แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชนอย่างยั่งยืน ต่อเนื่องระยะที่ 3
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวอรุณี มะฎารัก คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : ฐานข้อมูล การจัดการข้อมูล
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มีการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนมาโดยตลอด เนื่องจากคณะมีหลักสูตรด้านบริหารธุรกิจครบวงจร สามารถนำไปบูรณการและพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานด้านธุรกิจของชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน พระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าการช่วยเหลือนั้นสามารถกระทำได้โดยการให้ความรู้ การฝึกอบรม หรือความช่วยเหลือในการปรับปรุงหรือพัฒนาการผลิต การให้บริการ การบริหารจัดการ การหาทุน การตลาด และอื่นๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเครือข่าย ให้คำแนะนำหรือดำเนินการใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนมากที่สุด ทางคณะบริหารศาสตร์จึงได้สำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตลอดจนวิเคราะห์แนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์และสอดคล้องกับศักยภาพการดำเนินงานด้านธุรกิจของชุมชนมากที่สุด การสำรวจความต้องการทางคณะได้เลือกพื้นที่ของชุมชนใกล้เคียงกับพื้นที่กับมหาวิทยาลัยมากที่สุดเพื่อความสะดวกในการติดต่อประสานงานและความร่วมมือกันระหว่างทั้งมหาวิทยาลัย คณะและชุมชน โดยได้เลือกชาวบ้านและกลุ่มอาชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีสินค้า และการดำเนินธุรกิจระดับชุมชนที่เป็นรูปธรรม สามารถส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งและความยั่งยืนต่อไปได้ ผลการสำรวจข้อมูลของชุมชนตำบลบ้านธาตุมีความต้องการอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาบริหารงานธุรกิจระดับชุมชน รวมถึงแนวทางกาตลาดเพื่อการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับสามารถขายในตลาดที่กว้างขึ้น สินค้าส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นสินค้าที่ใกล้เคียงกับชุมชนอื่น ๆ ได้แก่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น เห็ดฟาง เครื่องจักสาน เช่น กระติบข้าว ตะกร้า หวด สื่อ ด้านผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคได้แก่ การทำดอกไม้จันทน์ ขนม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความแต่งต่างด้านสินค้าให้กับชุมชนรวมทั้งการประชาสัมพันธ์และการอบรมเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถทั้งในแง่การบริหารจัดการกระบวนการภายใน และการขับเคลื่อนสินค้าต่อภายนอกให้เป็นที่ยอมรับสามารถเป็นตราสินค้าที่โดดเด่นของชุมชน ในการดำเนินโครงการระยะที่ 1-2 ได้ทำการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้ตอบสนองการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการข้อมูลของกลุ่ม รวมทั้งเงินออม เงินกู้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการอบรมเพื่อนำระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นไปใข้งานอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งอบรมด้านคอมพิวเตอร์เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้งานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำเทคโนโลยีไปบูรณาการในการทำงานของกลุ่มได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาทักษะการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน
2.เพื่อนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลของกลุ่มออมทรัพย์ให้เป็นรูปธรรม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ชาวบ้าน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. การวางแผน - ประชุมกับชาวบ้านเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการนำระบบสารสนเทศไปใช้งาน - วางแผนขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน 2. ดำเนินงาน - แต่งตั้งกรรมการดำเนินโครงการ - จัดทำหนังสือทางราชการเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการ - ประสานงานกับผู้เข้าร่วมโครงการ และประชาสัมพันธ์โครงการ - อบรมเชิงปฏิบัติการด้านการใช้งานระบบ และการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มทักษะให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 3. ประเมินโครงการ - จัดทำแบบประเมิน และนำไปให้ผู้เข้าร่วมโครงการประเมินความพึงพอใจ - ประมวลผลแบบประเมินความพึงพอใจ 4. จัดทำรายงานและสรุปผล - รายงานผลการดำเนินโครงการ - รายงานผลทางด้านการเงินและเคลียร์เอกสารเบิกจ่าย

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.แต่งตั้งกรรมการดำเนินโครงการ --- --- --- 5,000.00
2.วางแผนการดำเนินโครงการ --- --- --- 5,000.00
3.ประชาสัมพันธ์โครงการไปยังกลุ่มเป้าหมาย --- --- --- 5,000.00
4.ประชุมเพื่อประเมินการทำงานของระบบและทำการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการบริหารงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน --- --- --- 20,000.00
5.อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานระบบสารสนเทศและการใช้งานคอมพิวเตอร์ --- --- --- 50,000.00
6.ประเมินโครงการและจัดทำราย รวมทั้งเคลียร์เอกสารเบิกจ่าย --- --- --- 15,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
8.00-9.00 ลงทะเบียน
29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
9.00-12.00 อบรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ (รับประทานอาหารว่างในห้องอบรม) อรุณี มะฎารัก
29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
13.00-16.00 อบรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ (ต่อ) (พักรับประทานอาหารว่างในห้องอบรม) อรุณี มะฎารัก
30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
8.00-9.00 ลงทะเบียน
30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
9.00-12.00 อบรมการใช้งานระบบสารสนเทศ (พักรับประทานอาหารว่างในห้องอบรม) ธราธิป ศรีโสภา
30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
13.00-16.00 อบรมการใช้งานระบบสารสนเทศ ต่อ (พักรับประทานอาหารว่างในห้องอบรม) ธราธิป ศรีโสภา

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : สามารถบันทึก สืบค้น และประมวณผลสารสนเทศได้ทันท่วงที ทำให้การบริการได้รวดเร็ว การตรวจสอบข้อมูลทำได้ง่าย
ด้านสังคม : เกิดความร่วมมือกันในกลุ่มเพื่อให้วิสาหกิจชุมชนมีการพัฒนาให้ทันเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ด้านสิ่งแวดล้อม : ลดปริมาณการใช้งานของกระดาษ
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมายมีระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวิสาหกิจแทนการบันทึกลงในกระดาษทำให้เกิดความคุ้มค่าด้านวัสดุเอกสาร

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1706230 การวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลเชิงธุรกิจ
หลักสูตร ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การตอบโจทย์กรณีศึกษา ออกแบบฐานข้อมูลตามที่กำหนดได้
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 19,520.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 10,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,720.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 6,720.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
6,720.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 53,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 120.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 40,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่
=
2,500.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดกิจกรรมกลุ่มย่อย
=
7,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำไวนิล
=
2,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาบุคคลช่วยงานฝึกอบรม 4 คน* 2 วัน * 1000 บาท
=
8,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาพิมพ์งานและจัดรูปเล่ม
=
6,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูล 2 คน * 3000 บาท
=
6,000.00 บาท
7) ค่าจ้างเหมาออกแบบ GUI และการจัดเก็บข้อมูลวิสาหกิจชุมชน
=
8,000.00 บาท
8) ค่ารับรองวิทยากรภายนอก
=
500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 13,270.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,770.00 บาท )
1) A4
5 x 100 บาท
=
500 บาท
2) สมุดโน้ต
36 x 20 บาท
=
720 บาท
3) ปากกา
1 x 250 บาท
=
250 บาท
4) ซองใส่เอกสาร
30 x 10 บาท
=
300 บาท
5) ค่าถ่ายเอกสาร
4,000 x 1 บาท
=
4,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 5,500.00 บาท )
1) หมึกพิมพ์ขาวดำ
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท
2) หมึกพิมพ์สี
1 x 2,500 บาท
=
2,500 บาท
3) DVD-R
2 x 500 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) วัสดุไฟฟ้า
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 85,990.00 บาท