แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อดูแลผิวและเส้นผมจากข้าวกล้องอินทรีย์สำหรับวิสาหกิจชุมชน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.จินตนา นภาพร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Pharmaceutics
ประสบการณ์ : 1. หัวหน้าโครงการวิจัย -การศึกษาฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ flavonoids จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี วงศ์ Leguminosae (วช.2547-2548) -การพัฒนาและศึกษาผลของกระบวนการผลิตต่อความคงสภาพทางเคมีและจุลชีววิทยาของสารสกัดถั่วเหลืองบรรจุเแคปซูล (วช.2548-2549) -โครงการวิจัยและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผึ้ง (สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2554) -โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาเว็บไซต์การพิสูจน์เอกลักษณ์ยาเม็ดและยาแคปซูลในประเทศไทยระหว่าง สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยข้อมูลยาและสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2555) 2. ผลงานการจดสิทธิบัตร -ชื่อผลงาน : ฐานข้อมูลยาคู่เหมือน (LASA) สำหรับยาเม็ดและแคปซูลที่มีจำหน่ายในประเทศไทย เจ้าของผลงาน : ดร.จินตนา นภาพร และ ผศ.ธีราพร ชนะกิจ ข้อมูลลิขสิทธิ์ เลขที่ 266186 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 -ชื่อผลงาน : ฐานข้อมูลการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาเม็ดและยาแคปซูล ในประเทศไทย เจ้าของผลงาน : ดร.จินตนา นภาพร และ ผศ.ธีราพร ชนะกิจ ข้อมูลลิขสิทธิ์ เลขที่ 266187 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 -ชื่อผลงาน : คู่มือการใช้งานฐานข้อมูลยาคู่เหมือน(LASA) สำหรับยาเม็ดและแคปซูลที่มีจำหน่ายในประเทศไทย เจ้าของผลงาน : ดร.จินตนา นภาพร และ ผศ.ธีราพร ชนะกิจ ข้อมูลลิขสิทธิ์ เลขที่ 266175 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 -ชื่อผลงาน : คู่มือการใช้งานฐานข้อมูลการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาเม็ดและยาแคปซูลในประเทศไทย เจ้าของผลงาน : ดร.จินตนา นภาพร และ ผศ.ธีราพร ชนะกิจ ข้อมูลลิขสิทธิ์ เลขที่ 266176 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ความเชี่ยวชาญ : Cosmetics and drug delivery Toxicological screening for parenteral products Biological screening for antioxidative and antiproliferative activity
หัวหน้าโครงการ
รศ.ดร.ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีพันธกิจหนึ่งคือ การนำความรู้ความเชี่ยวชาญที่มีในคณะเพื่อการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้านยา สมุนไพรและเครื่องสำอาง ตลอดจนผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่นำทรัพยากรชีวภาพมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งคัดสรรแล้วว่า มีความโดดเด่นและแตกต่าง สู่การเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอนาคต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพพร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองในเชิงธุรกิจ เพื่อให้สามารถพัฒนาและเติบโตสู่การเป็นผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เข้มแข็ง มีรายได้ที่มั่นคง รวมทั้งสามารถใช้เป็นต้นแบบความสำเร็จในการขยายผลการพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวเพื่อสร้างความสำเร็จให้แก่ผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวกล้องอินทรีย์ ตำบลนาเวียง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นหนึ่งในชุมชนที่คณะเคยร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) เป็นการพัฒนาต่อยอดข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้มีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาจากข้าวหอมมะลิอินทรีย์มาแปรรูปเป็นเครื่องสำอาง อาทิเช่น ครีมบำรุงผิวข้าวกล้อง ครีมอาบน้ำข้าวกล้อง และได้มีการพัฒนาต่อยอดจนมีผลิตภัณฑ์สบู่น้ำมันจมูกข้าว อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่ได้รับรอง มผช. อีกทั้งยังขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐที่มีอยู่เดิม ทำให้การพัฒนาขาดความต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงเล็งเห็นถึงความเป็นไปได้และความสำคัญในการที่จะยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแปรรูปจากข้าวกล้องอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวกล้องอินทรีย์ ตำบลนาเวียง จังหวัดอำนาจเจริญให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เป็นการสร้างเสริมรายได้ให้กับชุมชน ทั้งยังพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนให้มีองค์ความรู้ในกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพที่จะนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากวัตถุดิบเดิมที่มีในชุมชนอีกด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษากระบวนการสกัดน้ำมันรำข้าวและสาระสำคัญ ตลอดจนประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
2.เพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อการดูแลผิวและเส้นผมจากข้าวกล้องอินทรีย์ ให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและทะเบียนสินค้า OTOP
3.เพื่อจัดระบบการบริหารจัดการกลุ่ม โดยเฉพาะความรู้เรื่องสุขลักษณะที่ดีในการผลิต (GMP) เพื่อรองรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและ OTOP

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตข้าวกล้องอินทรีย์ตำบลนาเวียง จำนวน 20 คน และครู อาจารย์ และนักเรียนอยู่ในเขตการปกครองของ อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 9 หมู่บ้าน จำนวน 10 คน โดยพื้นที่ดำเนินการหลักคือ บ้านโคกกลาง และด้วยความอนุเคราะห์ในการใช้พื้นที่ในการผลิตจาก อาจารย์รัศมี สาริพันธ์ เจ้าของผลิตภัณฑ์สาริพันธ์ฟาร์มผึ้ง ในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งได้ทำการปรับปรุงสถานที่ผลิตไว้พร้อมแล้
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมการประเมินศักยภาพวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต เพื่อตรวจสอบความพร้อมของผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ และพิจารณาความเป็นไปได้ วิธีการดำเนินงาน - ลงพื้นที่ตรวจสอบ วิเคราะห์ วินิจฉัย สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ผลิตและตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ 2.กิจกรรมการศึกษาเพื่อหากระบวนการสกัดน้ำมันรำข้าวและสารสำคัญ คือ gamma-oryzanol วิธีการดำเนินงาน - การศึกษากระบวนการสกัดน้ำมันรำข้าวและสาระสำคัญ คือ gamma-oryzanol ตลอดจนการพิสูจน์เอกลักษณ์ ประเมินและควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบที่ได้ 3.กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ/หรือบรรจุภัณฑ์ วิธีการดำเนินงาน - การออกแบบ พัฒนา ปรับปรุงสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ และ/หรือบรรจุภัณฑ์ การพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อการทดสอบและสื่อสารการตลาด 4.กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต วิธีการดำเนินงาน - การอบรมให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ (On the job training) พร้อมทั้งการเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา 5.กิจกรรมประเมินความสำเร็จของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิธีการดำเนินงาน - สำรวจ ติดตามและประเมินผล

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. กิจกรรมการประเมินศักยภาพวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต -- --- --- --- 20,000.00
2.2. กิจกรรมการศึกษาเพื่อหากระบวนการสกัดน้ำมันรำข้าวและสารสำคัญ คือ gamma-oryzanol - - --- --- 30,000.00
3.3. กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ/หรือบรรจุภัณฑ์ --- -- - 30,000.00
4.4. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต --- --- --- - 30,000.00
5.5. กิจกรรมประเมินความสำเร็จของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ --- --- --- -- 4,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
15 ตุลาคม พ.ศ. 2559
9.00 1. กิจกรรมการประเมินศักยภาพวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต เพื่อตรวจสอบความพร้อมของผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์แ ดร.จินตนา นภาพร และ รศ.ดร.ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
9.00 2. กิจกรรมการศึกษาเพื่อหากระบวนการสกัดน้ำมันรำข้าวและสารสำคัญ คือ gamma-oryzanol - พัฒนาวิธีสกัด / ดร.จินตนา นภาพร และ รศ.ดร.ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์
15 มีนาคม พ.ศ. 2560
9.00 3. กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ/หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อดำเนินการพัฒนา ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทั้งด้านสูตรตำร ดร.จินตนา นภาพร และ รศ.ดร.ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
9.00 4. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต เพื่อเสริมสร้างความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้ผลิตในด้านต่างๆ เช่ ดร.จินตนา นภาพร และ รศ.ดร.ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์
1 กันยายน พ.ศ. 2560
9.00 5. กิจกรรมประเมินความสำเร็จของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดร.จินตนา นภาพร และ รศ.ดร.ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : กิจกรรมยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่นำทรัพยากรชีวภาพมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต สู่การเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอนาคต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพพร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองในเชิงธุรกิจ เพื่อให้สามารถพัฒนาและเติบโตสู่การเป็นผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เข้มแข็ง มีรายได้ที่มั่นคง รวมทั้งสามารถใช้เป็นต้นแบบความสำเร็จในการขยายผลการพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวแก่ชุมชนอื่นได้
ด้านสังคม : การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีแนวคิด และแนวทางในการนำทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและคุ้มค่า ภายใต้แนวคิด “ไม่มีขยะ มีแต่ผลิตภัณฑ์แปรรูป” และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างงานภายในชุมชนอีกด้วย
ด้านสิ่งแวดล้อม : การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีแนวคิด และแนวทางในการนำทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและคุ้มค่า ภายใต้แนวคิด “ไม่มีขยะ มีแต่ผลิตภัณฑ์แปรรูป” และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างงานภายในชุมชนอีกด้วย
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
เกิดความคุ้มค่า คุ้มทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเสริมศักยภาพชุมชน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 30,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 30,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 50 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 54,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 2,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 1,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
1,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
2,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 48,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 12 เดือน x เดือนละ 4,000.00 บาท
=
48,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 29,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) วัสดุประชาสัมพันธ์ เช่น เอกสารแนะนำ แผ่นพับ ไวนิล ป้ายต่างๆ
10 x 500 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 24,800.00 บาท )
1) บรรจุภัณฑ์
=
5,000.00 บาท
2) วัสดุวิทยาศาสตร์และสารเคมี
=
19,800.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 114,000.00 บาท