แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมการจัดทำข้อเสนอโครงการสำหรับตัวแทนชุมชนเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.กิตติ เหลาสุภาพ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : รับราชการ ตำหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ปฏิบัติงานในภาครัฐและชุมชนกว่า 25 ปี
ความเชี่ยวชาญ : สาธารณสุขชุมชน วิทยาการระบาด พฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวหน้าโครงการ
ผศ.มินตรา สาระรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ : : 1) การสร้างเสริมสุขภาพ : ทางเลือกใหม่ของคุณ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่22 อุบลราชธานี 3)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ปีที่ 1. และ 2) 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราธานี 5)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ความเชี่ยวชาญ : การสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจีราพร ทิพย์พิลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วท.ม.สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
กองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่หรือท้องถิ่น เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มาตรา 13(3) มาตรา 18(8)มาตรา 47 และมาตรา 48(4) ที่ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนและท้องถิ่น ซึ่งระบุไว้ว่าเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน มีเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่นรวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนในพื้นที่จัดทำกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็กกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มผู้พิการและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องจัดทำเป็นข้อเสนอโครงการ ที่ผ่านมาพบว่าเงินกองทุนไม่ได้มีการนำไปใช้ตามเจตนารมย์ของกองทุนยังมีเงินคงค้างในกองทุนเป็นจำนวนมากเนื่องจากไม่มีข้อเสนอโครงการส่งเข้ามาขออนุมัติรวมทั้งกรรมการกองทุนเองก็ไม่แน่ใจในการใช้จ่ายเงินดังกล่าว ปัญหาของการจัดทำข้อเสนอโครงการของกลุ่มเป้าหมายกองทุน ได้แก่ การเขียนโครงการไม่เป็นต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การไม่เข้าใจกฎระบียบหรือเงื่อนไขการอนุมัติเงินทุน การเขียนโครงการที่ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของหน่วยงาน รวมทั้งการประเมินผลโครงการ ดังนั้นเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านกฎระเบียบของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่รวมทั้งส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อนำไปส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตนเองให้มีสุขภาวะที่ดีต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องแนวคิดหลักการของกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องหลักการแนวคิดในการจัดทำข้อเสนอโครงการ
3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อของบประมาณได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ตัวแทนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 คน ซึ่งมีตำแหน่งใดตำแหน่งเป็นกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
190 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. จัดทำข้อเสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 2. ประสานบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมร่วมกัน 3. ติดต่อประสานงานพื้นที่เพื่อขอรายชื่อผู้เข้าอบรมพร้อมทั้งเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการเขียนโครงการ 4. ดำเนินการฝึกอบรม วันที่ 1. - ระเบียบการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่ - หลักการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ วันที่ 2. - ฝึกปฏิบัติการเขียนโครงการ - นำเสนอโครงการของแต่ละกลุ่ม 5 ประเมินผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประสานบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อจัดทำหลักสูตร/ปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมร่วมกัน --- -- --- --- 0.00
2.ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี --- --- -- --- 94,000.00
3.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- -- --- 2,000.00
4.ประชุมทีมเพื่อทบทวนและปรับกระบวนการฝึกอบรม --- --- -- --- 1,000.00
5.จัดทำสรุปรายงานภาพรวมทั้งโครงการ --- --- -- --- 3,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 - 30 เมษายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 120 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
25 เมษายน พ.ศ. 2560
08.30-16.30 น. อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วิทยากรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 10 อุบลราชธานีและวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
26 เมษายน พ.ศ. 2560
08.30-16.30 น. อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี(ต่อ) วิทยากรจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลราชธานี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : มีเงินหมุนเวียนจากการทำโครงการ
ด้านสังคม : กลุ่มที่ต้องได้รับการดูแล ได้แก่ กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เข้าถึงบริการและได้รับการส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
190
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การสร้างพลังชุมชน
หลักสูตร วทบ.(สาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาสามารถบอกความสำคัญของการสร้างพลังชุมชนได้
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาสามารถให้คำปรึกษาด้านการเขียนโครงการผู้เข้าร่วมอบรมได้
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาสามารถจัดทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการได้อย่างน้อย 5 เรื่อง

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 33,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 33,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 63,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 28,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
28,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 28,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 70.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
28,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าเช่าห้องประชุม
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 2,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,600.00 บาท )
1) ค่าป้ายชื่อโครงการ
1 x 1,600 บาท
=
1,600 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 1,200.00 บาท )
1) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง(จ่ายตามจริง)
1 x 1,200 บาท
=
1,200 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท