แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสิ่งแวดล้อม
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ณัชพล สามารถ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ส่งเสริมการเกษตร
ประสบการณ์ : งานวิจัยแบบมีส่วนร่วม ที่ปรึกษาด้านการเกษตรผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ การมีส่วนร่วม(เกษตร)ติดตามประเมินผล
หัวหน้าโครงการ
นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐประสานศาสตร์
ประสบการณ์ : การรับรองขบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีปุ๋ยอินทรีย์
ความเชี่ยวชาญ : การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง ปกครองท้องถิ่น และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุทิศพระวรกายด้วยพระวิริยะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ เพื่อประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท้องถิ่นทุรกันดาร ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระราชกรณียกิจเหล่านี้ มิได้แต่เพียงแสดงถึงความห่วงใย และความเอาพระราชหฤทัยใส่ต่อพสกนิกรของพระองค์เท่านั้น หากแต่ยังแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาบ้านเมือง อันเป็นเสมือนดวงประทีปนำทางให้เกิดโครงการตามแนวพระราชดำริหลากหลาย ทั้งในด้านการเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว พระอัจฉริยภาพทางดนตรียังเป็นที่ประจักษ์และยกย่องของนานาประเทศทั่วโลก แต่ที่สำคัญที่สุดทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนา โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร จนได้รับพระฉายาว่าทรงเป็นเกษตราธิราช ของปวงชนชาวไทย ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน เพื่อพัฒนาโรงเรียนถุรกันดาร โดยการน้อมนำพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมาพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนและโรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีสร้างความยั่งยืนให้เกิดแก่โครงการอาหารกลางวันภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและรณรงค์ปลูกไม้ 3 อย่างเพื่อประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อเป็นแหล่งอาหารพื้นบ้านและใช้สอยในครัวเรือน
2.เพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน
3.เพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูระบบนิเวศ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครู นักเรียน ผู้ปกครองและผู้สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
160 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
คัดเลือกโรงเรียน/ชุมชนนำร่องโครงการ ปฏิบัติการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของโรงเรียนและชุมชน(PIPA) สร้างหลักสูตรฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการประเมินผลวิเคราะห์ชุมชน อาทิ ธนาคารเมล็ดพันธุ์/พันธุ์พืช ธนาคารขยะ ธนาคารปุ๋ย กิจกรรมการออมเงิน กิจกรรมปลูกป่า 3 อย่าง กิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้ำ ฯลฯ ติดตามประเมินผลแต่ละกิจกรรม แก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินกิจกรรมต่างๆ สรุปบทเรียน ชุดความรู้ของแต่ละโรงเรียน/ชุมชน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.คัดเลือกโรงเรียน/ชุมชนนำร่องโครงการ ปฏิบัติการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ(ปรับ/ทอดแทรกเนื้อหา) -- --- --- --- 20,000.00
2.สร้างหลักสูตรฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน - -- --- --- 50,000.00
3.จัดกิจกรรมอาทิ ธนาคารเมล็ดพันธุ์/พันธุ์พืช ธนาคารขยะ ธนาคารปุ๋ย กิจกรรมการออมเงิน กิจกรรมปลูกป่า 3 อย่าง กิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้ำ ฯลฯ - -- - --- 90,000.00
4.ติดตามประเมินผลแต่ละกิจกรรม แก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินกิจกรรมต่างๆ -- -- -- --- 30,000.00
5.จัดเสวนาชุมชน สรุปบทเรียน ชุดความรู้ของแต่ละโรงเรียน/ชุมชน --- -- -- --- 20,000.00
6.ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ การและรณรงค์ปลูกไม้ 3 อย่างเพื่อประโยชน์ 4 อย่าง ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน ฝึกอ -- -- --- 90,000.00
7.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- -- --- 0.00
8.ติดตามประเมินโครงการ --- -- -- --- 20,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 271 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน/พิธีการเปิดอบรม
7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
09.00-11.00 น. บรรยาย ทางวิชาการ ผศ.ณัชพล สามารถ และวิทยากรรับเชิญ
7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
11.00-12.00 น. ปฏิบัติการทางวิชาการ ผศ.ณัชพล สามารถ นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ วิทยากรรับเชิญ
7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
13.00-16.00 น. ปฏิบัติการทางวิชาการ ผศ.ณัชพล สามารถ นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ วิทยากรรับเชิญ
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
11.00-12.00 น. ปฏิบัติการทางวิชาการ ผศ.ณัชพล สามารถ นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ วิทยากรรับเชิญ
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
09.00-11.00 น. บรรยาย ทางวิชาการ ผศ.ณัชพล สามารถ และวิทยากรรับเชิญ
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
8.30-16.00 ลงทะเบียน/พิธีการเปิดอบรม
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
13.00-16.00 น. ปฏิบัติการทางวิชาการ ผศ.ณัชพล สามารถ นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ วิทยากรรับเชิญ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เกษตรกร/ชุมชน เสมือนมีธนาคารต้นไม้ประจำบ้าน สามารถลดรายจ่ายครัวเรือน
ด้านสังคม : ครู นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้และอุดมการณ์ด้านการเกษตร การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิต ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในกิจกรรมจิตอาสา
ด้านสิ่งแวดล้อม : เกษตรกร/ชุมชนมีน้ำเพื่อการบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปีและมีการจัดการน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตรที่นอกเหนือจาการอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
160
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
2000

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1200472
หลักสูตร เกษตรศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาและกิจกรรมที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด การนำนักศึกษาและจิตอาสา ออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ โครงงานกลุ่ม

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 74,490.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 68,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
10,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 57,600.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
57,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 6,090.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,250.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,250.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,840.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 8 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
3,840.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 40,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 160 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,800.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 6 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 7,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 7,000.00 บาท
=
7,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 160,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 160,000.00 บาท )
1) วัสดุไฟฟ้า
=
24,000.00 บาท
2) วัสดุเกษตร
=
90,000.00 บาท
3) วัสดุน้ำมันเชื้อเพลิง
=
10,000.00 บาท
4) วัสดุงานบ้านงานครัว
=
15,000.00 บาท
5) วัสดุโฆษณาเผยแพร่
=
10,000.00 บาท
6) ค่าถ่ายเอกสาร
=
5,000.00 บาท
7) สื่อการเรียนรู้
=
6,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 274,690.00 บาท