แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาความรู้เกษตรกรเพื่อการส่งออก
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวรชยา อินทนนท์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : บริหารธุรกิจ (ธุรกิจระหว่างประเทศ)
ประสบการณ์ : 1. การวิจัยการส่งออกข้าวหอมมะลิ 2. การจัดทำโครงการบริการวิชาการ 2.1 การส่งออกสำหรับนักธุรกิจ 2.2 การพัฒนาความรู้เกษตรกรเพื่อการส่งออก
ความเชี่ยวชาญ : ธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดการเชิงกลยุทธ์
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
สินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่ตลาดโลกมีความต้องการมากขึ้นทุกวัน และจังหวัดอุบลราชธานีมีสินค้าหลายชนิดที่มีศักยภาพสูง เช่น ข้าวหอมมะลิ ยางพารา เป็นต้น อย่างไรก็ตามเกษตรกรยังไม่สามารถได้รับผลประโยชน์จากการขยายตัวของตลาดส่งออกสินค้าเกษตร เนื่องจากเกษตรกรขาดผู้นำกลุ่มที่มีศักยภาพในการนำกลุ่มไปสู่ตลาดโลกด้วยตนเอง ส่วนมากแล้วกลุ่มเกษตรกรมีการส่งออกผ่านพ่อค้าคนกลางและบริษัทส่งออก นอกจากนี้ เกษตรกรขาดความรู้ในการส่งออก การบริหารจัดการ ระบบข้อมูล และภาษาอังกฤษ เกษตรกรจึงไม่สามารถที่จะร่วมกันดำเนินการค้าขายเพื่อประโยชน์สูงสุดของตนเอง ตลอดจนไม่สามารถที่จะกำกับดูแลการบริหารงานของผู้นำกลุ่มเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางครั้งเกษตรกรจึงสูญเสียผลประโยชน์อันเนื่องมาจากการมีผู้นำกลุ่มเกษตรกรหรือผู้จัดการสหกรณ์ที่ไม่ซื่อสัตย์ ดังนั้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาความรู้เกษตรกรทุกด้านต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรสามารถกำกับดูแลการดำเนินงานของกลุ่มและช่่วยเหลือกันดำเนินงานการผลิตและการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้การพึ่งตนเอง นอกจากนี้ ควรได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการสร้างเครือข่ายที่จะสนับสนุนการดำเนินงานผลิตและการตลาดของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพและมีอำนาจการต่อรองกับกลุ่มพ่อค้าคนกลางหรือกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงในการประกอบอาชีพของเกษตรกรและพัฒนาการค้าสินค้าเกษตรไปสู่ระดับโลกเพื่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของเกษตรกรไทย

วัตถุประสงค์
1.1.1.ให้ความรู้เบื้องต้นด้านการส่งออก การบริหารจัดการ ระบบสารสนเทศ แนวทางการพัฒนาภาษาอังกฤษ การสร้างเครือข่าย แก่เกษตรกร 2.เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความตื่นตัวในการพัฒนาตนเอง และเรียนรู้แนวทางการพัฒนาความรู้ให้สามารถก้าวทันต่อสถานการณ์โลก อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรในการให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนการควบคุมดูแลการบริหารงานของผู้นำกลุ่ม และที่สุดแล้วส่งผลให้การดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรมีประสิทธิภาพและอำนวยประโยชน์แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรใน 4 อำเภอคือ อำเภอโขงเจียม อำเภอเขมราฐ อำเภอโพธิ์ศรีเมืองใหม่ และอำเภอบุณฑริก
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.ประชุมเตรียมงาน 2.ประชาสัมพันธ์โครงการและติดต่อประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย 3.อบรม 4.ประเมินผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1. --- --- --- 3,000.00
2. --- 97,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
10.30 - 12.00 การบริหารจัดการธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดร.ชวพจน์ ศุภสาร
1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
10:30 - 12:00 การบริหารจัดการธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดร.ชวพจน์ ศุภสาร
1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
13;00 - 14:00 น. ระบบสารสนเทศ ดร.สรินทิพย์ ทวีเดช
1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
14;00 - 15:00 น. แนวทางการพัฒนาภาษาอังกฤษ อ.วีรภัทร เกียรติดำรง
1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
15;00 - 16:00 น. การสร้างเครือข่าย ดร.สรินทิพย์ ทวีเดช

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เกษตรกรมีความรู้ด้านการส่งออก การบริหารจัดการ ระบบสารสนเทศ แนวทางการพัฒนาภาษาอังกฤษ อันจะส่งเสริมให้เกษตรกรมีความสามารถในการดำเนินการค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างความมั่นคงในอาชีพได้มากขึ้น
ด้านสังคม : เกษตรกรมีความรู้ในด้านการสร้างเครือข่าย อันจะส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรพัฒนาศักยภาพร่วมกันในด้านการผลิต และการตลาด
ด้านสิ่งแวดล้อม : เกษตรกรมีความรู้ในด้านการจัดการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
ด้านอื่นๆ : เกษตรกรมีความรู้ที่จะกำกับดูแลการทำงานของหัวหน้ากลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มสหกรณ์การเกษตร และช่วยเหลือการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
160
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
500 บาท ต่อผู้เข้าอบรม 1 คน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ธุรกิจระหว่างประเทศ
หลักสูตร การจัดการธุรกิจ
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มีการนำเนื้อหาจากการอบรมสอนในเนือหาบทการส่งออก
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นำนักศึกษาออกไปร่วมการบริการวิชาการในโครงการ จำนวน 20 คน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มอบหมายให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนร้อยละ 100 ของจำนวนนักศึกษา

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 98,760.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 12,240.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
7,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 57,720.00 บาท )
1) ค่าเบี้ยเลี้ยงจำนวน 6 คน x จำนวน 8 ชม. x จำนวน 240.00 บาท/ชม.
=
11,520.00 บาท
2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คน x จำนวน 16 ชม. x จำนวน 25.00 บาท/ชม.
=
12,000.00 บาท
3) ค่าอาหารกลางวันจำนวน 30 คน x จำนวน 8 ชม. x จำนวน 80.00 บาท/ชม.
=
19,200.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารจำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 5,000.00 บาท/ชม.
=
5,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาประเมินโครงการจำนวน 2 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 5,000.00 บาท/ชม.
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 6,240.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,820.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 1,820 บาท
=
1,820 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 4,420.00 บาท )
1) ค่าเชื้อเพลิง
1 x 4,420 บาท
=
4,420 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 105,000.00 บาท