แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการ ประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการเรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามครั้งที่ 1: การพัฒนาเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อชะลอวัย
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : การประชุมเชิงปฏฺิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
รศ.ดร.วันดี รังสีวิจิตรประภา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีเภสัชกรรม
ประสบการณ์ : 1. ดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ศาสตร์แห่งเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2. หัวหน้าโครงการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการเรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามครั้งที่ 1 ปี 2560
ความเชี่ยวชาญ : วิจัยและพัฒนาเวชสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ งานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินประมาณ 20 โครงการ และได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากสกว.และแหล่งทุนภายนอกอื่นประมาณ 10 โครงการ
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.วริษฎา ศิลาอ่อน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สุรีวัลย์ ดวงจิตต์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.จินตนา นภาพร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Pharmaceutics
ประสบการณ์ : 1. หัวหน้าโครงการวิจัย -การศึกษาฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ flavonoids จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี วงศ์ Leguminosae (วช.2547-2548) -การพัฒนาและศึกษาผลของกระบวนการผลิตต่อความคงสภาพทางเคมีและจุลชีววิทยาของสารสกัดถั่วเหลืองบรรจุเแคปซูล (วช.2548-2549) -โครงการวิจัยและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผึ้ง (สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2554) -โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาเว็บไซต์การพิสูจน์เอกลักษณ์ยาเม็ดและยาแคปซูลในประเทศไทยระหว่าง สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยข้อมูลยาและสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2555) 2. ผลงานการจดสิทธิบัตร -ชื่อผลงาน : ฐานข้อมูลยาคู่เหมือน (LASA) สำหรับยาเม็ดและแคปซูลที่มีจำหน่ายในประเทศไทย เจ้าของผลงาน : ดร.จินตนา นภาพร และ ผศ.ธีราพร ชนะกิจ ข้อมูลลิขสิทธิ์ เลขที่ 266186 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 -ชื่อผลงาน : ฐานข้อมูลการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาเม็ดและยาแคปซูล ในประเทศไทย เจ้าของผลงาน : ดร.จินตนา นภาพร และ ผศ.ธีราพร ชนะกิจ ข้อมูลลิขสิทธิ์ เลขที่ 266187 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 -ชื่อผลงาน : คู่มือการใช้งานฐานข้อมูลยาคู่เหมือน(LASA) สำหรับยาเม็ดและแคปซูลที่มีจำหน่ายในประเทศไทย เจ้าของผลงาน : ดร.จินตนา นภาพร และ ผศ.ธีราพร ชนะกิจ ข้อมูลลิขสิทธิ์ เลขที่ 266175 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 -ชื่อผลงาน : คู่มือการใช้งานฐานข้อมูลการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาเม็ดและยาแคปซูลในประเทศไทย เจ้าของผลงาน : ดร.จินตนา นภาพร และ ผศ.ธีราพร ชนะกิจ ข้อมูลลิขสิทธิ์ เลขที่ 266176 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ความเชี่ยวชาญ : Cosmetics and drug delivery Toxicological screening for parenteral products Biological screening for antioxidative and antiproliferative activity
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
ธุรกิจผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและความงาม เป็นธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตและ ขยายอย่างต่อเนื่องทุกปี การบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคนในยุคปัจจุบัน ต่างให้ความสนใจใส่ใจเกี่ยวกับสุขภาพ ความงาม และผิวพรรณ รวมทั้งการดูแลตัวเองมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้ธุรกิจด้านความงาม คลินิกดูแลรักษาผิวพรรณ เครื่องสำอาง จึงเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับกับความต้องการที่สูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้ทำการจัดอันดับ 10 ธุรกิจที่โดดเด่น โดยประเมินจาก ปี 2554-2557 พบว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม อาทิ อาหารเสริม เครื่องสำอาง เป็นธุรกิจอันดับ 1 ติดต่อกัน ตลาดเครื่องสำอางในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมามีการเติบโตแบบก้าวกระโดดเฉลี่ย 18% ต่อปี โดยมีมูลค่าตลาดรวม 2.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 60% มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท และตลาดส่งออก 40% มูลค่า 9 หมื่นล้านบาท จากข้อมูลสำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอางจำนวนมากกว่า 8,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่ยังขาดความรู้ในเรื่องของกฎระเบียบและเทคโนโลยีใหม่ในการผลิต ขณะที่ภายหลังจากการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 คาดว่าธุรกิจเครื่องสำอางจะแข่งขันกันรุนแรง โดยเป็นที่คาดหมายว่าในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะส่งผลให้เครื่องสำอางจากต่างประเทศทยอยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมากขึ้น นำไปสู่สภาวะการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล เพิ่มสูงขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดนอกประเทศ และทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการการผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานและให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาศาตสตร์แห่งเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีภารกิจในการขัดการเรียนการสอน การวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้จัดประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางในประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็น ระหว่าง ผู้ประกอบการ นักวิชาการ และประชาชนผู้สนใจ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนา

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ทราบระเบียบและมาตรฐานในการผลิตลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง
2.เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจ
3.เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมและนักวิชาการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ประกอบการ นักวิจัย และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
120 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
บรรยายทางวิชาการ อภิปรายซักถาม การฝึกปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิตใหม่ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิต

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และจัดประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน กำหนดหัวข้อการบรรยาย --- --- --- 5,000.00
2.จัดทำสื่อและเวบไซด์เพื่อลงทะเบียนและประชาสัมพันธ์การประชุม ประสานวิทยากร จัดหาสถานที่จัดประชุม --- - --- --- 20,000.00
3.จัดหาวัสดุและสารเคมีที่ใช้ในปฏิบัติการ ดำเนินการรับลงทะเบียนการประชุม --- -- - --- 20,000.00
4.จัดประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ --- --- -- --- 200,000.00
5.ประเมินผลและจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 308 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
9-10 น. พรบ.เครื่องสำอางฉบับใหม่และการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย วิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
15-16 น. การกักเก็บน้ำหอมในอนุภาคนาโน ศ.ดร.อรัญญา มโนสร้อย
29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
14-15 น. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการกักเก็บสารทางเครื่องสำอาง ดร.จินตนา นภาพร
29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
13-14 น. การนำเทคโนโลยีนาโนมาใช้ในการกักเก็บสารสกัดจากธรรมชาติ รศ.ดร.วันดี รังสีวิจิตรประภา
29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
11-12 น. แนวโน้มการบริโภคสินค้าสุขภาพและความงามในประเทศไทยและต่างประเทศ บริษัทผลิตและจำหน่าย
29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
10-11 น. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพไทยเพื่อความปลอดภัยและก้าวสู่สากล ศูนย์นวัตกรรมทางยาและสุขภาพ
30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
9-10 น. เทคนิกการทำไมโครเอ็นแคปซูเลชั่น รศ.ดร.วันดี รังวิจิตรประภา
30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
10-11 น. เทคนิกการเตรียมไมโครบีดส์ ดร.จินตนา นภาพร
30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
11-12 น. เทคนิกการเตรียมลิโพโซม ดร.สุรีวัลย์ ดวงจิตต์
30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
13-16 น. ปฏิบัติการ Encapsulation ด้วยเทคนิกต่างๆ วิทยากรร่วมจากคณะเภสัช ม.อุบล

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
120
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มีความคุ้มค่า

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เวชสำอาง และโภชนเภสัชภัณฑ์
หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศาสตร์แห่งเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน วิธีการผลิตและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นำนักศึกษาเข้าร่วมการประชุม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นำความรู้ที่ได้ไปทำวิทยานิพนธ์

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 15,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 12,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
4,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
2,400.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 900.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
900.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,100.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
2,100.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 149,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 30,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 5 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
30,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 38,400.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
38,400.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 72,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 300.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
72,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 8,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 4,000 บาท/คัน/วัน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 800.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
800.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 85,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 17,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
120 x 100 บาท
=
12,000 บาท
2) วัสดุสำนักงาน
10 x 500 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) แผ่นพับประชาสัมพันธ์
100 x 30 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์ (หมึกปริ้น CD แฟลตไดร์ท)
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 11,500.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
500 x 23 บาท
=
11,500 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 50,700.00 บาท )
1) วัสดุงานบ้านงานครัว
=
700.00 บาท
2) สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ทำปฏิบัติการ
=
50,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 250,000.00 บาท