แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการ “ส่งเสริมการปรับกระบวนการจัดการโลจิสติกส์ ด้วยการใช้เทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcod
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายศรัณย์ วีสเพ็ญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : โครงการบริการวิชาการ การผลักดันองค์กรด้วยตัวชี้วัดรายบุคคล
ความเชี่ยวชาญ : วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการสร้างทีม การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐและแผนกลยุทธ์ให้กับหน่วยงานเอกชน
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การจัดการด้านโลจิสติกส์เป็นกระบวนการจัดการการเคลื่อนไหว (Flow) ของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ (Material or product) กระแสเงิน (Cash) ข้อมูลข่าวสาร (Information) และผลิตภัณฑ์ย้อนกลับ (Reverse product) จากผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Supplier) ไปยังผู้ผลิตสินค้า (Producer) และสิ้นสุดที่ลูกค้า (Customer) การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานขององค์กร (Internal Logistics) มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องหลักๆ ประกอบด้วย การวางแผนและการพยากรณ์ การจัดซื้อจัดหา การขาย การขนส่ง การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง การตลาด และการบริการลูกค้า โดยเครื่องมือหลักในการจัดการที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสูงสุดระบบหนึ่งคือ เทคโนโลยีสารสนเทศระบบ RFID (Radio Frequency Identification) และระบบ Barcode ระบบ RFID และ Barcode เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันในหลายวงการ เช่น การแพทย์ การปศุสัตว์ การจัดการจราจรและการขนส่ง การค้าปลีก ฯลฯ สำหรับวงกรอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระบบ RFID และ Barcode มีการใช้งานหลักๆ ในการระบุตัวตนของสินค้าหรือวัตถุดิบ (Identification) โดยอาจจะแบ่งได้เป็นการระบุตัวเป็นของ สถานที่ตั้งตัวสินค้าหรือวัตถุ (Identification of location) เช่น แหล่งที่ตั้งของสถานที่ผลิต และผู้ติดต่อ การระบุตัวตนของสินค้า(Identification of ltems) เช่น ชื่อและประเภทสินค้า ขนาด ราคา และหน่วย และการระบุตัวตนของผลิตภัณฑ์ (Identification of Logistics Units) เป็นต้น นอกจากนั้น ยังใช้ในการติดตามและตรวจสอบย้อนกลับของสินค้า (Tracing and Tracking) ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงมือลูกค้า และในปัจจุบัน ระบบ RFID ระบบ Barcode ในรูปแบบซอฟแวร์ประยุกต์หรือ Application และระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) ยังสามารถนำมาใช้ในงานการจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง (Warehousing and Inventory Management) การให้บริการลูกค้า (Customer Service) และการจัดการขนส่งสินค้า เป็นต้น การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ โดยใช้ระบบระบบ RFID ระบบ Barcode ในรูปแบบซอฟแวร์ประยุกต์หรือ Application และระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เสริมสร้างความรู้และพัฒนาไปสู่ความเป็นมืออาชีพด้านการจัดการ โลจิสติกส์ ในสถานประกอบการของภาคอุตสาหกรรม (Professional Manufacturing Logistics Management) ด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode ทั้งด้านฮาร์ดแาร์และซอฟแวร์ให้กับบุคลากรภาคอุตสาหกรรมในวงกว้าง และให้การสนับสนุนสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม ในการปรับกระบวนการด้านโลจิสติกส์ สำหรับรองรับการใช้เทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาให้สถานประกอบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของสถานประกอบการ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2.เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานประกอบการ ให้มีความรู้พร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ ในการนำเทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode มาใช้ในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของสถานประกอบการ
3.เพื่อเผยแพร่แนวทางการจัดการที่ดี (Best Practice) และบทเรียนจากประสบการณ์ (Lessons Learned) ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ให้ผู้ประกอบการนำไปประยุกต์ใช้สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
๓.๑ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน ๓๐ คน ๓.๒ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความรู้ในการนำเทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode มาใช้ในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของสถานประกอบการ จำนวน ๓๐ คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
๔.๑ จัดฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ในสถานประกอบการ ๑- ๒ วัน โดยมีเป้าหมายผู้เข้าร่วมสัมมนาไม่น้อยกว่า ๓๐ คน ๔.๒ ศึกษาดูงานสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ในสถานประกอบการ ๔.๓ คัดเลือกสถานประกอบการในการให้คำปรึกษาเชิงลึก หรือการสนับสนุนการติดตั้ง Application ระบบ RFID และ Barcodeทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ จำนวน ๒ ราย

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ในสถานประกอบการ ๑- ๒ วัน โดยมีเป้าหมา --- --- --- 150,000.00
2.ศึกษาดูงานสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ในสถานประกอบการ --- --- --- 150,000.00
3.คัดเลือกสถานประกอบการในการให้คำปรึกษาเชิงลึก หรือการสนับสนุนการติดตั้ง Application ระบบ RFID และ Barcodeทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ จำนวน ๒ ราย --- --- --- 100,000.00
4.รายงานผลการดำเนินงานและรายงานทางการเงิน --- --- --- 50,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
30 มิถุนายน พ.ศ. 2559
08.30-16.30 จัดฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode ทั้งด้านฮาร์ดแว ศรัณย์ วีสเพ็ญ และทีมงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ๗.๑ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความรู้ในการนำเทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode มาใช้ในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของสถานประกอบการเข้ารับการฝึกอบรม ๗.๒ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนำความรู้ด้านเทคโนโลยี Application ระบบ RFID และ Barcode ไปประยุกต์ใช้ในกิจการ
ด้านสังคม :
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 0.00 บาท