แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์สำหรับธุรกิจ SMEs คลัสเตอร์อาหารในตลาด AEC
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวพิมลพรรณ อุดมพันธ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : IT
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ความสำคัญ อุตสาหกรรมอาหาร มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นอาชีพของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มในประเทศตลอดห่วงโซ่ของกระบวนการผลิต นับตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูปผลผลิตโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีคุณค่าเพิ่มขึ้น มีอายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น และสะดวกต่อการอุปโภคบริโภค การที่ประเทศไทยมีการผลิตและส่งออกอาหารจำนวนมาก ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างภาคเกษตรและภาคการผลิต กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค นอกจากนี้ยังสร้างและรักษาแรงงานให้อยู่ในพื้นที่ ลดการอพยพเข้าสู่เมือง ช่วยลดปัญหาความแออัด สังคม และสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง และยังเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยแก้ไขปัญหาขาดดุลการค้าของประเทศ อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศมากกว่าร้อยละ 80 เป็นฐานรากเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยเป็นแหล่งสร้างงานที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรและแรงงานภาคอุตสาหกรรมมากกว่า 20 ล้านคน มีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารประมาณ 10,000 โรง ในจังหวัดอุบลราชธานี มีธุรกิจด้านอุตสาหกรรมอาหารเกิดขึ้นจำนวนมาก ประมาณ 100 ราย (ที่มา สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2550) และจากนโบายของรัฐบาลปี 2559 มีแนวคิดส่งเสริมธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหาร ให้เป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้น อุตสาหกรรมในจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ นับว่าเป็นพลังสำคัญทั้งในภูมิภาคอีสานตอนใต้ และประเทศตามชายแดน เช่น สปป.ลาว และ กัมพูชา ซึ่งโครงการนี้ นับว่ามีความจำเป็นยิ่งที่จะทำให้ ธุรกิจในอุสาหกรรมอาหารมีสื่อไอที หรือดิจิตอลที่จะเป็นเครื่องมือในการทำช่องทางการขาย และกลยุทธ์การตลาด ให้สามารถเพิ่มรายได้ หรือลดต้นทุนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1. พัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือไอทีสำหรับกลยุทธการตลาดออนไลน์ใหกับธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหาร 2. เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอาหารมีรายได้หรือช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านสื่อดิจิตอลได้มากขึ้น 3. รองรับการขยายตัวไปยังกลุ่มประเทศ AEC

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหาร ในเขตจังหวัด อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรม คือ การอบรมคอมพิวเตอร์เชิงปฏิบัติการ ด้วยการทดลองสร้างเครื่องมือสื่อดิจิตอลจริง วิธีการดำเนินงาน คือ วางแผนงาน ประชาสัมพันธ์ รับสมัคร ดำเนินการอบรม ประเมินและสรุปผลงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วางแผลการทำงาน -- -- --- --- 5,000.00
2.ประชาสัมพันธ์และรับสมัคร --- -- -- --- 20,000.00
3.ดำเนินการอบรม --- --- -- --- 20,000.00
4.ประเมินผล --- --- -- --- 5,000.00
5.สรุปผล --- --- --- -- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 212 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
08.30-12.00 e-commerce เบื้องต้น พิมลพรรณ อุดมพันธ์
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13.00-16.30 การสร้าง Fanpage, ecwid, การโปรโมทเพข และการใช้ Line Shop สำหรับธุรกิจ SMEs อาหาร พิมลพรรณ อุดมพันธ์
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
08.30-16.30 การสร้างร้านค้าใน alibaba.com ebay.com kaidee.com พิมลพรรณ อุดมพันธ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารมีเครื่องมือด้านไอที เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในการทำกลยุทธ์การตลาด online และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อ ม.อุบลฯ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1700 บาทต่อคน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา Electronic Commerce
หลักสูตร Management Information System
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การใช้กลยุทธ์การตลาดออนไลน์
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ตัวแทนนศ. 5 กลุ่มได้ศึกษาธุรกิจจริงในท้องถิ่น
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นำสินค้าของธุรกิจมาสร้างร้านค้าออนไลน์
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 17,920.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 10,720.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
4,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 6,720.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
6,720.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 23,720.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 1,920.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 1,920.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
1,920.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 4,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 2,000 บาท/คัน/วัน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 18,360.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 10,860.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร
1 x 5,860 บาท
=
5,860 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ไวนิล
1 x 4,000 บาท
=
4,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 3,500.00 บาท )
1) external hard disk
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท
2) CD 1 กล่อง
1 x 500 บาท
=
500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 60,000.00 บาท