แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การออกแบบสร้างชุดทดลองทางฟิสิกส์อย่างง่าย ราคาถูกและทักษะการใช้ เรื่องความเสียดทานและการแทรกสอดของแสง โดยการประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในห้องเรียน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสายชล พิมพ์มงคล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีทางการศึกษา
ประสบการณ์ : -วิทยากรอบรมโครงงานวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมครูสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบมืออาชีพ -วิทยากรอบรมฟิสิกส์โอลิมปิก -วิทยากรอบรมคูปองครู -วิทยากรอบรมสเต็มศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : -ซ่อมและพัฒนาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ -ออกแบบปรับปรุงและสร้างสื่อการเรียนการสอนทางฟิสิกส์
หัวหน้าโครงการ
นายเชิดชัย วุฒิยา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ฟิสิกส์
ประสบการณ์ : -วิทยากรอบรมโครงงานวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมดาราศาสตร์โอลิมปิก
ความเชี่ยวชาญ : -ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ -ออกแบบปรับปรุงและสร้างสื่อการเรียนการสอนทางฟิสิกส์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในบางพื้นที่ ยังขาดแคลนอุปกรณ์ หรือสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาฟิสิกส์ ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าใจบทเรียนได้ดีเท่าที่ควร เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน ครูผู้สอนจำเป็นจะต้องผลิตสื่อการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาความคิด พัฒนาศักยภาพผู้เรียน ดึงดูดความสนใจและให้ความสนุกสนานแก่ผู้เรียนได้ ซึ่งในบางพื้นที่พบกับปัญหาในการจัดการเรียนการสอน อาทิเช่น ขาดแคลนสื่อหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนทางรายวิชาฟิสิกส์ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน หรือมีงบประมาณจำกัดในการจัดซื้อชุดอุปกรณ์ปฏิบัติการพื้นฐานต่างๆ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีภารกิจด้านบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคม โดยมุ่งเน้นพัฒนาครูและบุคลากรในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ดังนั้นคณะผู้รับผิดชอบโครงการได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้เสนอโครงการ การออกแบบสร้างชุดทดลองทางฟิสิกส์อย่างง่าย ราคาถูกและทักษะการใช้ เรื่องความเสียดทานและการแทรกสอดของแสง โดยการประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในห้องเรียนขึ้น เพื่อใช้ในการทดลองสำหรับการเรียนการสอน และเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการผลิตและใช้สื่อการเรียนรู้ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ครูผู้สอนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์จากการได้สร้างสื่อการเรียนการสอนอันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของเยาวชนให้พร้อมทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมอาเซียนและสังคมโลกในลำดับต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้ทางฟิสิกส์เรื่องความเสียดทานและการแทรกสอดของแสงได้ เพื่อให้ครูสามารถใช้สื่อการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนจริงได้ เพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาทักษะของนักศึกษาด้านการประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้ทางฟิสิกส์

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง โดยเน้นให้ความสำคัญกับโรงเรียนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก่อน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. เสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ/รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ 3. ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร/ซื้อวัสดุฝึกทดลอง 4. จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ 5. ประเมินผลโครงการฯ 6. สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ - --- --- --- 65,420.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ/รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ --- --- --- 0.00
3.ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร/จัดซื้อวัสดุและจ้างสร้างชุดฝึกทดลอง --- --- --- 0.00
4.จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ/ประเมินผลโครงการฯหลังการอบรม --- -- -- --- 0.00
5.สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ --- --- - --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
08.00-09.00 น. ลงทะเบียน นายสายชล พิมพ์มงคล และนายเชิดชัย วุฒิยา
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
14.45–16.30 น. ทักษะการใช้ชุดทดลองเรื่อง การแทรกสอดของแสง (ต่อ) นายสายชล พิมพ์มงคล และนายเชิดชัย วุฒิยา
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
14.30–14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
13.00–14.30 น. ทักษะการใช้ชุดทดลองเรื่อง การแทรกสอดของแสง นายสายชล พิมพ์มงคล และนายเชิดชัย วุฒิยา
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
12.00–13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
10.45–12.00 น. การออกแบบและสร้างชุดการทดลองเรื่อง การแทรกสอดของแสง (ต่อ) นายสายชล พิมพ์มงคล และนายเชิดชัย วุฒิยา
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
10.30–10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
09.00–10.30 น. การออกแบบและสร้างชุดการทดลองเรื่อง การแทรกสอดของแสง นายสายชล พิมพ์มงคล และนายเชิดชัย วุฒิยา
26 มีนาคม พ.ศ. 2560
14.30–14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
26 มีนาคม พ.ศ. 2560
13.00–14.30 น. ทักษะการใช้ชุดทดลองเรื่อง ความเสียดทาน นายสายชล พิมพ์มงคล และนายเชิดชัย วุฒิยา
26 มีนาคม พ.ศ. 2560
12.00–13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
26 มีนาคม พ.ศ. 2560
10.45–12.00 น. การออกแบบและสร้างชุดการทดลองเรื่อง ความเสียดทาน (ต่อ) นายสายชล พิมพ์มงคล และนายเชิดชัย วุฒิยา
26 มีนาคม พ.ศ. 2560
10.30–10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
26 มีนาคม พ.ศ. 2560
09.00-10.30 น. การออกแบบและสร้างชุดการทดลองเรื่อง ความเสียดทาน นายสายชล พิมพ์มงคล และนายเชิดชัย วุฒิยา
26 มีนาคม พ.ศ. 2560
14.45–16.30 น. ทักษะการใช้ชุดทดลองเรื่อง ความเสียดทาน (ต่อ) นายสายชล พิมพ์มงคล และนายเชิดชัย วุฒิยา

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. ช่วยลดงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง
ด้านสังคม : 1. เป็นเผยแพร่กิจกรรมบริการวิชาการด้านการสร้างสื่อการเรียนการสอนทางฟิสิกส์และประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษา 2. นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีแรงจูงใจในการเรียนวิชาฟิสิกส์มากขึ้น 3. ครูมีความรู้ด้านการสร้างสื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : 1. เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ครูได้สื่อการเรียนรู้ไปใช้จริงในชั้นเรียน และสื่อการเรียนรู้นั้นราคาถูกกว่าที่มีขายตามท้องตลาด

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ปฏิบัติการโรงงาน
หลักสูตร ฟิสิกส์
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 10 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในโครงการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ร้อยละ 80 นักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชาสอน

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 14,900.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 14,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 500.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
500.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 19,920.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 1,920.00 บาท )
1) จำนวน 4 คน x จำนวน 2 เดือน x เดือนละ 240.00 บาท
=
1,920.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 30,580.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,180.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 1,180 บาท
=
1,180 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 26,400.00 บาท )
1) วัสดุฝึก
=
26,400.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 65,400.00 บาท