แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การศึกษาคุณภาพน้ำและสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนและชุมชนบริเวณแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : ประเมินคุณภาพน้ำและสร้างความร่วมมือ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.ประนอม แซ่จึง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากพื้นที่ในจังหวัดอุบลราชธานีมีแม่น้ำสายสำคัญคือแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบก่อนจะไหลผ่านกลางจังหวัดจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม ทำให้หลายพื้นที่ในบริเวณนี้รวมทั้งในเขตอำเภอวารินชำราบ มีสภาพเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) ซึ่งมีลักษณะบริเวณเป็นพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะที่มีนํ้าท่วมขังอาจท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว เป็นบริเวณหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นแหล่งรวมสายพันธุ์พืชและสัตว์อันมีความสำคัญทางนิเวศวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งของผู้ผลิตที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศ พื้นที่บางส่วนมีลักษณะเป็นป่าบุ่งป่าทามที่มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถนำมาบริโภค นอกจากนี้ พื้นที่บริเวณที่ชุ่มน้ำยังเป็นที่รองรับน้ำในฤดูฝนหรือมีลักษณะคล้ายแก้มลิงที่ช่วยป้องกันน้ำท่วมได้ อย่างไรก็ตาม จากการขยายตัวของเมืองและการเพิ่มจำนวนของประชากร ทำให้มีการถมที่ดินเพื่อก่อสร้างห้างสรรพสินค้า โรงงาน ร้านค้า และที่อยู่อาศัยของประชาชน พื้นที่บางส่วนมีผลทำให้ทิศทางการไหลของน้ำและสภาพแวดล้อมเดิมเปลี่ยนไป เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทำให้การไหลของน้ำช้าลง มีผลทำให้เกิดน้ำท่วมขังนานขึ้น ประชาชนบางส่วนได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมดังกล่าวยังมีผลอย่างยิ่งต่อการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณที่ชุ่มน้ำ สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจปรับตัวตัวได้ แต่บางชนิดที่ไม่สามารถปรับตัวได้ก็อาจสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานด้านกายภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพแวดล้อม เพื่อการวางแผนการจัดการพื้นที่ การใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ ก่อนที่ทรัพยากรเหล่านี้จะสูญหายและถูกทำลายหมดไป งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพตลอดระยะเวลา 1 ปี ในระบบนิเวศบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำของจังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับสร้างต้นแบบในการบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการวางแผนจัดการการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์แหล่งน้ำ เพื่อให้ทรัพยากรอันมีคุณค่าเหล่านี้ยังคงอยู่ในพื้นที่นี้ตลอดไป รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนและชุมชนในการตรวจประเมินและเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำได้

วัตถุประสงค์
1.สำรวจ วิเคราะห์ และประเมินคุณภาพแม่น้ำมูลในจังหวัดอุบลราชธานี
2.สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนและชุมชนบริเวณแม่น้ำมูลในการตรวจประเมินคุณภาพน้ำและเฝ้าระวัง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
โรงเรียนและชุมชนที่อยู่ใกล้แม่น้ำมูล ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี อย่างน้อย 3 จุด
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
150 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
วิเคราะห์คุณภาพน้ำ ทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของแม่น้ำมูลใน จ.อุบลราชธานีอย่างน้อย 3 จุด และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนในการตรวจประเมินคุณภาพน้ำและเฝ้าระวัง อย่างน้อย 3 เครือข่าย

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.สำรวจและกำหนดพื้นที่ศึกษาวิจัย -- --- --- --- 8,000.00
2.เก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์คุณภาพทั้งทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ -- - -- - 45,000.00
3.วิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ -- -- - -- 25,000.00
4.อบรมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนและชุมชนในการตรวจประเมินคุณภาพน้ำ --- --- - -- 20,000.00
5.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการ - --- --- --- 22,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ข้อมูลในการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพน้ำของแม่น้ำมูลเพื่อวางแผนจัดการน้ำและแก้ปัญหาคุณภาพน้ำในปีต่อๆไป
ด้านสังคม : โรงเรียนและชุมชนสามารถประเมินและเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำโดยตรวจวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย
ด้านสิ่งแวดล้อม : โรงเรียนและชุมชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แม่น้ำมูลที่เป็นแหล่งน้ำในบริเวณชุมชนของตนเอง
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
150
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
75
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
โรงเรียนและชุมชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำมูลที่เป็นแหล่งน้ำในบริเวณชุมชนของตนเอง

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เคมีสำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์ 2
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษารู้จักวิธีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาอย่างน้อย 30 คนเข้าร่วมโครงการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 12,900.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 5,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 5,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 7,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 7,500.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
7,500.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 65,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,500.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 7,500.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,800.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 6 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 5,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 คน x จำนวน 6 เดือน x เดือนละ 300.00 บาท
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 27,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างนักศึกษาช่วยงาน 8ชมx25บ/ชมx10วันx6คน
=
12,000.00 บาท
2) ค่าตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
=
15,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 41,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,500.00 บาท )
1) ค่าเอกสารอบรม
150 x 10 บาท
=
1,500 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,400.00 บาท )
1) น้ำมันเชื้อเพลิง
600 x 4 บาท
=
2,400 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 37,800.00 บาท )
1) วัสดุสารเคมีและอุปกรณ์
=
25,800.00 บาท
2) ชุดทดสอบน้ำอย่างง่าย 3 ชุด
=
12,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 120,000.00 บาท