แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคบริโภค โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายรัชวุฒิ โคตรลาคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : - ผู้ควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อมด้าน น้ำ อากาศ และกากของเสียอันตรายที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมภาคโรงงานอุตสาหกรรม
ความเชี่ยวชาญ : ผู้ควบคุมด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
หัวหน้าโครงการ
ดร.สมจินตนา ทวีพานิชย์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วท.บ.(เคมี) มหาวิทยาลัยขอนแก่น วท.ม.(เคมีอินทรีย์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปร.ด.(เคมีอินทรีย์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสบการณ์ : ผู้ควบคุมกำกับและดูแลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และทดสอบ (Analysis and Testing Laboratory)
ความเชี่ยวชาญ : ด้านการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์มากที่สุดอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต มนุษย์ใช้ประโยชน์จากน้ำ ทั้งทางด้านอุปโภคบริโภค การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม การเกษตร ผลิตพลังงาน รวมทั้งการพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้น้ำยังเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด (สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุบลราชธานี, 2547) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นมหาวิทยาลัยที่มีโอกาสในการทำงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ซึ่งมีการบริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำซึ่งเป็นอีกหนึ่งภารกิจในการบริการวิชาการแก่ชุมชน เนื่องจากมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การส่งเสริมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การกำหนดแผนแม่บทเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยการพัฒนาเป็น cluster และ supply chain ของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง หรือการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมการปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถือว่าเป็นโอกาสของมหาวิทยาลัยเช่นกันที่จะร่วมมือกับชุมชนและภาคอุตสาหกรรมในการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการให้ความเข้าใจด้านการติดตามดูแลและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มีการนำน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดิน มาใช้ในการอุปโภคบริโภคภายในโรงเรียน อาจไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสารต่าง ๆ เช่น ความกระด้าง เหล็ก แมงกานีส เป็นต้น ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการการวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้นเพื่อการอุปโภคบริโภคบริโภคโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติภายในโรงเรียนก่อนและหลังการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
2.เพื่อฝึกปฏิบัติในการจัดทำอุปกรณ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการแก้ไขปรับปรุงคุณภาพน้ำ เพื่อให้มีความปลอดภัยหรืออยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่สามารถยอมรับได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ครู นักเรียนและบุคคลที่สนใจในชุมชนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. จัดประชุมชี้แจงการทำโครงการกับผู้เข้าร่วมโครงการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 2. สำรวจพื้นที่ในการทำโครงการ เก็บน้ำตัวอย่างที่โรงเรียนใช้ในการอุปโภคบริโภคมาทำการวิเคราะห์ ก่อนดำเนินฌครงการ 3. อบรมปฏิบัติ ในการตรวจวิเคราะห์น้ำในเบื้องต้น เช่า วัดความกระด้าง กรด-ด่าง 4. จัดทำระบบการปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้น เช่น การกรองทราย การบำบัดเหล็ก 5. ติดตามผลการดำเนินงาน ตรวจสอบคุณภาพหลังการปรับปรุง 6. สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดตั้งคณะทำงานในการดำเนินโครงการ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ -- --- --- --- 0.00
2.ประสานงานกับ โรงเรียน ตชด ที่มีส่วนเกี่ยว ข้องในโครงการ -- --- --- --- 0.00
3.ประชุมวางแผนในการจัดทำและแนวทางปฏิบัติ -- --- --- --- 5,000.00
4.เก็บตัวอย่างน้ำมาวิเคราะห์ก่อนการปรับปรุงคุณภาพ --- - --- --- 20,000.00
5.วิเคราะห์น้ำตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ --- - --- --- 0.00
6.อบรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกวิเคราะห์การตรวจคุณภาพน้ำอย่างง่าย เช่น ความเป็นกรด-ด่าง, ความกระด้าง --- -- -- --- 15,000.00
7.จัดทำระบบการปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้นให้กับโรงเรียน เช่น ระบบการกรองทราย การบำบัดเหล็ก --- --- - --- 70,000.00
8.ติดตาม ผลการดำเนินโครงการ - จำนวนผู้เข้าร่วม โครงการ - ความพึงพอใจ - เก็บตัวอย่างน้ำหลังผ่านการปรับปรุงคุณภาพมาวิเคราะห์ใน ห้องปฏิบัติการ --- --- --- - 23,600.00
9.สรุปผลการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ --- --- --- -- 0.00
10.แก้ไขปรับปรุงจากสภาพปัญหาหรือข้อบกพร่อง --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -บุคลากรในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนได้ใช้น้ำที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในการอุปโภค บริโภค
ด้านอื่นๆ : -บุคลากรในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมีสุขอนามัยที่ดี

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
100
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชาโครงงานพิเศษ
หลักสูตร สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาที่ทำวิจัยในรายวิชาโครงงานพิเศษ สามารถเก็บตัวอย่าง วิเคราะห์ตัวอย่างได้ถูกต้อง
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาที่ทำวิจัยในรายวิชาโครงงานพิเศษร่อมออกพื้นที่ทุกครั้ง
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนงานวิจัยของนักศึกษาที่ได้ อย่างน้อง 1 เรื่อง

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 24,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 16,800.00 บาท )
1) ค่าทำงานล่วงเวลา (วันหยุด)จำนวน 4 คน x จำนวน 10 ชม. x จำนวน 420.00 บาท/ชม.
=
16,800.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 32,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 9,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 1,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 64,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าเอกสารประกอบการอบรม วัสดุสำนักงานอื่น ๆ
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าป้ายประชาสัมพันธ์
2 x 1,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) อุปกรณ์บันทึกข้อมูลในการโครงการ
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันในการเดินทางไปทำโครงการใน รร. ตชด 10 ครั้ง (ไป-กลับ250 กม)
2,500 x 4 บาท
=
10,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 47,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุเพื่อการศึกษาในการทำโครงการ
=
47,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 120,600.00 บาท