แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการธนาคารขยะในชุมชน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายรัชวุฒิ โคตรลาคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : - ผู้ควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อมด้าน น้ำ อากาศ และกากของเสียอันตรายที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมภาคโรงงานอุตสาหกรรม
ความเชี่ยวชาญ : ผู้ควบคุมด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
หัวหน้าโครงการ
ดร.กติกา สระมณีอินทร์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Biomedical Engineering University of Strathclyde, Glasgow, UK
ประสบการณ์ : * Lecturer: Occupational Health and Safety, Faculty of Science, Ubon Ratchathani University * Special lecturer: Safety and Health at Work Promotion Association (Thailand) * Special lecturer: All is One Co.,Ltd Special Lecturer: Safety Science, Faculty of Science Technology, Bansomdejchaopraya Rajabhat University * Engineer: National Electronics and Computer Technology Centre * Safety Officer: Wongpin Co.,Ltd
ความเชี่ยวชาญ : Biomechanics, Human Factors, Gait and Motion Analysis, Health Promotion, Safety for Vulnerable Populations
ผู้ร่วมโครงการ
นางอรชพร วิลามาศ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : -ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (วิศวกร) -ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม -วิศวกรรมการประปา - การบำบัดน้ำเสีย - ระบบการจัดการพลังงาน - การจัดการของเสียอันตราย
ความเชี่ยวชาญ : -ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (วิศวกร) -ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม -วิศวกรรมการประปา - การบำบัดน้ำเสีย - ระบบการจัดการพลังงาน - การจัดการของเสียอันตราย
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวชิดหทัย เพชรช่วย คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : -สอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม/สุขาภิบาบสิ่งแวดล้อม -ทำงานวิจัยด้านการประเมินการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกพริก พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี -ที่ปรึกษาชมรมอนามัยสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ความเชี่ยวชาญ : -การจัดการสิ่งแวดล้อม -การประเมินความเสี่ยงสุขภาพ -ความปลอดภัยของอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสุพรรณิการ์ ซาเหลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม(มลพิษสิ่งแวดล้อม)
ประสบการณ์ : - นักวิชาการสิ่งแวดล้อมในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ความเชี่ยวชาญ : - การวิเคราะห์และประเมินผลกระทบด้านคุณภาพอากาศของโครงการพัฒนาต่างๆ และการวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการเปลี่ยนแปลงสารมลพิษทางอากาศ
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันขยะมูลฝอยชุมชน มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการขาดการจัดการอย่างมีระบบ ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย ปัญหาจากขยะชุมชนนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวของเมืองและประชากร ประกอบกับการขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะมูลฝอย จากผลการสำรวจปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศไทย โดยกรมควบคุมมลพิษ (2556) พบว่ามีขยะมูลฝอยมากถึง 26.77 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 2 ล้านตัน โดยขยะมูลฝอยจำนวนดังกล่าว ได้รับการให้บริการเก็บและนำไปกำจัด จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4,179 แห่ง (ร้อยละ 54) โดยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดแบบถูกต้อง จำนวน 7.2 ล้านตัน (ร้อยละ 27) กำจัดแบบไม่ถูกต้อง 6.9 ล้านตัน (ร้อยละ 26) มีปริมาณขยะมูลฝอยที่ไม่ได้รับการเก็บขนทำให้ตกค้างในพื้นที่อยู่ถึง 7.6 ล้านตัน (ร้อยละ 28) และมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกดึงนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ 5.1 ล้านตัน (ร้อยละ 19) (กรมควบคุมมลพิษ, 2557) ปัจจุบันในจังหวัดอุบลราชธานี ชุมชนระดับเทศบาล คือ เทศบาลนครอุบลราชธานีและเทศบาลเมืองวารินชำราบ ได้มีระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล สำหรับเทศบาลเมืองวารินชำราบมีการดำเนินการกำจัดได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและชุมชนในระดับองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุบลราชธานีนั้น มีองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 216 แห่ง โดยมีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นประมาณ 470 ตัน/วัน ส่วนใหญ่การกำจัดขยะมูลฝอยเหล่านี้ยังไม่มีการให้บริการเก็บขนและกำจัดเองในครัวเรือนโดยการขุดหลุมฝังหรือเผาในพื้นที่ของแต่ละครอบครัวปัญหาที่ตามมา คือ มลพิษทางอากาศ แมลงวัน น้ำชะขยะ เป็นต้น (สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12 อุบลราชธานี, 2557) ทั้งนี้ เพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน ก่อให้เกิดพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง ในการหันมาลดปริมาณขยะ แยกประเภทของขยะ นำขยะที่เกิดขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงได้จัดทำโครงการ ธนาคารขยะชุมชนขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี
2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย และเกิดจิตสำนึกที่ดีในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่ายั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชน ผู้นำชุมชน ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ประชุม อบรม ฝึกปฏิบัติ จัดตั้งธนาคารขยะในชุมชน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดตั้งคณะทำงานในการดำเนินโครงการ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ -- --- --- --- 0.00
2.ประสานงานกับหน่วย งานชุมชนที่มีส่วนเกี่ยว ข้องในโครงการ -- --- --- --- 0.00
3.วางแผนในการจัดทำและแนวทางปฏิบัติร่วมกันกับชุมชน -- --- --- --- 3,000.00
4.สำรวจสถานที่ในการดำเนินการ ธนาคารขยะ --- -- --- --- 2,000.00
5.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำโครงการให้พร้อม --- - --- --- 30,000.00
6.จัดอบรมสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย (ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน) --- --- - --- 35,000.00
7.ฝึกปฏิบัติการจัดทำธนาคารขยะในชุมชน --- --- - --- 0.00
8.เปิดโครงการ ธนาคารขยะในชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ --- --- -- --- 10,000.00
9.ติดตาม ผลการดำเนินโครงการ - จำนวนผู้เข้าร่วม โครงการ - ความพึงพอใจ - ความเข้าใจ --- --- --- -- 0.00
10.สรุปผลการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ --- --- --- - 9,400.00
11.แก้ไขปรับปรุงจากสภาพปัญหาหรือข้อบกพร่อง --- --- --- - 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ครอบครัว ชุมชน มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
ด้านสังคม : สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : ลดปัญหาการจัดการขยะในชุมชน
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
100
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การจัดการมูลฝอยและกากของเสียอันตราย
หลักสูตร สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษา ฝึกปฏิบัติ การอบรมการคัดแยกขยะ การนำขยะไปใช้ประโยชน์ การวิเคราะห์องค์ประกอบของขยะ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาสาขาสุขภิบาลสิ่งแวดล้อมทุกคน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาจัดทำรายงานสรุปโครงการอย่างน้อย 1 เล่ม

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 31,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 14,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 16,800.00 บาท )
1) ค่าทำการนอกเวลา (วันหยุด)จำนวน 4 คน x จำนวน 10 ชม. x จำนวน 420.00 บาท/ชม.
=
16,800.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 32,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 9,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 1,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 25,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 6,000.00 บาท )
1) ค่าเอกสารประกอบการอบรม วัสดุฝึกการอบรม
50 x 100 บาท
=
5,000 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสารในการทำโครงการ จัดทำรูปเล่มรายงาน
4 x 250 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าป้ายประชาสัมพันธ์
2 x 1,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่ายานพาหนะในการเดินทางไปราชการ ทำกิจกรรม
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 15,200.00 บาท )
1) วัสดุในการจัดนิทรรศการแสดงผลงาน
=
15,200.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 89,000.00 บาท