แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูสายสังคม
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายศรัณย์ วีสเพ็ญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : โครงการบริการวิชาการ การผลักดันองค์กรด้วยตัวชี้วัดรายบุคคล
ความเชี่ยวชาญ : วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการสร้างทีม การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐและแผนกลยุทธ์ให้กับหน่วยงานเอกชน
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2558 ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ การดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคลและการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เข้าใจถึงการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยกาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองของประเทศชาติและสังคมโ,ลก เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพและส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมเยาวชนสำหรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ครูและบุคคลากรทางการศึกษา ซึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจเชิงเศรษฐศาสตร์ ประเด็นอุปสงค์ อุปทาน ต้นทุนการผลิต กลไกการตลาดและการค้า หลักการ วัตถุประสงค์ ข้อตกลงและการดำเนินการต่างๆของตลาดอาเซียนและตลาดโลก ซึ่งโลกศตวรรษที่ 21 จะมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีความซับซ้อนมากขึ้น และ มีผลิตภัณฑ์จำนวนมากให้ประชาชนให้เลือกมากกว่าในอดีต การบริหารการเงินส่วนบุคคลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การจัดระเบียบการเงินของบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรู้จักการหารายได้ การออม การลงทุน การจัดทำงบประมาณรายรับ-รายจ่าย และการวางแผนทางการเงิน ดังนั้นจึงเห็นควรจัดการอบรมปฏิบัติการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเชิงเศรษฐศาสตร์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงเศรษฐศาสตร์ และส่งเสริมทักษะความรู้ด้านการวางแผนการเงินส่วนบุคคลให้สามารถต่อยอดองค์ความรู้ก้าวสู่การประกอบอาชีพเป็นนักวางแผนการเงินต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเชิงเศรษฐศาสตร์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านการวางแผนการเงินส่วนบุคคล

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในอำเภอวารินชำราบ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
เวลา กิจกรรม / หัวข้อ ชื่อวิทยากร 08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 – 09.15 น. พิธีเปิดการอบรม 09.15 – 10.30 น. บรรยายเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูสายสังคม อาจารย์ศรัณย์ วีสเพ็ญ 10.30 – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง 10.45 – 12.00 น. บรรยายเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูสายสังคม (ต่อ) อาจารย์ศรัณย์ วีสเพ็ญ 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.30 น. บรรยายเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูสายสังคม (ต่อ) อาจารย์ศรัณย์ วีสเพ็ญ 14.30 – 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง 14.45 – 16.00 น. การวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคตที่ดี อาจารย์ศรัณย์ วีสเพ็ญ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 395 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
27 มิถุนายน พ.ศ. 2559
12.00 – 13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
08.00-09.00 ลงทะเบียน
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
09.00 – 09.15 พิธีเปิดการอบรม
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
09.15 – 10.30 บรรยายเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูสายสังคม อาจารย์ศรัณย์ วีสเพ็ญ
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
10.30 – 10.45 รับประทานอาหารว่าง
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
10.45 – 12.00 บรรยายเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูสายสังคม (ต่อ) อาจารย์ศรัณย์ วีสเพ็ญ
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13.00 – 14.30 บรรยายเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูสายสังคม (ต่อ) อาจารย์ศรัณย์ วีสเพ็ญ
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
14.30 – 14.45 รับประทานอาหารว่าง
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
14.45 – 16.00 การวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคตที่ดี อาจารย์ศรัณย์ วีสเพ็ญ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : ครูและบุคลากรทางการศึกษามีแนวทางการพัฒนาผู้เรียนให้มีองค์ความรู้ความเข้าใจเชิงเศรษฐศาสตร์และการวางแผนการเงินส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 12,240.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 600 ชม. x ชม.ละ 6.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 38,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 2,500.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,250.00 บาท
=
2,500.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 28,400.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมานักศึกษาช่วยงาน
=
2,400.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม
=
10,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาพิมพ์รายงานและจัดทำรูปเล่ม
=
6,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาสถานที่
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 15,120.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 11,120.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
6,000 x 1 บาท
=
6,000 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 5,120 บาท
=
5,120 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์
1 x 4,000 บาท
=
4,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 65,760.00 บาท