แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การบริการวิชาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อชีวิตที่มีคุณภาพ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสุภวัฒน์ โสวรรณี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตร์ศึกษา
ประสบการณ์ : รับผิดชอบโครงการและประสานการดำเนินงานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงบประมาณและโครงการ
หัวหน้าโครงการ
นางสาวโฉมสอางค์ ไชยยงค์ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : สังคมศึกษา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวมัชฌุมา ซื่อจริง คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : BBA-MIS
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ปรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 4 ปี (2560-2564) โดยยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านบริการวิชาการแก่ชุมชน "บริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง" มีเป้าประสงค์เพื่อสร้างความเลิศด้านการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วม เสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและธุรกิจ บนพื้นฐานความพอเพียง จากการปรับแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว จำเป็นต้องมีการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องและส่งผลให้ยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งคำสำคัญของยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้ คือ การมีส่วนร่วมในการสร้างสังคม ดังนั้น ผู้มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยต้องร่วมกันพัฒนาสังคมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของสังคมด้วย การให้บริการวิชาการต้องปรับปรุงกระบวนการใหม่ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมช่วยและร่วมรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น การดำเนินงานต้องผสมผสานความรู้จากหลายสาขาวิชาเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชน ได้อย่างเหมาะสม ความรู้จากการบริการวิชาการต้องสามารถนำไปใช้ในชั้นเรียนถ่ายทอดแก่นักศึกษา หรือนำไปสู่การพัฒนาโจทย์วิจัยได้ จากความสำคัญของกระบวนการดำเนินงานที่ต้องปรับเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย ฯ ซึ่งรับผิดชอบในการประสานการดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน จึงเห็นควรได้จัดโครงการ การบริการวิชาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อชีวิตที่มีคุณภาพ ขึ้น โดยเชิญผุ้แทนจากทุกคณะ หน่วยงาน ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย 4 อปท. ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ซึ่งคาดหวังว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวนี้จะเกื้อหนุนกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รัับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทางที่ดีขึ้นต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนากระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่
2.เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ใน 4 มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้แทนองค์กรปกครองท้องถิ่น 4 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเมืองศรีไค เทศบาลตำบลธาตุ เทศบาลตำบลโพธิ์ใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลคำขวาง จำนวน 16 คน - กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ อปท. 4 แห่ง จำนวน 40 คน กลุ่มอาชีพ ประชาชน ในพื้นที่ อปท. 4 แห่ง จำนวน 800 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
856 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การพั

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การประชุมหารือกำหนดกรอบประเด็นการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายองค์กรในพื้นที่และกำหนดกรอบ ผู้รับผิดชอบในการทำงาน -- --- --- --- 10,000.00
2.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเสริมสมรรถภาพทางกาย สำหรับผู้สูงอายุ --- -- -- -- 150,000.00
3.กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สำหรับเด็กและเยาวชน --- --- -- -- 100,000.00
4.กิจกรรม การพัฒนาชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม --- - -- -- 100,000.00
5.กิจกรรมส่งเสริมอาชีพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน -- -- -- -- 150,000.00
6.กิจกรรมเผยแพร่ข่าวสารความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กฎหมาย ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน -- 100,000.00
7.ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน --- -- --- -- 14,580.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.30 กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สำหรับเด็กและเยาวชน คณะรัฐศาสตร์
7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
09.00 - 12.00 ประชุมร่วมกำหนดแผนกิจกรรมการดำเนินงานระหว่างมหาวิทยาลัยและผู้แทนจากทุกภาคส่วนมนพื้นที่ 4 อปท รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
12 ธันวาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.30 ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในชีวิตประจำวัน ผ่านหอกระจายข่าว ตัวแทนคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์
12 ธันวาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.30 กิจกรรมพัฒนาด้านอาชีพ คุณภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ คณะบริหารศาสตร์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ คณะศิลปศาสตร์
9 มกราคม พ.ศ. 2560
09.00-16.30 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชน คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
09.00-16.30 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเสริมสมรรถภาพทางกาย สำหรับผู้สูงอายุ คณะเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม : เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นระบบในพื้นที่ 4 อปท.
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ : ประชาชนที่ร่วมโครงการมีคุณภาพที่ดีขึ้นจากเดิมใน 4 มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
600
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 226,080.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 216,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 216,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
216,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 10,080.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 12 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
7,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,880.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,880.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 293,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 48,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
48,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 96,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 120.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
96,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 90,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 6 เดือน x เดือนละ 15,000.00 บาท
=
90,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 59,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาแรงงาน 300 บาท/วัน/10วัน/3 คน
=
9,000.00 บาท
2) -จ้างเหมาทำสื่อและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อในท้องถิ่น 1 งาน
=
50,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 105,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 19,500.00 บาท )
1) กระดาษเอ 4
20 x 100 บาท
=
2,000 บาท
2) ถ่ายเอกสาร
1 x 10,000 บาท
=
10,000 บาท
3) ปากกา
50 x 150 บาท
=
7,500 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 11,000.00 บาท )
1) หมึกพิมพ์สีดำ
2 x 2,500 บาท
=
5,000 บาท
2) หมึกพิมพ์สีแดง น้ำเงิน เหลือง
3 x 2,000 บาท
=
6,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 75,000.00 บาท )
1) วัสดุประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ 5 หลักสูตร ๆ ละ 15,000
=
75,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 624,580.00 บาท