินการเยี่ยมบ้าน ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหา จัดอบรมกิจกรรมภายในหมู่บ้าน ตามกำหนดการ 2 วัน ผู้นำชุมชน อ.ทักษิณ พิมพ์ภักดิ์และคณะ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์
25 ธันวาคม พ.ศ. 2559
18.00 น. เป็นต้นไป สรุปผลการประชาคมหมู่บ้าน ผลการดำเนินการ ค้นหา และแก้ไขปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ผู้นำชุมชน อ.ทักษิณ พิมพ์ภักดิ์และคณะ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการดูแลผู้ป่วย ในชุมชน
ด้านสังคม : เกิดเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ -มีเครือข่ายในการทำงานร่วมกับชุมชน ทั้งระดับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
ด้านสิ่งแวดล้อม : การประเมินสภาพแวดล้อมในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี และหาแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ดี
ด้านอื่นๆ : เป็นการสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานกับชุมชน และเป็นการทำงานเชิงรุกในการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นเหตุที่จะทำให้การลดต้นทุนในการรักษาพยาบาลลดลง อีกทางหนึ่ง

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การวินิจฉัยชุมชน
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน -
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ทุกคนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ อย่างน้อย 4 โครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 17,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 15,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 15,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,800.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 400.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
1,800.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 75,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 28,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
28,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 14,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูลโครงการ
=
6,500.00 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร
=
5,000.00 บาท
3) ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 7,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุ (กระดาษ A 4 `กระดาษ 100 ปอนด์ กระดาษพรูฟ ปากกา ดินสอ สมุด สี ปากปาเมจิก กาว สกอตเทป)
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท