แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อ โครงกระดูกและข้อในผู้สูงอายุตำบลเมืองศรีไค
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเตรียมการสู่สังคมผู้สูงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.รัตนา เล็กสมบูรณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : กายวิภาคศาสตร์
ประสบการณ์ : ร่วมวิจัยพยาธิใบไม้ตับแบบสหวิชาการ 2.5 ล้าน สกว ร่วมวิจัยความไวต่อสารฆ่าแมลงของแมลงวันบ้านและแมลงวันหัวเขียวในจังหวัดอุบลราชธานี2 แสน สกว
ความเชี่ยวชาญ : 1. การศึกษารูปสัญฐาน (Morphology) ด้วย electron microscope, histochemistry, Immunohistochemistry 2. พยาธิใบไม้ตับ 3. สูติศาสตร์ 4.พยาบาลศาสตร์
หัวหน้าโครงการ
ดร.กิตติ เหลาสุภาพ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : รับราชการ ตำหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ปฏิบัติงานในภาครัฐและชุมชนกว่า 25 ปี
ความเชี่ยวชาญ : สาธารณสุขชุมชน วิทยาการระบาด พฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.นงนุช กันหารัตน์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : กายวิภาคศาสตร์
ประสบการณ์ : พยาบาลวิชาชีพ อาจารย์กายวิภาคศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : การพยาบาล งานจุลกายวิภาคศาสตร์ มหกายวิภาคศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวฐานิสรา โฉมเกิด คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : กายวิภาคศาสตร์
ประสบการณ์ : อาจารย์หลุกสูตรแพทยศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : neuroanatomy anatomy of musculoskeletal system
ผู้ร่วมโครงการ
นพ.สุริยง แผลงงาม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : รังสีแพทย์
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : รังสีทางการแพทย์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
โครงสร้างประชากรไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จากผลสำรวจของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ 4 ครั้งที่ผ่านมา พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยในปี 2537 มีจำนวนผู้สูงอายุร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศและเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ร้อยละ 10.7 ร้อยละ 12.2 ในปี 2545 2550 2554 ตามลำดับ ผลการสำรวจในปี 2557 พบว่า มีจำนวนผู้สูงอายุร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด (ชายร้อยละ 13.8 และหญิงร้อยละ 16.1) จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 10,014,699 คน เป็นชาย 4,514,812 คน และหญิง 5,499,887 คน หรือคิดเป็นชายร้อยละ45.1 และหญิงร้อยละ 54.9 ของผู้สูงอายุทั้งหมด (ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ : รายงานผลเบื้องต้น สำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557) วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขรับผิดชอบในการผลิตบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อประชาชนในเขตอีสานตอนใต้ 4 จังหวัดเป็นหลัก ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ซึ่งใน 4 จังหวัดมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในทิศทางเดียวกันของประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2557 พบว่า มีจำนวนผู้สูงอายุ 357,363 คน เป็นผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน 67,828 คน และ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จำนวน 5,009 คน จากการสำรวจเบื้องต้นของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยพบว่า ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนนี้ 4 อันดับแรกคือ โรคเจ็บป่วยเรื้อรัง ปวดกล้ามเนื้อ โครงกระดูกและข้อ ปัญหาโรคตา ปัญหาโรคฟัน และโรคทางสุขภาพจิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขมีความพร้อมทั้งทางด้าน แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และอาจารย์จากสาขาวิชาต่างๆ ที่มีความรู้มีความสามารถ ประสบการณ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง กับโรคกลุ่มนี้ รวมถึงวิทยาลัยมีเครือข่ายความร่วมมือจากโรงพยาบาลร่วมผลิตแพทย์ และโรงพยาบาล หรือหน่วยงานอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบกับเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ และสาธารณสุข ที่เมื่อสำเร็จการศึกษาต้องประกอบอาชีพ ดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่งจะเป็นสังคมผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้ วิทยาลัยได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการหลักสามโครงการ โครงการแรกเป็นโครงการศูนย์การแพทย์ทางเลือกโรคกล้าเนื้อโครงกระดูก โครงการที่สองคือ โครงการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เสี่ยงหรือมีภาวะโรคเรื้อรัง ตลอดจนผู้ที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต และโครงการนี้เป็นโครงการโรคกล้ามเนื้อ โครงกระดูก และข้อ ของประชากรกลุ่มที่อายุเข้าใกล้หรือเป็นผู้สูงอายุแล้ว ซึ่งเป็นปัญหาอันดับที่สองรองจากโรคเรื้อรัง ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชากรกลุ่มนี้ กิจกรรมในโครงการนี้ เป็นกิจกรรมในการให้ความรู้ ให้บริการให้การรักษา บำบัดอาการ ด้วยวิธีการต่างๆตลอดจนติดตามผลการบำบัด เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และการจัดตั้งเป็นต้นแบบ และขยายพื้นที่ในการทำโครงการ ทั้งนี้ได้บูรณาการกับโครงการอื่นๆของคณะต่างๆ ที่สังกัดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบองค์รวม อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคกล้ามเนื้อ โครงกระดูก และข้อในผู้ป่วยสูงอายุ 2 เพื่อให้การบำบัด รักษา ฟื้นฟู ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อ โครงกระดูก และข้อในผู้ป่วยสูงอายุ 3 เพื่อสกัดองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อ โครงกระดูก และข้อ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ป่วยสูงอายุที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อ โครงกระดูก และข้อและสมาชิกในครอบครัว
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
120 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประชาสัมพันธ์/ประสานงาน ประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านข้อมูลผู้สูงอายุ (อบจ. สสจ. ศอ.7 เทศบาล ชมรมผู้สูงอายุ พมจ. ฯลฯ 2. ประชุมออกแบบบทเรียน/สารสนเทศที่ต้องการ/กำหนดฟอร์มที่ต้องการจัดเก็บข้อมูล ข้อมูลที่ต้องใช้แบบสำรวจ และข้อมูลที่ต้องตรวจร่างกาย 3. ให้ความรู้ แก่กลุ่มเป้าหมาย ละคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้ารับการบำบัด รักษา หรือฟื้นฟู 4. ให้การการบำบัด รักษา ฟื้นฟูและติดตามผล กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดกรอง 5. สกัดองค์ความรู้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วย บุคลากรสาธารณสุข และญาติผู้ป่วย 6. ประเมินผล ประเมินผลการดำเนินการ สรุปผล/จัดทำรูปเล่ม รายงานผล และจัดทำรูปเล่ม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์/ประสานงาน ประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านข้อมูลผู้สูงอายุ (อบจ. สสจ. ศอ.7 เทศบาล ชมร --- -- --- --- 20,000.00
2.ให้ความรู้ แก่กลุ่มเป้าหมาย ละคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้ารับการบำบัด รักษา หรือฟื้นฟู --- - --- --- 100,000.00
3.ให้การการบำบัด รักษา ฟื้นฟูและติดตามผล กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดกรอง --- --- - --- 80,000.00
4.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วย บุคลากรสาธารณสุข และญาติผู้ป่วย ประเมิน ทำรายงาน รูปเล่ม --- --- -- --- 100,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 150 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
9.00-12.00 ประชุมผู้ดำเนินงาน ผศ.ดร.รัตนา เล็กสมบูรณ์ ดร.กิตติ เหลาสุภาพ ดร. นงนุช กันหารัตน์ อ.ฐานิสรา โฉมเกิด
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
9.00-12.00 ประชุมเตรียมอุปกรณ์เอกสาร บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการลงพื้นที่ ผศ.ดร.รัตนา เล็กสมบูรณ์ ดร.กิตติ เหลาสุภาพ ดร. นงนุช กันหารัตน์ อ.ฐานิสรา โฉมเกิด
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
9.00-16.00 ลงพื้นที่ครั้งที่1ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้ารับการบำบัด/รักษา/ฟื้นฟู ผศ.ดร.รัตนา เล็กสมบูรณ์ ดร.กิตติ เหลาสุภาพ ดร. นงนุช กันหารัตน์ อ.ฐานิสรา โฉมเกิด
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
9.00-16.00 ลงพื้นที่ครั้งที่2ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้ารับการบำบัด รักษา ฟื้นฟู ผศ.ดร.รัตนา เล็กสมบูรณ์ ดร.กิตติ เหลาสุภาพ ดร. นงนุช กันหารัตน์ อ.ฐานิสรา โฉมเกิด
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
9.00-12.00 ให้การดูแลรักษาขั้นต้นครั้งที่1 นพ.สุริยงแผลงงาม ผศ.ดร.รัตนา เล็กสมบูรณ์ ดร.กิตติ เหลาสุภาพ ดร.นงนุช กันหารัตน์ อ.ฐานิสรา โฉมเกิด
19 มีนาคม พ.ศ. 2560
9.00-12.00 ให้การดูแลรักษาขั้นต้น ครั้งที่2 นพ.สุริยงแผลงงาม ผศ.ดร.รัตนา เล็กสมบูรณ์ ดร.กิตติ เหลาสุภาพ ดร.นงนุช กันหารัตน์ อ.ฐานิสรา โฉมเกิด
23 เมษายน พ.ศ. 2560
9.00-12.00 ให้การดูแลรักษาโดยแพทย์ นพ.สุริยงแผลงงาม ผศ.ดร.รัตนา เล็กสมบูรณ์ ดร.กิตติ เหลาสุภาพ ดร.นงนุช กันหารัตน์ อ.ฐานิสรา โฉมเกิด
17 มิถุนายน พ.ศ. 2560
9.00-16.00 ติดตามผล ให้คำแนะนำ ดูแลรักษาจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วยบุคลากรสาธารณสุข ญาติผู้ป่วย ผศ.ดร.รัตนา เล็กสมบูรณ์ ดร.กิตติ เหลาสุภาพ ดร.นงนุช กันหารัตน์ อ.ฐานิสรา โฉมเกิด

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1 ผู้ป่วยและญาติ มีความรู้ ปฏิบัติตัวดูแลและป้องกันตนเองได้ เกี่ยวกับโรค กล้ามเนื้อ โครงกระดูกและข้อได้ 2 ผู้ป่วยได้รับการรักษา 3 ได้องค์ความรู้ และทักษะ ใหม่ในการดูแลโรคกล้ามเนื้อ โครงกระดูก และข้อ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
120
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
60
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คุ้มค่า

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1904 102 กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์
หลักสูตร พยาบาลศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน จำนวนนักศึกษาที่เข้าโครงการเข้าใจโรคกล้ามเนื้อและโครงกระดูกในผู้สูงอายุมากขึ้นจากเดิมอย่างน้อยร้อยละ80
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด จำนวนนักศึกษาที่เรียนวิชานี้อย่างน้อยร้อยละ80
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้ให้การดูแลผู้ป่วยโรคนี้ ร้อยละ100

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 51,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 30,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 100 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
30,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 241,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 72,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 12 เดือน x เดือนละ 6,000.00 บาท
=
72,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 117,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดกิจกรรมให้ความรู้ 4500บาท 6 ครั้ง
=
27,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาทำเอกสารความรู้ 120 ชุด
=
18,000.00 บาท
3) ค่าบริการทางการแพทย์
=
72,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 7,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,200.00 บาท )
1) กระดาษ
2 x 200 บาท
=
400 บาท
2) ปากกา
1 x 400 บาท
=
400 บาท
3) ซองใส่ CD
1 x 400 บาท
=
400 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ไวนิล
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 500.00 บาท )
1) cd
1 x 500 บาท
=
500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 4,500.00 บาท )
1) เชื้อเพลิง
6 x 750 บาท
=
4,500 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 300,000.00 บาท