แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ รูปแบบการจัดการเสียงจากการสัญจรของเรือในท่าน้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : การบริการทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางนิตยา ชาคำรุณ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : – Environmental management – Environmental and Health Impact Assessment (Air pollution and Noise) – Air quality modeling and Emission Inventory – Air quality monitoring and management – Air and Noise pollution control – Greenhouse gas management
หัวหน้าโครงการ
นางสาวจิราภรณ์ หลาบคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ประสบการณ์ : ด้านบริการวิชาการ 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ปี 2556 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ สานฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2557 3) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดี ปี 2557 4) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 2 พ.ศ. 2558 5) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 3 พ.ศ. 2559
ความเชี่ยวชาญ : การสุขาภิบาลอาหาร การจัดการคุณภาพน้ำ งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นายสิทธิชัย ใจขาน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปี 3 พ.ศ. 2559 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการสาฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2559
ความเชี่ยวชาญ : -การจัดการสิ่งแวดล้อม - การจัดการคุณภาพน้ำ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสุภาณี จันทร์ศิริ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมมลพิษทางอากาศ
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจีราพร ทิพย์พิลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วท.ม.สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสำหรับนักบริหาร
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานสาธารณสุข กฏหมายด้านสาธารณสุข การพยาบาล
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
เรือเป็นการคมนาคมทางน้ำอีกทางเลือกหนึ่ง ของคนที่มีที่พักอาศัยหรือที่ทำงานใกล้เคียงกับแม่น้ำลำคลอง โดยเฉพาะกับวิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่กำหนดระยะเวลาในการเดินทางได้ง่ายกว่าการใช้รถโดยสารประจำทางหรือรถยนต์ส่วนตัวในการข้ามฝากไปมากับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยประชนชนในจังหวัดอุบลราชธานีและ สปป.ลาว ได้มีการติดต่อซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสิ้นค้ากันมาตั้งแต่สมัยอดีต มีการเดินทางสัญจรและขนส่งสินค้าโดยใช้เรือในการข้ามไปมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีท่าเรือสำหรับรับส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าจำนวนทั้งสิ้น 6 ท่าเรือ ประกอบด้วย 1) ท่าเรือโขงเจียม 2) ท่าเรือสามพันโบก 3) ท่าเรือหาดสลึง 4) ท่าเรือเขมราฐ 5) ท่าเรือชานุมาน และ 6) ท่าเรือปากแซง มีจำนวนเรือประเภทเครื่องกลลำน้ำทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่ขึ้นทะเบียนไว้รวมทั้งสิ้น 135 ลำ โดยเรือที่วิ่งในลำน้ำโขง มี 2 ประเภท คือ ประเภทเรือกลลำน้ำ และเรือลำน้ำที่ไม่ใช้เรือกล มีจำนวนเที่ยวเรือที่วิ่งในแต่ละวันแตกต่างกันในแต่ละฤดูกาล ส่วนใหญ่ในฤดูฝนจำนวนเที่ยวเรือที่วิ่งจะลดลง ส่วนฤดูหนาวและฤดูร้อนจำนวนเที่ยวเรือจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือนเทศกาลปีใหม่เดือนธันวาคม-มกราคม ในท่าเรือโขงเจียม และเขมราฐ โดยเฉลี่ยมีจำนวนเที่ยวเรือ 10-20 เที่ยวต่อวัน และเทศกาลท่องเที่ยวสามพันโบกและหาดสลึงในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จะมีจำนวนเที่ยวเรือเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 10-15 เที่ยวต่อวัน (สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาอุบลราชธานี, 2558) จากนโยบายรัฐบาลในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้จังหวัดอุบลราชธานีได้มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ส่งผลให้การสัญจรคมนาคมทางเรือในท่าน้ำทั้ง 6 ท่า ของจังหวัดอุบลราชธานี มีรอบวิ่งเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลท่องเที่ยวในเดือนมีนาคม-เมษายน โดยเฉพาะท่าเรือโขงเจียม เขมราฐ สามพันโบก และหาดสลึง ที่มีประชาชนสัญจรเดินเรือข้ามฝากไปยังประเทศลาว และนักท่องเที่ยวเข้ามาล่องเรือเที่ยวชมธรรมชาติ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มเที่ยววิ่งในแต่ละวัน ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงจากการจราจรทางเรือที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ประกอบการเรือและผู้โดยสาร ดังจะเห็นได้จากการติดตามตรวจวัดระดับเสียงเรือโดยสาร ซึ่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมเจ้าท่า และกรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงของเรือโดยสารที่ใช้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครในปี 2553 รวม 88 ลำ พบว่ามีระดับเสียงอยู่ในช่วง 85.7-105.3 เดซิเบลเอ เกินมาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 15.9 ของจำนวนเรือที่ตรวจ (มาตรฐานไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ) โดยเรือหางยาว (เรือกลลำน้ำขนาดเล็กและขนาดกลาง) มีระดับเสียงเกินมาตรฐานจำนวนมากกว่าเรือเครื่องกลางลำ (กรุงเทพมหานคร, 2555 ) นอกจากนี้จากการตรวจระดับความดังเสียงที่มีการกำหนดมาตรการชะลอความเร็วเพื่อลดเสียงของเรือโดยสาร บริเวณใกล้เขตพระราชฐาน วังสระปทุม บริเวณคลองแสนแสบ และจังหวัดสมุทรสงคราม พบว่ายังมีเสียงเกินมาตรฐานอยู่ร้อยละ 30 (กรมควบคุมมลพิษ, 2553) ดังนั้นจึงทำให้ประชาชน และผู้ปฏิบัติงานในบริเวณใกล้เคียง มีโอกาสได้รับอันตรายต่อสุขภาพและต่อจิตใจ เช่น รบกวนการพักผ่อน ก่อเกิดความรำคาญ รบกวนการสื่อสาร รบกวนประสิทธิภาพการทำงาน เกิดความเครียด เสียสุขภาพจิต อาจเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง และโรคแผลในกระเพาะอาหาร (กรมควบคุมมลพิษ, 2547) อย่างไรก็ตามแม้เรือที่ใช้สัญจรในท่าน้ำของจังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนไม่หนาแน่นเทียบเท่ากับในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่เนื่องด้วยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวและยังมีการสัญจรทางเรืออยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรือที่สัญจรมีทั้งเรือขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ รวมทั้งมีการดัดแปลงเครื่องยนต์ของเรือจากผู้ประกอบการบางราย และลักษณะสภาพเรือเป็นเรือเก่าทำให้มีเสียงดังในขณะวิ่งเมื่อมีจำนวนเที่ยววิ่งเพิ่มขึ้น ประกอบกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาอุบลราชธานี ยังไม่มีการตรวจวัดระดับความดังเสียงจากเรือดังกล่าว และยังไม่มีการบังคับใช้มาตรการในการจัดการและควบคุมดูแลระดับความดังเสียงจากเครื่องจักรกลของเรือที่วิ่ง จึงอาจก่อให้เกิดผลกระทบจากระดับความดังเสียงที่เกิดขึ้นได้ และจากการลงพื้นที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการตรวจวัดความดังเสียงของเรือในปีงบประมาณ 2559 เบื้องต้นได้ดำเนินการตรวจเรือทั้งหมด 2 ท่า มีเรือเข้าร่วมตรวจวัดเสียงจำนวน 32 ลำ พบว่ามีเรือที่มีความดังเสียงเกินมาตรฐานจำนวน 9 ลำ แต่เสียงที่ตรวจวัดได้มีค่าส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 90 - 100 เดซิเบลเอ ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับค่ามาตรฐาน (มาตรฐานเสียงของเรือไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ) ซึ่งอาจจะมีผลกระทบสะสมต่อผู้ปฏิบัติงานในอนาคตได้ ทั้งนี้ด้วยความตระหนักถึงพิษภัยของการประกอบอาชีพและการทำงานของผู้ประกอบการเรือและผู้โดยสาร ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงผลกระทบจากระดับเสียงที่เกิดจากการสัญจรของเรือในท่าน้ำทั้ง 6 ท่า ในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อนำไปสู่การวางแผนในการกำหนดรูปแบบหรือมาตรการในการจัดการระดับเสียงจากการสัญจรของเรือในจังหวัดอุบลราชธานีต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาระดับความดังเสียงจากการสัญจรของเรือในท่าน้ำจังหวัดอุบลราชธานี
2.เพื่อศึกษาศึกษาสมรรถภาพในการได้ยินของคนขับเรือจากการสัญจรของเรือในท่าน้ำจังหวัดอุบลราชธานี
3.เพื่อประเมินผลระทบของเสียงจากการสัญจรของเรือในท่าน้ำจังหวัดอุบลราชธานี
4.เพื่อจัดทำรูปแบบในการจัดการระดับเสียงในการสัญจรของเรือในท่าน้ำจังหวัดอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. เรือกลลำน้ำ และผู้ประกอบการเรือกลลำน้ำ ที่ขึ้นทะเบียนเรือกับกรมเจ้า ที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาอุบลราชธานี ทั้งหมด
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
135 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. การเตรียมงานวิจัยและทบทวนเอกสาร 1.1 ประสานหน่วยงานและรวบรวมข้อมูลระดับทุติยภูมิ 2. แผนงานและวิธีการดำเนินงานวิจัย 2.1 ออกแบบและสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2.2 การอบรมทีมวิจัยและวิธีดำเนินงาน 2.3 ทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การดำเนินงานวิจัยในพื้นที่เป้าหมาย 3.1 เตรียมพื้นที่และประสานหน่วยงาน 3.2 การสำรวจและเก็บข้อมูลปฐมภูมิ 3.3 ตรวจวัดระดับเสียงจากการสัญจรของเรือ 3.4 ตรวจวัดสมรรถภาพในการได้ยินของคนขับเรือ 3.5 อบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการเรือและคนขับเรือ 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 ประมวลผลข้อมูล 4.2 วิเคราะห์และแปลผลข้อมูล 5. การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล 5.1 จัดเวทีสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลให้กับผู้ประกอบการเดินเรือในท่าน้ำจังหวัดอุบลราชธานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5.2 กำหนดรูปแบบการจัดการระดับเสียงจากการสัญจรของเรือในท่าน้ำจังหวัดอุบลราชธานี 6. จัดทำรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประสานหน่วยงานและรวบรวมข้อมูลระดับทุติยภูมิ -- --- --- --- 2,000.00
2.ออกแบบและสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - --- --- --- 5,000.00
3.การอบรมทีมวิจัยและวิธีดำเนินงาน - --- --- --- 4,500.00
4.ทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย -- --- --- --- 2,000.00
5.ตรียมพื้นที่และประสานหน่วยงาน -- -- --- --- 2,000.00
6.การสำรวจและเก็บข้อมูลปฐมภูมิ --- - --- 7,000.00
7.ตรวจวัดระดับเสียงจากการสัญจรของเรือ --- - --- 38,000.00
8.ตรวจวัดสมรรถภาพในการได้ยินของคนขับเรือ --- - --- 28,000.00
9.อบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการเรือและคนขับเรือ --- -- - --- 86,400.00
10.ประมวลผลข้อมูล วิเคราะห์และแปลผลข้อมูล --- --- -- 7,000.00
11.จัดเวทีสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลให้กับผู้ประกอบการเดินเรือในท่าน้ำจังหวัดอุบลราชธานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง --- --- -- - 8,000.00
12.กำหนดรูปแบบการจัดการระดับเสียงจากการสัญจรของเรือในท่าน้ำจังหวัดอุบลราชธานี --- --- --- -- 3,600.00
13.จัดทำรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ --- --- --- -- 6,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
8 ตุลาคม พ.ศ. 2559
09.00 ประสานหน่วยงานและรวบรวมข้อมูลระดับทุติยภูมิ
22 ตุลาคม พ.ศ. 2559
09.00 ออกแบบและสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
09.00 การอบรมทีมวิจัยและวิธีดำเนินงาน
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
09.00 การสำรวจและเก็บข้อมูลปฐมภูมิ
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
09.00 ตรวจวัดระดับเสียงจากการสัญจรของเรือ
10 มีนาคม พ.ศ. 2560
09.00 ตรวจวัดสมรรถภาพในการได้ยินของคนขับเรือ
19 มิถุนายน พ.ศ. 2560
09.00 อบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการเรือและคนขับเรือ
9 สิงหาคม พ.ศ. 2560
09.00 จัดเวทีสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลให้กับผู้ประกอบการเดินเรือในท่าน้ำจังหวัดอุบลราชธานีและหน่วยงานที่เกี่

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : ผู้ประกอบการเรือทราบผลระทบของเสียงจากการสัญจรของเรือในท่าน้ำจังหวัดอุบลราชธานี
ด้านสิ่งแวดล้อม : ได้รูปแบบในการจัดการระดับเสียงในการสัญจรของเรือในท่าน้ำจังหวัดอุบลราชธานี
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
135
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การสุ่มเก็บและวิเคราะห์ด้านอากาศ
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน สอบภาคปฏิบัติ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ใบลงทะเบียนการเข้าร่วมกิจกรรมและการดำเนินกิจกรรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ _

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 86,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 86,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
43,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
43,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 112,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 25,200.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 70.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
7,000.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 70.00 บาท x จำนวน 130 คน
=
18,200.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 76,400.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูล
=
7,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร
=
4,400.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูลแบบสอบถาม
=
7,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาตรวจวัดระดับเสียงของเรือและและผู้ขับขี่เรือทั้ง 6 ท่าเรือ
=
34,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาตรวจวัดสมรรถภาพในการได้ยินของคนขับเรือทั้ง 6 ท่าเรือ
=
24,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 1,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,200.00 บาท )
1) ป้ายประชาสัมพันธ์
1 x 1,200 บาท
=
1,200 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 200,000.00 บาท