แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ สวนศิลป์กินได้ปีที่ 5: Think Health Think Hort. (พืชสวนเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม)
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.นิมมานรดี พรหมทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตไม้ผล การปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช
ความเชี่ยวชาญ : สรีรวิทยาพืชสวน การปรับปรุงพันธุ์พืชและการผลิตเมล็ดพันธุ์
หัวหน้าโครงการ
รศ.ดร.กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
ประสบการณ์ : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้
ความเชี่ยวชาญ : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช กล้วยไม้ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวดอกไม้
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.บุษบา บัวคำ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (พืชไร่)
ประสบการณ์ : สรีรวิทยาของพืช
ความเชี่ยวชาญ : สรีรวิทยาของพืช
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตผัก
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผัก
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.อุบล ชินวัง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปร.ด. (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว)
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน
ความเชี่ยวชาญ : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : ด้านพืชผักเศรษฐกิจ
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผักใช้ดินและไม่ใช้ดิน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Plant Pathology
ประสบการณ์ : "-อารย์สอนวิชา โรคพืชวิทยาเบื้องต้นและวิชาการผลิตเห็ด ในคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 10 ปี"
ความเชี่ยวชาญ : - การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี - การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก"
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ภาคภูมิ สืบนุการณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พืชสวน)
ประสบการณ์ : การออกแบบภูมิทัศน์ การจัดการสนามหญ้า
ความเชี่ยวชาญ : การออกแบบภูมิทัศน์ การขุดล้อมต้นไม้และ พันธุ์ไม้ในงานภูมิทัศน์
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.วรงศ์ นัยวินิจ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีทางการเกษตร
ประสบการณ์ : การออกแบบตกแต่งสถานที่
ความเชี่ยวชาญ : งานภูมิสถาปัตยกรรม
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.บุบผา ใจเที่ยง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วท.ด. (เทคโนโลยีการผลิตพืช)
ประสบการณ์ : การปรับปรุงพันธุ์พริก
ความเชี่ยวชาญ : การปรับปรุงพันธุ์ผัก
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : กีฎวิทยา
ประสบการณ์ : การควบคุมแมลงผัก และศัตรูข้าว การควบคุมแมลงศัตรูพืชโโดยชีววิธี
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมแมลงศัตรูพืช การควบคุมแมลงศัตรูพืชโโดยชีววิธี
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ทินน์ พรหมโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตไม้ผล การปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล การใช้เครื่องหมายโมเลกุลกับการปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตและการปรับปรุงพันธุ์พืช
ผู้ร่วมโครงการ
นายสาธิต พสุวิทยกุล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : งานวิจัยไม้ผล
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตไม้ผล
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.เรวัติ ชัยราช คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Plant Biology (Ph.D.)
ประสบการณ์ : งานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
ความเชี่ยวชาญ : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจำนงค์ จันทะสี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาตร์)
ประสบการณ์ : - ผู้ช่วยนักวิจัย ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโโดยชีวินทรีย์แ่ห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง - เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานชุดโครงการ การพัฒนาไก่พื้นเมือง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ความเชี่ยวชาญ : โรคพืช วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
ผู้ร่วมโครงการ
นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : พืชศาสตร์(ไม้ผล)
ประสบการณ์ : ระบบน้ำเพื่อการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ขยายพันธุ์พืช การผลิตไม้ผล
ผู้ร่วมโครงการ
นายทวีศักดิ์ วิยะชัย คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่รุ่นที่ 5, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1/2554 ค่ายเกษตรสำหรับเยาวชนรุ่นที่ 11, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1/2554 โครงการค่ายเกษตรสำหรับเยาวชน รุ่นที่ 10, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2/2553 งานเกษตรอีสานใต้, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2/2553 การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินรุ่นที่ 3, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2/2553 เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจรุ่นที่ 12, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2/2553 การผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือน, วิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา, 1/2553 การผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือน, สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองอุบลราชธานี, 2/2552 การปลูกพืชไม่ใช้ดินรุ่นที่2, เรือนเพาะชำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2/2552 เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจรุ่นที่11, เรือนเพาะชำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2/2552 โครงการผลิตลิซิเอนทัสในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, เรือนเพาะชำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1/2552 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีแก่ยุวเกษตรกรในส่วนภูมิภาครุ่นที่ 2, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1/2552 ค่ายเกษตรสำหรับเยาวชนรุ่นที่9, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1/2552 การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่, สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการกลาง, 1/2552 การผลิตผักปลอดสารพิษและการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ, เรือนเพาะชำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1/2552 ค่ายเกษตรสำหรับเยาวชนรุ่นที่ 9, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2/2551 เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจรุ่นที่ 11, เรือนเพาะชำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2/2551 การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน, เรือนเพาะชำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2/2551 การผลิตลิซิเอนทัสในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, เรือนเพาะชำ คณะเกษตรศาสตร์, 1/2551 การอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือน, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1/2551 การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ, โรงเรียนบ้านคูเมือง, 2/2550 เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจรุ่นที่9, เรือนเพาะชำ คณะเกษตรศาสตร์, 2/2550 การอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือน, เรือนเพาะชำ คณะเกษตรศาสตร์, 2/2550 ค่ายเกษตรสำหรับเยาวชน รุ่นที่ 7, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1/2550 โครงการวิชาการสัญจร ปี 2550, โรงเรียนบ้านโนนแดง ต.โพธิ์ใหญ่ อ.วารินชำราบ, 1/2550 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมเพื่อการส่งออก, อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ, 1/2550 การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่, สำนักงานไร่ฝึกทดลอง คณะเกษตรศาสตร์, 2/2549 สบู่ดำ, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2/2549 การเพาะเห็ด, รร.บ้านคูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี, 2/2549 การเพาะเห็ด, รร.บ้านโพธิ์ ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี, 2/2549 การเพาะเห็ดฟาง, บ้านดอนงิ้ว อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี, 2/2549 การเพาะเห็ด, วัดปากแซง กิ่งอ.นาตาล จ.อุบลราชธานี, 2/2549 เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจรุ่นที่ 8, เรือนเพาะชำ คณะเกษตรศาตร์, 2/2549 สิ้นสุด
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ การผลิตเห็ด การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
พืชสวนเป็นกลุ่มพืชที่มีความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างมาก ประกอบด้วยพืชหลายกลุ่ม ได้แก่ ผักเศรษฐกิจ ผักพื้นบ้าน ผลไม้ พืชสมุนไพรและเครื่องเทศ และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น พืชสวนนอกจากจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อประเทศแล้ว ยังมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ในหลายด้าน เช่น การเป็นอาหารเนื่องจากให้คุณค่าทางอาหารหลายประการและมีสรรพคุณทางยาที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันโลกของเราประสบกับสภาวะเรือนกระจก (Green house effect) ซึ่งทำให้อากาศร้อนขึ้น ฝนไม่ตกตามฤดูกาล และยังทำให้สภาวะแวดล้อมแปรปรวน ซึ่งสภาวะเรือนกระจกมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเกษตรกรที่ต้องทำการเพาะปลูกพืช ซึ่งผลผลิตของพืชขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก จึงทำให้ในปัจจุบันมีความสนใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เช่นการลดใช้พลังงาน การทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการปลูกพืชเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยบางครอบครัวมีการปลูกพืชสวนหลายชนิดในบริเวณพื้นที่ว่างเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และใช้ในการประดับตกแต่งบริเวณบ้าน อีกทั้งยังใช้ในการบริโภคภายในครัวเรือนได้ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการพึ่งพาตนเอง โดยการบริโภคผักและผลไม้เหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เนื่องจากในพืชผักและผลไม้ มีสารพฤกษเคมี (Phytonutreint) ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่ประกอบไปด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ซึ่งสารพฤกษเคมีเหล่านี้หลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคที่สำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งบางชนิด และโรคหัวใจ เป็นต้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและแปรปรวนในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องมีการให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้คนทั่วไปให้รับรู้ถึงสถานะการณ์ของสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายในปัจจุบัน เพื่อเตรียมพร้อมและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมที่กำลังจะเกิดขึ้น และให้ตระหนักถึงความเร่งด่วนในการที่จะต้องช่วยกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ยังมีคนส่วนน้อยที่รับรู้ถึงข้อมูลดังกล่าวซึ่งสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งอาจเนื่องมาจากการขาดโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ ดังนั้น โครงการบริการวิชาการนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะเผยแพร่ข้อมูลและถ่ายทอดความรู้ทางด้านการเตรียมพร้อมและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมต่อการผลิตพืชสวนในปัจจุบัน และเพื่อเผยแพร่คุณค่าของพืชสวน วิธีการผลิต และการจัดกิจกรรมสาธิตที่เกี่ยวข้องกับพืชพันธุ์พืชสวนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในรูปแบบที่ประยุกต์ใช้ร่วมกับการประดับตกแต่งสวนที่สามารถบริโภคได้ เป็นการผสมผสานแนวคิดใหม่ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีโอกาสได้ซักถามและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักวิชาที่มีความชำนาญในสาขา จากการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2558 พบว่าโครงการนี้จะมีจุดเด่นที่เข้าถึงชุมชน โรงเรียนเป้าหมาย และเกษตรกรได้จำนวนมากในระยะเวลาสั้น ๆ ในช่วงการจัดงานนิทรรศการงานเกษตรอีสานใต้ประจำปี ซึ่งมีนักเรียน เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปเข้าเยี่ยมชม รับบริการวิชาการ และสอบถามข้อมูลด้านต่าง ๆ ของพืชสวนจากทั้งคณาจารย์ที่ประจำให้ข้อมูลและจากนักศึกษาของสาขาวิชาพืชสวนเป็นจำนวนมาก ระดับการประเมินจากผู้เข้ารับบริการวิชาการอยู่ในระดับดีถึงดีมาก จึงเป็นโอกาสดีที่จะเผยแพร่เทคโนโลยีด้านการผลิตพืชสวนที่ครอบคลุมหลายสาขาแก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปอย่างทั่วถึงในวงกว้างในระยะเวลาอันสั้นในช่วงงานเกษตรอีสานใต้ของทุกปี และจุดเด่นอีกอย่างคือ ได้มีการบูรณาการกับการเรียนการสอนของสาขาวิชาในหลาย ๆ วิชา โดยเปิดโอกาสให้คณาจารย์ได้ใช้ความเชี่ยวชาญมาใช้ในการบริการวิชาการ และนำข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนมาใช้ในการเรียนการสอนและวางแผนการบริการวิชาการในปีถัดไป อนึ่งโครงการนี้ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาสาขาวิชาพืชสวนทุกชั้นปีได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การเตรียมงานและมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูลวิชาการที่ได้ศึกษามาในระหว่างการจัดนิทรรศการ โดยมีอาจารย์ประจำวิชาต่าง ๆ มาเป็นที่ปรึกษา และในการดำเนินการในปีที่ 5 นี้ ได้เน้นคุณค่าของพืชสวนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพื่อสุขภาพ เช่น เมล็ดพันธุ์และต้นอ่อนงอกเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม พันธุ์พริกที่มี capsaicin สูงและมะเขือเทศที่มี lycopene สูง ที่พัฒนาโดยอาจารย์ในสาขาวิชาพืชสวนที่ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แมลงเศรษฐกิจ ผักปลอดภัยเพื่อสุขภาพ เห็ดเพื่อสุขภาพ ผัก ผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูป เป็นต้น โดยได้เพิ่มกิจกรรมการจัดแสดงและให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายขึ้นและเน้นไปที่สุขภาพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงเห็นว่าโครงการนี้มีคุณค่าในการดำเนินการต่อเป็นปีที่ 5

วัตถุประสงค์
1.ถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตผักและผลไม้ที่ใช้บริโภคในชีวิตประจำวันเพื่อความมั่นคงทางอาหารและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
2.เผยแพร่ข้อมูลด้านประโยชน์และคุณค่าของผลิตผลพืชสวน ทั้งในด้านการใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3.ถ่ายทอดความรู้ด้านการประยุกต์ใช้หลักการจัดสวนโดยการนำผักผลไม้ต่างๆ มาใช้ในประดับตกแต่งสถานที่ได้อย่างเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกร นักเรียนโรงเรียนพื้นที่บริการของ มอ.บ และโรงเรียนเครือข่าย 24 แห่ง และประชาชนทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
300 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ กิจกรรมและวิธีดำเนินการประกอบด้วย 10 กิจกรรม คือ ก. แผนงาน : การจัดสวนแนวตั้ง : การจัดสวนด้วยพืชที่ให้ความสวยงามและรักษาสิ่งแวดล้อม 1. การสาธิตการนำพืชสวนที่มีประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการตกแต่งสวน - เตรียมต้นกล้าพืชสวนต่างๆ และวัสดุอุปกรณ์ 2. การจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานและนิทรรศการ 3. การให้คำปรึกษาด้านการตกแต่งสวนในบ้านให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ข. แผนงาน : เมล็ดพันธุ์และต้นอ่อนงอก: การจัดแสดงเมล็ดพันธุ์ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม การผลิต และการใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารและยา 1. การเตรียมการและดำเนินกิจกรรม - รวบรวมและจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์และต้นอ่อนงอก 2. การจัดกิจกรรม/นิทรรศการเพื่อเผยแพร่ผลงาน - จัดทำโปสเตอร์เผยแพร่คุณค่าทางอาหาร/การใช้ประโยชน์ - จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์และต้นอ่อนงอกเพื่อการจัดแสดงและการแจกจ่าย ค. แผนงาน : ไม้ผลเพื่อสุขภาพ 1. การเตรียมการและดำเนินกิจกรรม – รวบรวมและจัดเตรียมไม้ผลหลากหลายสายพันธุ์ที่ดีต่อสุขภาพและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม – การวิเคราะห์หาปริมาณสารพฤษเคมีที่สำคัญในไม้ผลบางชนิด (บูรณาการกับโครงการวิจัยไม้ผลพื้นเมืองปีที่ 5) - วิเคราะห์คุณภาพผลทางกายภาพและเคมี 2. การจัดกิจกรรม/นิทรรศการเพื่อเผยแพร่ผลงาน - จัดทำโปสเตอร์เผยแพร่คุณค่าทางอาหาร/การใช้ประโยชน์ และการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม – จัดเตรียมต้นไม้ผลพื้นเมืองหลากหลายสายพันธุ์เพื่อการจัดแสดงและการแจกจ่าย ง. แผนงาน : การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน 1. การเตรียมการและการดำเนินกิจกรรม - จัดเตรียมต้นกล้าผักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพชนิดต่าง ๆ 2. การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ 3. การสาธิตการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน - วิธีการเตรียมต้นกล้า การเตรียมสารละลายสำหรับปลูก และการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะปลูก 4. การจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงาน นิทรรศการ การปลูกพืชผักที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม จ. แผนงาน : การผลิตเห็ดเพื่อสุขภาพ: เห็ดหลากหลายเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี 1. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และโรงเรือนเปิดดอกเห็ด 2. การเตรียมหัวเชื้อเห็ด/ก้อนเห็ด 3. การจัดนิทรรศการชนิดเห็ดที่มีสรรพคุณทางยา และประโยชน์ด้านอื่น ๆ 4. การสาธิตการเพาะเห็ดอย่างง่าย และการปรุงเห็ดเพื่อเป็นอาหารสุขภาพ ฉ. แผนงาน : การจัดแสดงพันธุ์พืชและแมลงเพื่อสิ่งแวดล้อม 1. การเตรียมการ การดำเนินกิจกรรม และการเพาะกล้า - สายพันธุ์พริกและมะเขือเทศที่พัฒนาพันธุ์โดยอาจารย์ในสาขาวิชา - แมลงเศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ 2. การจัดนิทรรศการแสดงสายพันธุ์พืชและแมลง - ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของพืชและแมลงชนิดต่าง ๆ ช. แผนงาน : ผัก ผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูป 1. การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ 2. ทำการทดสอบวิธีการตัดแต่ง - การรักษาคุณภาพและยืดอายุการเก็บรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น plastic film การบรรจุ และวิธีการอื่น ๆ เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม 3. ทำการจัดแสดง การสาธิตการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตผล 4. ทำการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป ซ. แผนงาน : การจัดแสดงพันธุ์กล้วยไม้และไม้ประดับ 1. การเตรียมการ เตรียมต้นพันธุ์กล้วยไม้และไม้ประดับที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2. การจัดนิทรรศการการจัดแสดงพันธุ์กล้วยไม้และไม้ประดับที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฌ. แผนงาน : การปลูกพืชอินทรีย์ 1. จัดแสดงพืชผักอินทรีย์ การปลูก การดูแลรักษา ญ. แผนงาน พืชสมุนไพร : สมุนไพรเพื่อสุขภาพ 1.ทำการจัดแสดง การสาธิตพืชสมุนไพร 2. ทำการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป ฎ. สรุปผลการดำเนินงานและจัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ก. การจัดสวนแนวตั้ง : การจัดสวนด้วยพืชที่ให้ความสวยงามและรักษาสิ่งแวดล้อม 1. การสาธิตการนำพืชสวนที่มีประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการตกแต่งสวน - --- --- 10,000.00
2.ข. แผนงาน :เมล็ดพันธุ์และต้นอ่อนงอก: การจัดแสดงเมล็ดพันธุ์ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม การผลิต และการใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารและยาของต้นอ่อนงอก - --- --- 10,000.00
3.ค. แผนงาน : ไม้ผลเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 1. การเตรียมการและดำเนินกิจกรรม – รวบรวมและจัดเตรียมไม้ผลหลากหลายสายพันธุ์ที่ดีต่อสุขภาพและช่วยรักษาสิ่งแวด - --- --- 10,000.00
4.ง. แผนงาน : การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน 1. การเตรียมการและการดำเนินกิจกรรม - จัดเตรียมต้นกล้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพชนิดต่าง ๆ - --- --- 10,000.00
5.จ. แผนงาน : การผลิตเห็ดเพื่อสุขภาพ: เห็ดหลากหลายเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี 1. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และโรงเรือนเปิดดอกเห็ด 2. การเตรียมหัวเชื้อเห็ - --- --- 10,000.00
6.ฉ. แผนงาน : การจัดแสดงพันธุ์พืชและแมลงเพื่อสุขภาพ 1. การเตรียมการ การดำเนินกิจกรรม และการเพาะกล้า - สายพันธุ์พริกและมะเขือเทศที่พัฒนาพันธุ์ - --- --- 10,000.00
7.ช. แผนงาน : ผัก ผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูป 1. การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ 2. ทำการทดสอบวิธีการตัดแต่ง - การรักษาคุณภาพและยืดอายุการเก็บรักษาด้วยวิธี - --- --- 10,000.00
8.ซ. แผนงาน : การจัดแสดงพันธุ์กล้วยไม้และไม้ประดับ 1. การเตรียมการ เตรียมต้นพันธุ์กล้วยไม้และไม้ประดับที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - --- --- 10,000.00
9.ฌ. แผนงาน : การผลิตพืชผักอินทรีย์ 1. จัดแสดงพืชผักอินทรีย์ การปลูก การดูแลรักษา - --- --- 10,000.00
10.ญ. แผนงาน พืชสมุนไพร : สมุนไพรเพื่อสุขภาพ 1.ทำการจัดแสดง การสาธิตพืชสมุนไพร 2. ทำการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป - --- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 รวมเวลา 10 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08:30 – 16:30 น. ก. แผนงาน: การจัดสวนแนวตั้ง : การจัดสวนด้วยพืชที่ให้ความสวยงามและรักษาสิ่งแวดล้อม ดร.วรงศ์ นัยวินิจ/ ดร.ภาคภูมิ สืบนุการณ์
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08:30 – 16:30 น. ข. เมล็ดพันธุ์และต้นอ่อนงอก: การจัดแสดงเมล็ดพันธุ์ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม การผลิต และการใช้ประโยชน ดร.นิมมานรดี พรหมทอง
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08:30 – 16:30 น. ค. แผนงาน : ไม้ผลเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ดร.ทินน์ พรหมโชติ/อาจารย์สาธิต พสุวิทยกุล
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08:30 – 16:30 น. ง. แผนงาน : การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา/นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08:30 – 16:30 น. จ.แผนงาน : การผลิตเห็ดเพื่อสุขภาพ: เห็ดหลากหลายเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี ผศ.ดร. ยุวดี ชูประภาวรรณ
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08:30 – 16:30 น. ฉ. แผนงาน : การจัดแสดงพันธุ์พืชและแมลงเพื่อสิ่งแวดล้อม ดร.บุบผา ใจเที่ยง/ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08:30 – 16:30 น. ช. แผนงาน : ผัก ผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูป ผศ.ดร.อุบล ชินวัง/ดร.เรวัติ ชัยราช
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08:30 – 16:30 น. ซ. แผนงาน : การจัดแสดงพันธุ์กล้วยไม้และไม้ประดับเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รศ.ดร.กาญจนา รุ่งรัชกานนท์/ นางสาวจำนงค์ จันทะสี
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08:30 – 16:30 น. ฌ. แผนงาน : การผลิตพืชผักอินทรีย์ ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์/ดร.ทวีศักดิ์ วิยะชัย
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08:30 – 16:30 น. ญ. แผนงาน พืชสมุนไพร : สมุนไพรเพื่อสุขภาพ. ดร.บุษบา บัวคำ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ร่วมโครงการได้รับความรู้ด้านคุณประโยชน์และวิธีการผลิตทางด้านพืชสวนที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพที่จะก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพเสริมแก่ผู้ร่วมโครงการ สามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน และช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น แผนงานการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (Hydroponics และ Aquaponics) การเพาะเห็ดเป็นต้น
ด้านสังคม : มีความรู้ด้านการผลิตผัก ผลไม้ กล้วยไม้ เห็ด แมลง รวมทั้งการจัดสวน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : เกิดความตระหนักในการใช้ผลผลิตทางพืชสวนเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นและน่าอยู่ พร้อมทั้งก่อให้เกิดการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นเมือง เช่น กล้วยไม้แดงอุบล เป็นต้น รวมถึงแมลงที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ไม่ให้สูญหายไปจากสภาพแวดล้อม
ด้านอื่นๆ : ผู้เข้ารับบริการมีความตระหนักเรื่องพืชสวนเพื่อสุขภาพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
300
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ส่งเสริมการตระหนักถึงการใช้ประโยชน์ของพืชสวนเพื่อสุขภาพมากขึ้น สร้างรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน ซึ่งส่งผลให้มีสุขภาพและเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งขึ้น

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1202301ฝึกงาน1
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ (พืชสวน)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน สอดแทรกเนื้อหาวิชาการในการบริการวิชาการในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด จำนวนนักศึกษาได้ร่วมดำเนินการกิจกรรมบริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ไม่มี

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 20,160.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 10,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 10,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 17 คน
=
10,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 9,960.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,400.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 7,560.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
7,560.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 9,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 70,840.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ ไวนิล
1 x 10,000 บาท
=
10,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 52,840.00 บาท )
1) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
=
10,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุเกษตร
=
42,840.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท