แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการความรู้ทางด้านบริบาลเภสัชกรรมสู่ครอบครัวและชุมชน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านการบริการสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวรจเรศ เนตรทอง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
สถานการณ์โรคเรื้อรังในไทย มีแนวโน้มตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และตัวเลขค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น และพบว่าการดูแลรักษาผู้ป่วยเรื้อรัง ไม่สามารถทำได้ด้วยการทุ่มทรัพยากรเข้าไปในระบบโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว เนื่องด้วยระบบโรงพยาบาลเดิมนั้น มีจำนวนผู้ที่รับบริการหนาแน่นอยู่แล้ว จึงอาจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษา รวมถึงการรักษาโรคเรื้อรัง ต้องการการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องการการรักษาในหลายมิติ ได้แก่ มิติด้านโรค มิติด้านยา มิติด้านผู้ป่วยเกี่ยวกับการให้ความร่วมมือในการรักษา และมิติด้านสังคม สถานปฏิบัติการร้านยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนั้น ถือว่าเป็นบุคคลากรสาธารณสุข ที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด สามารถเข้าถึงได้ง่าย ถือเป็นหน่วยสุขภาพที่ตอบสนองต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยเรื้อรัง รวมถึงการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคเรื้อรังด้วย ซึ่งการตรวจคัดกรองเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเห็นถึงความเสี่ยงได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็วมากขึ้น และยังสามารถช่วยเฝ้าระวังและให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้ ส่งผลให้สามารถลดอุบัติการณ์ของการเป็นโรคดังกล่าวได้ และกรณีผู้ป่วยที่ขาดการรักษาต่อเนื่อง เภสัชกรร้านยา ยังสามารถช่วยให้ความรู้ผู้ป่วยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการไปติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง เข้าถึงยาได้อย่างต่อเนื่อง ลดปัจจัยเสี่ยงจากการใช้ยา ลดอุบัติการณ์ของโรคแทรกซ้อน และลดการพึ่งพิงผู้อื่น และจะเห็นว่าเภสัชกรร้านยาเป็นหน่วยสำคัญเป็นหน้าด่าน เป็นกำลังเสริม เป็นกำลังหนุน ที่สามารถทำให้การดูแลสุขภาพองค์รวมและครอบครัวเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยเหตุนี้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน มีความตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทเภสัชกรดังกล่าว และเล็งเห็นว่าควรมีการจัดทำโครงการเภสัชกรประจำครอบครัวและการคัดกรองผู้ป่วยเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบการบริบาลเภสัชกรรมชุมชนที่ดี ซึ่งจะช่วยให้สร้างความตอกย้ำในบทบาทของเภสัชกรร้านยาให้เป็นเภสัชกรครอบครัวเพื่อให้บริการงานปฐมภูมิและทุติยภูมิ และเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสุขภาพสืบเนื่องต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1. เป็นต้นแบบการบริบาลเภสัชกรรมชุมชนที่ดี 2. เพื่อสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการจัดกิจกรรมเสริมทักษะ ความรู้ในการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสาธารณสุขของชุมชน เช่น ปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสม สุขาภิบาลและมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ปัญหาการดูแลผู้ป่วยติดเตียง คนชรา คนพิการ แบบบูรณาการ 3. เพื่อสร้างระบบเครือข่ายงานบริการของร้านยาเชื่อมต่อกับสถานพยาบาลของรัฐ และบูรณาการ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 4. เพื่อพัฒนาและส่งเสริม ระบบป้องกัน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ระบบการส่งต่อ และการเยี่ยมบ้านของร้านยาคุณภาพ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักศึกษาปี 4-5-6 ผู้ป่วย จำนวน 60 คน ในพื้นที่ ต.ธาตุ ต.เมืองศรีไค ต.โพธิ์ใหญ่ อ.วารินชำราบ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. นัดประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดรูปแบบการทำงานร่วมกัน กำหนดขอบเขตการทำหน้าที่ และ ความรับผิดชอบของบุคลากร และแต่งตั้งคณะทำงานในส่วนต่างๆ 3. เตรียมความพร้อมเภสัชกรของเครือข่ายร้านยาและเภสัชกรที่รับผิดชอบงานปฐมภูมิ เพื่อเป็นเภสัชกรประจำครอบครัว ในงานบริบาลเภสัชกรรมชุมชน 4. ติดต่อประสานงาน คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ชี้แจงโครงการและขอความร่วมมือกับผู้นำชุมชน อสม.ในแต่ละตำบล 5. ดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้ 5.1 คัดกรองประชากรที่มีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยในโรคต่างๆอาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น 5.2 ส่งต่อประชากรที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาสู่หน่วยบริการได้อย่างเหมาะสม 5.5 พัฒนารูปแบบ อาทิ การสร้างเครือข่ายในการส่งต่อผู้รับบริการทีมีความสี่ยง การส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาจากการใช้ยา ( MTM ) การพัฒนารูปแบบการเลิกสูบบุหรี่โดยมีการประสานและส่งต่อจากหน่วยบริการมาร้านยา 6. ประชุมปรึกษา คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หารือเพื่อการแก้ปัญหา และพัฒนางานร่วมกันของคณะทำงาน รวมถึงการติดตาม ผลการดำเนินงานทุก 2 ครั้ง 7. คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ สรุปและรวบรวมผลการดำเนินงานและถอดบทเรียนในพื้นที่ดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.นัดประชุมคณะทำงาน คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อกำหนดรูปแบบการทำงานร่วมกัน กำหนดขอบเขตการทำหน้าที่ และ ความรับผิดชอบของบุ - --- --- --- 20,000.00
2.เตรียมความพร้อมเภสัชกรของเครือข่ายร้านยาและเภสัชกรที่รับผิดชอบงานปฐมภูมิ เพื่อเป็นเภสัชกรประจำครอบครัว ด้านงานบริบาลเภสัชกรรมชุมชน ร่วมกับชุมชน และ คณ - --- --- --- 15,000.00
3.ติดต่อประสานงาน ชี้แจงโครงการและขอความร่วมมือกับผู้นำชุมชน อสม. ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ - -- --- --- 10,000.00
4.ดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้ -คัดกรองประชากรที่มีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยในโรคต่างๆอาทิเช่น โรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรั --- - -- 30,000.00
5.ประชุมปรึกษา หารือเพื่อการแก้ปัญหา และพัฒนางานร่วมกันของคณะทำงาน รวมถึงการติดตาม ผลการดำเนินงานทุก 2 ครั้ง ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ แล --- -- -- -- 15,000.00
6.สรุปและรวบรวมผลการดำเนินงานและถอดบทเรียนในพื้นที่ดำเนินงาน --- --- --- - 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
19 ตุลาคม พ.ศ. 2559
9.30-16.30 ประชุมอบรมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ผศ.ดร.น้องเล็ก คุณวราดิศัย อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ อาจารย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์ อ.รจ
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
09.30-16.30 เตรียมความพร้อมเภสัชกรของเครือข่ายร้านยาและเภสัชที่รับผิดชอบงานปฐมภูมิเพื่อเป็นเภสัชกรประจำครอบรครัว เภสัชกรรุ่งรักพิน ทองสิน
18 ธันวาคม พ.ศ. 2559
9.30-16.30 ชี้แจงโครงการและขอความร่วมมือกับผู้นำชุมชน อสม. อ.ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล อ.จีริสุดา คำสีเขียว อ.รจเรศ เนตรทอง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2559
9.30-16.30 ชี้แจงโครงการและขอความร่วมมือกับผู้นำชุมชน อสม. ครั้งที่ 2 อ.ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล อ.จีริสุดา คำสีเขียว อ.รจเรศ เนตรทอง
8 มกราคม พ.ศ. 2560
9.30-16.30 คัดกรองประชากรที่มีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยในโรคต่างๆอาทิเช่น โรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง โรคหืด อ.ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล อ.จีริสุดา คำสีเขียว อ.รจเรศ เนตรทอง
9 มกราคม พ.ศ. 2560
9.30-16.30 คัดกรองประชากรที่มีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยในโรคต่างๆอาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหืด อ.ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล อ.จีริสุดา คำสีเขียว อ.รจเรศ เนตรทอง
10 มกราคม พ.ศ. 2560
9.30-16.30 คัดกรองประชากรที่มีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยในโรคต่างๆอาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหืด อ.ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล อ.จีริสุดา คำสีเขียว อ.รจเรศ เนตรทอง
11 มกราคม พ.ศ. 2560
9.30-16.30 คัดกรองประชากรที่มีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยในโรคต่างๆอาทิเช่น โรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง โรคหื อ.ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล อ.จีริสุดา คำสีเขียว อ.รจเรศ เนตรทอง
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
9.30-16.30 การสร้างเครือข่ายในการส่งต่อผู้รับบริการทีมีความสี่ยง การส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาจากการใช้ยา ( MTM อ.ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล อ.จีริสุดา คำสีเขียว อ.รจเรศ เนตรทอง
22 มีนาคม พ.ศ. 2560
9.30-16.30 หารือเพื่อการแก้ปัญหา และพัฒนางานร่วมกันของคณะทำงาน รวมถึงการติดตาม ผลการดำเนินงาน อ.ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล อ.จีริสุดา คำสีเขียว อ.รจเรศ เนตรทอง
25 มิถุนายน พ.ศ. 2560
9.30-16.30 หารือเพื่อการแก้ปัญหา และพัฒนางานร่วมกันของคณะทำงาน รวมถึงการติดตาม ผลการดำเนินงาน อ.ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล อ.จีริสุดา คำสีเขียว อ.รจเรศ เนตรทอง
17 กันยายน พ.ศ. 2560
9.30-16.30 สรุปและรวบรวมผลการดำเนินงานและถอดบทเรียนในพื้นที่ดำเนินงาน ร่วมด้วย คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ แ อ.ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล อ.จีริสุดา คำสีเขียว อ.รจเรศ เนตรทอง อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ และอาจารย์วิท

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายทางอ้อมเกี่ยวกับการรักษา ในรายที่ได้รับการคัดกรองแล้วได้รักษาอย่างรวดเร็ว จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักาาได้อย่างมาก
ด้านสังคม : ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องสุขภาพ และเข้าถึงการรักาาได้มากขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกิดขึ้น เช่น การเลิกบุหรี่ จะช่วยลดมลภาวะได้
ด้านอื่นๆ : เป็นต้นแบบงานบริบาลเภสัชกรรมชุมชน และเป็นที่พึ่งของประชาชนรอบๆ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี บูรณาการร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
150
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 15,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 15,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 200.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 76,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 27,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
20,000.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
7,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 33,400.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
25,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 120.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
8,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 4,000.00 บาท )
- จำนวน 5 คัน x จำนวน 1 วัน x ราคา 800 บาท/คัน/วัน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 11,600.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
5,000.00 บาท
2) Set เครื่องมือตรวจคัดกรองและดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น
=
6,600.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 9,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าหมึกพิมพ์
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท
2) Information set
60 x 100 บาท
=
6,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ไวนิล
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท