แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการการเลี้ยงแพะ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.สราญ ปริสุทธิกุล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เกษตรเขตร้อน
ประสบการณ์ : การจัดการพืชอาหารสัตว์และการผลิตแพะแกะ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการพืชอาหารสัตว์ การผลิตแพะแกะ
หัวหน้าโครงการ
นายวันชัย อินทิแสง คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : สัตวศาสตร์
ประสบการณ์ : 17
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตดคนม
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
แพะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงง่าย หากินเก่ง กินอาหารได้หลายประเภท ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ทุรกันดารได้ดี มีวงชีวิตสั้น ให้ลูกเร็วเนื่องจากตั้งท้องเพียง 5 เดือน มีเปอร์เซ็นต์การเกิดลูกแฝดสูง ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนสัตว์ได้รวดเร็วกว่าโค-กระบือ และใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย ลักษณะเช่นนี้ทำให้แพะได้เปรียบสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดอื่น จึงทำให้เกษตรกรในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ความสนใจเลี้ยงแพะมากขึ้น ถึงแม้เกษตรกรจะให้ความสนใจในการเลี้ยงแพะเนื้อมากขึ้น แต่ความรู้และทักษะการเลี้ยงแพะของเกษตรกรในแถบนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ในขณะที่ปัจจุบันราคาแพะเนื้อมีชีวิตในเขตภาคกลางราคาประมาณ 100-115 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างดีและเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะสามารถมีกำไรได้ อย่างไรก็ตามผลตอบแทนของการเลี้ยงแพะของแต่ละฟาร์มอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเทคนิคการบริหารจัดการฟาร์ม เช่น การจัดการเกี่ยวกับต้นทุนค่าอาหาร ประสิทธิภาพการให้ผลิตและราคาที่จำหน่ายได้ ปัจจุบันเกษตรกรที่เลี้ยงแพะในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียงยังมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการของตลาด หากเกษตรกรในแถบนี้มีการเลี้ยงแพะมากขึ้น น่าจะเกิดผลดีในแง่ด้านการตลาด ดังนั้นการอบรมเกษตรกรและผู้สนใจเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานการเลี้ยงแพะในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงแพะมากขึ้น ช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตแพะ อันจะนำไปสู่การส่งเสริมและพัฒนาให้การเลี้ยงแพะเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารต่อประชากรในแถบนี้ต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1.เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจเลี้ยงแพะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการฟาร์มแพะ 2.ผู้เข้าอบรมรู้วิธีการปรุงอาหารจากเนื้อแพะ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่สนใจการเลี้ยงแพะในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ช่วงเช้า บรรยาย -สถานการณ์ผลิตแพะเนื้อของประเทศไทยและแถบอาเซียน -แบบจำลองและการประเมินประสิทธิภาพการผลิตแพะเนื้อ -เทคนิคการลดต้นทุนการผลิตแพะเนื้อ -เทคนิคการจัดการฟาร์มแพะเพื่อขอรับรองฟาร์มปลอดโรคแท้งติดต่อ -ฝึกปฏิบัติการปรุงอาหารจากเนื้อแพะ ช่วงบ่าย ปฏิบัติการเทคนิคการจัดการฟาร์มแพะเนื้อ -การจัดการด้านโรงเรือน -การจัดการด้านอาหาร ได้แก่อาหารข้น อาหารหยาบ พืชอาหารสัตว์ -การจัดการสุขภาพแพะ ได้แก่การสังเกตสุขภาพแพะ โรคทั่วไปและการรักษาโรคเบื้องต้น การให้วัคซีน การถ่ายพยาธิ การดูแลแม่แพะคลอดลูก การดูแลลูกแพะก่อนหย่านม และหลังหย่านม การตัดแต่งกีบ -เทคนิคการจำหน่ายและการขนย้ายแพะ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.สำรวจเกษตกรผู้สนใจ -- --- --- --- 1,000.00
2.ติดต่อประสานฟาร์มเครือข่ายที่ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งฝึกอบรม -- --- --- --- 1,000.00
3.จัดเตรียมแบบจำลองและเอกสารประกอบการฝึกอบรม --- -- --- --- 1,000.00
4.ติดต่อประสานงานวิทยากรด้านการตลาดหรือโรงเชือด --- -- --- --- 1,000.00
5.ประสานงานสำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการกลาง คณะเกษตรศาสตร์ เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ในการฝึกอบรม --- -- --- --- 10,000.00
6.ประกาศรับสมัครผู้เข้ารับการอบรม --- -- --- --- 1,000.00
7.จัดอบรม --- -- --- --- 50,000.00
8.ติดตามหรือออกเยี่ยมชมเกษตรกรที่มีศักยภาพหลังจากอบรม --- -- --- --- 3,000.00
9.ประเมินและรายงานผลการฝึกอบรม --- -- --- --- 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
8.30 ลงทะเบียน นางสาวอุไร ศรีสำอางค์
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
9.00-10.30 สถานการณ์ผลิตแพะเนื้อของประเทศไทยและแถบอาเซียน แบบจำลองและการประเมินประสิทธิภาพการผลิตแพะเนื้อ ดร.สราญ ปริสุทธิกุล
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
10.30-12.00 เทคนิคการลดต้นทุนการผลิตแพะเนื้อ เทคนิคการจัดการฟาร์มแพะเพื่อขอรับรองฟาร์มปลอดโรคแท้งติดต่อ การปรุง ดร.สราญ ปริสุทธิกุล
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
13.00-14.30 ปฏิบัติการเทคนิคการจัดการฟาร์มแพะเนื้อ -การจัดการด้านโรงเรือน -การจัดการด้านอาหาร ได้แก่อาหารข้น ดร.สราญ ปริสุทธิกุล ดร.เรืองยศ พิลาจันทร์
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
14.30-16.30 -การจัดการสุขภาพแพะ ได้แก่การสังเกตสุขภาพแพะ โรคทั่วไปและการรักษาโรคเบื้องต้น การให้วัคซีน การถ่ายพย ดร.สราญ ปริสุทธิกุลและนายวันชัย อินธิแสง

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงแพะ
ด้านสังคม : มหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนในท้องถิ่น มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับจากประชนชน ในฐานะผู้ให้บริการองค์ความรู้ด้านการเกษตร
ด้านสิ่งแวดล้อม : เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อมีมูลแพะสำหรับเป็นปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านอื่นๆ : ได้ข้อมูลบางส่วนที่จะใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อในแถบอีสานใต้

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
เมื่อผ่านการอบรมและเลี้ยงแพะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงแพะ 10000 บาทต่อปี

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การผลิตแพะและแกะ
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 4 จำนวน 40 คน
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การจัดการอาหารแพะและแกะ การจัดการสุขภาพแพะ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาเข้าร่วมเป็นวิทยากรผู้ช่วย
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การจัดการพืชอาหารสัตว์ในระบบการเลี้ยงแบบแพะแบบขังคอก

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 7,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 4,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
3,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 26,360.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 6,660.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 3 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,500.00 บาท
=
4,500.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 2,160.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
2,160.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 8,000.00 บาท )
- จำนวน 4 คัน x จำนวน 1 วัน x ราคา 2,000 บาท/คัน/วัน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 2,900.00 บาท )
1) จ้างเหมาชำแหละแพะ
=
2,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาตัดหญ้าอาหารแพะ
=
300.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์การฝึกอบรม
=
600.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 37,440.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,230.00 บาท )
1) ปากกา
100 x 5 บาท
=
500 บาท
2) แฟ้ม
40 x 15 บาท
=
600 บาท
3) กระดาษ
3 x 110 บาท
=
330 บาท
4) สมุด
40 x 20 บาท
=
800 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์
3 x 1,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 500.00 บาท )
1) หมึก printer
2 x 250 บาท
=
500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 3,000.00 บาท )
1) น้ำมันรถ
120 x 25 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 28,710.00 บาท )
1) อาหารข้น 2 กระสอบ
=
700.00 บาท
2) ขาตั้ง x-stand พร้อมไวนิล 5 อัน
=
5,000.00 บาท
3) อุปกรณ์ตัดแต่งกีบ
=
1,000.00 บาท
4) อุปกรณ์และเครื่องปรุงอาหาร
=
2,500.00 บาท
5) ยาและอุปกรณ์ฉีดยา
=
2,000.00 บาท
6) นมเทียม 3 ถุง
=
300.00 บาท
7) ก้อนแร่ธาตุ 2 กล่อง
=
400.00 บาท
8) เอกสารฝึกอบรม
=
3,000.00 บาท
9) แพะสำหรับใช้สอนวิธีชำแหละ 3 ตัว
=
9,000.00 บาท
10) ปุ๋ยเคมี 2 กระสอบ
=
1,500.00 บาท
11) วัสดุใช้สำหรับการสาธิตการทำกากมันหมักยีสต์
=
1,500.00 บาท
12) อุปกรณ์ฝึกป้อมนมแพะ
=
1,000.00 บาท
13) พันธุ์หญ้า 1 กิโลกรัม
=
250.00 บาท
14) ยาฆ่าเชื้อ
=
560.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 71,000.00 บาท