แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมสมุนไพรและแพทย์แผนไทยอีสานใต้ ปี 2560
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านการบริการสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายอนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
ประสบการณ์ : ทำงานวิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการแพทย์แผนไทย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงคุณภาพ การประเมินโครงการ การวิจัยด้านการแพทยื์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทย
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ด้วยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีความร่วมมือกันด้านการดำเนินงานสุมนไพร และการแพทย์แผนไทย ในหลายกิจกรรม เช่น การเป็นศูนย์รวบรวมวัตถุดิบสุมนไพร การจัดประชุมวิชาการร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนักวิชาการ และการเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ เพื่อให้ความร่วมมือกันทางวิชาการและการสนับสนุนการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีเป้าหมายที่กว้างขึ้น จึงมีความเห้นร่วมกันในการจัดกิจกรรมประชุมวิชาการและมหกรรมสมุนไพรแห่งภาคอีสานใต้ หรือเขตสาธารณสุขที่ 10 ประกอบด้วย จังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร โดย ดำเนินการย่อส่วนจากงานมหกรรมสุมนไพรแห่งชาติ ประกอบด้วยการประชุมแลกเปลี่ยน ประเด็นความรู้ และ ประสบการณ์การทำงานของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ และการเป็นเวทีสัมนาแลกเปลี่ยนปัญหาจากผู้ประกอบการด้านสุมนไพรและการแพทย์แผนไทยภาคเอกชน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการในรูปการประชุม การแสดงนิทรรศการ และสินค้าสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพของหน่วยงานในเขตสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญและมุกดาหาร
2.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ด้านสมุนไพร การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านให้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป บุคลากรสาธารณสุข
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
250 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
จัดประชุมคณะดำเนินงาน วางแผนดำเนินงาน กำหนดขอบเขตงาน กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดวิทยากร การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดต่อหน่วยงาน คือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี เตรียมการ ประชาสัมพันธ์ เอกสาร อาหาร สถานที่ เตรียมเอกสาร วิทยากร สื่อการเรียน รูปแบบการเรียน ดำเนินการจัดงานมหกรรม ดำเนินการจัดงานประชุมทางวิชาการและแสดงผลงาน นิทรรศการ สรุป ประเมินผล และส่งรายงานการศึกษา การเตรียมแบบประเมิน สำรวจผล ประมวลข้อมูล การประชุมสรุปงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วางแผนดำเนินงาน กำหนดขอบเขตงาน กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดวิทยากร - --- --- --- 5,000.00
2.ติดต่อหน่วยงาน คือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี --- --- --- 5,000.00
3.เตรียมเอกสาร วิทยากร สื่อการเรียน รูปแบบการเรียน -- - --- --- 30,000.00
4.ดำเนินการจัดงานประชุมทางวิชาการและแสดงผลงาน นิทรรศการ --- -- --- --- 110,000.00
5.การเตรียมแบบประเมิน สำรวจผล ประมวลข้อมูล การประชุมสรุปงาน --- --- - --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 243 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
16 มีนาคม พ.ศ. 2560
9.00-12.00 นตกรรมการพัฒนาด้านการแพทย์แผนไทย อ.ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากุล และคณะ
17 มีนาคม พ.ศ. 2560
13.00-16.00 แนวทางการนำเสนอผลงานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย ผศ.ดร.สุวรรณา ภัทรเบญจพล
17 มีนาคม พ.ศ. 2560
9.00-12.00 ฐานข้อมูลและการสืบค้นด้านสมุนไพร ผศ.ดร.สุดารัตน์ หอมหวล
17 มีนาคม พ.ศ. 2560
13.00-16.00 การวิจัยและพัฒนายาสมุนไพร ผศ.ดร.ปรีชา บุญจูง

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : นักเรียน นักศึกษา ประชาชน มีความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและรู้จักบริการด้านการแพทย์แผนไทยมากขึ้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยมีเวทีนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนและมีความรู้ทางวิชาการในการดำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการแพทย์แผนไทยระหว่งหน่วยงานต่างๆ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญและมุกดาหาร
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
250
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
600 บาท ต่อคน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เวชศาสตร์ชุมชน
หลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 5
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำเนื้อหาการบริการวิชาการ มาเป็นกรณีศึกษา ในชั้้นเรียน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 63,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 34,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 90 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
18,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 40 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
16,800.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 73,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 25,800.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
12,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 คืน x จำนวน 3 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
9,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 12,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 7,600.00 บาท )
1) ปากกา
260 x 10 บาท
=
2,600 บาท
2) สมุดบันทึก
250 x 20 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ไวนิล
10 x 500 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท