แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ Smart IT Camp ปี 7
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายอาทิตย์ บุญเริง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
หัวหน้าโครงการ
นายธวัชชัย สลางสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นายชุมพร หลิหะตระกูล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
การแข่งขันในด้านวิชาการ ในยุคปัจจุบันมีความหลากหลาย และมีความเข้มข้นทางด้านวิชาการเป็นอย่างมากจึงทำให้โรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวนมากได้นำรายวิชาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศไปประกอบหลักสูตรการศึกษา โดยให้วิชาดังกล่าวเป็นวิชาเสริม แต่โรงเรียนเหล่านั้นขาดบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นในรายวิชาเสริมเหล่านั้นเป็นวิชาที่นักเรียนจำนวนมากใช้เล่นเกมส์ หรือหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ที่ขาดคำแนะนำจากผู้รู้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้นักเรียนจำนวนมากที่เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ได้แสวงหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต และสื่อทางอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่ไม่ได้ควบคุมทำให้นักเรียนเหล่านั้นเลือกแนวทางในการศึกษาที่ผิด มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หน่วยการเรียนการสอนจังหวัดมุกดาหาร เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ควรมีส่วนช่วยให้นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหารได้มีโอกาส ในการศึกษาหาข้อมูลจากเทคโนโลยีอย่างถูกต้องตามหลักการ โดยเน้นเรื่องการเข้าสังคม การอยู่น่วมกับสังคม การเรียนรู้อย่างชาญฉลาด การสร้างงานบนสื่ออินเตอร์เน็ตอย่างมีจริยธรรม และเป็นการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หน่วยการเรียนการสอนจังหวัดมุกดาหาร

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ วิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหารและพื้นที่ใกล้เคียง
2.เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ในด้านการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นให้กับผู้เข้าอบรม
3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจทฤษฎีที่สำคัญในการออกแบบและสร้างผลงานโดยใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติจริงโดยทีมวิทยากรกำหนดโครงงาน (Project) จำลองขึ้นเป็นกรอบ และให้ผู้เข้าอบรมใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่
5.เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกวิชาชีพจากเหตุการณ์จริง
6.เพื่อบูรณาการงานบริการวิชาการเข้าสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างบัณฑิต
7.เพื่อการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับชุมชนเพื่อให้บริการวิชาการ
8.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน
9.เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาชุมชนให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
- นักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ของกลุ่มโรงเรียนในเขตจังหวัดมุกดาหารและใกล้เคียง จำนวน 22 คน - นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 20 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ) 1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1.1. เสนอโครงการ 1.2. ดำเนินงานตามโตรงการ 1.2.1. จัดประชาสัมพันธ์ “Smart IT Camp ปี 7” 1.2.2. ประสัมพันธ์ผ่าน www.muk.ubu.ac.th 1.2.2.1. ส่งหนังสือให้โรงเรียนในเขตจังหวัดมุกดาหารเพื่อให้นักเรียนสมัครเข้าโครงการ “Smart IT Camp ปี 7” 1.2.2.2. รับสมัครนักเรียนเข่โครงการ 1.2.3. จัดเตรียมความพร้อมก่อนจัดการอบรม 1.2.3.1. จัดเตรียมสถานที่สำหรับอบรม 1.2.3.2. จัดเตรียมทีมวิทยากร ประกอบด้วย 1) อาจารย์สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 3 ท่าน 2) นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 15 คน 1.2.3.3. จัดเตรียมเสื้อสำหรับ “Smart IT Camp ปี 7” 1.2.3.4. จัดเตรียมอาหารกลางวัน และอาหารว่าง 1.2.4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 4 วัน 1.2.4.1. จัดแบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 3-4 กลุ่มการเรียนรู้ 1) จัดฐานการเรียนรู้ เป็น 3-5 ฐาน (ตามเทคโนโลยีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน) 2) จัดให้ผู้อบรม เข้าอบรมทุกฐานการเรียนรู้โดย 1-2 ฐานการเรียนรู้ต่อ 1 วัน 3) จัดให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์เต็มศักยภาพของผู้เข้าอบรม โดยกำหนดกรอบการทำงาน (ผู้เข้าอบรมจัดทำผลงานร่าวมกันเป็นกลุ่มและทุกกลุ่มนำงานมารวมกันเป็นผลงานรวมของ Camp) 4) Upload ผลงานผ่าน Social Network และ Server ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หน่วยการเรียนการสอนจังหวัดมุกดาหาร หรืออื่นๆ 5) ประกวดขวัญใจ “Smart IT Camp ปี 7” ประกวดขวัญใขพี่ค่าย และประกวดกลุ่มผลงานดีเด่น 6) มอบของรางวัล “Smart IT Camp ปี 7” พร้อมใบประกาศ 7) เขียนความในใจของสมาชิก Smart IT Camp ปี 7 ในการอบรมตั้งแต่วันที่ 1 ถึง วันที่ 4 ของการอบรม แล้วทีมวิทยากรอ่านความในใจที่ประทับใจในแต่ละวันให้ผู้เข้าอบรมฟัง 8) ปิดการอบรม “Smart IT Camp ปี 7” 1.3. เก็บข้อมูลเพื่อหาผลสัมฤทธิ์ของการทำโครงการ 1.3.1. จัดทำแบบประเมินของโครงการ 1.3.2. เก็บข้อมูลจากแบบประเมินของโครงการ 1.3.3. สรุปข้อมูลจากแบบประเมินของโครงการ 1.4. สรุปโครงการเสนอผู้บริหาร

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์ “Smart IT Camp” และรับสมัครนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ --- --- --- -- 1,600.00
2.จัดเตรียมความพร้อมก่อนการจัดการอบรม --- --- --- - 73,200.00
3.จัดทำแบบประเมินระบบงานในโครงการ --- --- --- -- 100.00
4.สรุปโครงการเสนอผู้บริหาร --- --- --- -- 500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 123 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.30-16.30 ลงทะเบียน - แบ่งกลุ่มจำนวน 3-4 กลุ่ม - วิทยากรแจ้งวิธีการเรียนรู้ตามกลุ่มฐาน - เลือกหัวหน้ากลุ่ม คณะวิทยากร
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.30-16.30น. ลงทะเบียน และรายงานตัวเพื่อพบพี่ประจำกลุ่ม ผู้เข้ผู้เข้าอบรมนำเสนอผลงาน พร้อมจุดอ่อน จุดแข็ง ของกลุ คณะวิทยากร
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.30-16.30 น. ลงทะเบียน และรายงานตัวเพื่อพบพี่ประจำกลุ่ม ผู้เข้าอบรมเข้าเรียนรู้ประจำฐานที่ 3 ผู้เข้าอบรมนำเสนอผ คณะวิทยากร
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.30-16.30 ลงทะเบียน และรายงานตัวเพื่อพบพี่ประจำกลุ่ม จัดทำผลงานกลุ่ม นำเสนอผลงาน พร้อมให้ข้อเสนอแนะกลุ่มอื่น คณะวิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : นักเรียน นักศึกษา มีองค์ความรู้สำหรับนำไปหารายได้
ด้านสังคม : - เพิ่มทักษะการเรียนรู้ในด้านการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นให้กับผู้เข้าอบรม - เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับชุมชนเพื่อให้บริการวิชาการ - เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาชุมชนให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
ด้านสิ่งแวดล้อม : - นักเรียน นักศึกษา มีจิตสำนึก และเห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า - นักเรียน นักศึกษา มีจิตสำนึก และรับผิดชอบต่อสังคมโดยนำเสนอข่าวสารทางสังคมเครือข่ายอย่างสร้างสรรค์
ด้านอื่นๆ : - เพิ่มทักษะการเรียนรู้ในด้านการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นให้กับผู้เข้าอบรม - ผู้เข้าอบรมเข้าใจทฤษฎีที่สำคัญในการออกแบบและสร้างเว็บเพจ - ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติจริงโดยทีมวิทยากรกำหนด Project จำลองขึ้นเป็นกรอบและให้ผู้เข้าอบรมใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ - เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกวิชาชีพจากเหตุการณ์จริง - ได้บูรณาการงานบริการวิชาการเข้าสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างบัณฑิต - ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ เกิดความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้เข้าร่วมโครงการ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 36,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 14,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 8 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 22,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษาจำนวน 22 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 500.00 บาท/ชม.
=
22,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 19,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 45 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 45 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 500.00 บาท )
1) ค่าสาธารณูปโภค
=
500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 19,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1 x 1,500 บาท
=
1,500 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 17,100.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสารใบสมัคร
=
100.00 บาท
2) ค่าจัดทำเสื้อ Smart IT Camp ปี 7
=
9,000.00 บาท
3) ค่าของรางวัลขวัญใจค่าย
=
1,000.00 บาท
4) ค่าของรางวัลขวัญใจ Smart IT Camp ปี 7
=
1,000.00 บาท
5) ค่าของรางวัลกลุ่มผลงานดีเด่น
=
1,000.00 บาท
6) ค่าถ่ายเอกสาร
=
500.00 บาท
7) ค่าวัสดุฝึก
=
4,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 75,400.00 บาท