แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเตรียมการสู่สังคมผู้สูงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร และ เคมีอาหาร หัวข้อที่สนใจ การใช้ประโยชน์จากโปรตีนพืช; สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน
ความเชี่ยวชาญ : การแปรรูปอาหาร คุณสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.วิริยา พรมกอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food Science and Technology
ประสบการณ์ : การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ชุติมา ทองแก้ว คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีการอาหาร
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ปัญจภรณ์ ทัดพิชญางกูร พรหมโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีการอาหาร
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีการอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : ผลิตภัณฑ์ประมง คุณสมบัติเชิงหน้าทีี่ของโปรตีน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.อภิญญา เอกพงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปร.ด.(เทคโนโลยีการอาหาร)
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์
ผู้ร่วมโครงการ
นางอุไรวรรณ บัวสอน คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : การประถมศึกษา
ประสบการณ์ : 18 ปี
ความเชี่ยวชาญ : -
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ : ข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ระบุอย่างชัดเจนถึงแนวโน้มที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุใน 20 ปีข้างหน้า โดยระบุว่าประชากรวัยเด็กมีสัดส่วนลดลงอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 24.3 ในปี พ.ศ. 2543 เป็นร้อยละ 20.2 ในปี พ.ศ. 2558 ประชากรวัยทำงานยังคงมีสัดส่วนสูงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 65.9 ในปี พ.ศ. 2543 และสูงสุดในปี พ.ศ. 2552 คือร้อยละ 67.1 ก่อนจะลดลงเป็นร้อยละ 66.0 ในปี พ.ศ. 2558 สำหรับประชากรวัยสูงอายุมีสัดส่วนสูงขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 9.5 ในปี พ.ศ. 2543 เป็นร้อยละ 13.8 ในปี พ.ศ. 2558 ผู้สูงอายุมักเกิดปัญหาทางสุขภาพหลายๆ ด้านพร้อมกัน โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีทั้งโรคที่เกิดขึ้นทางร่างกาย และจากปัญหาทางจิตใจ ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคข้อเสื่อม โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด หรือท้องผูก โรคทางประสาทตา เช่น โรคต้อหินหรือ ต้อกระจก โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ และอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ เป็นต้น โดยสาเหตุสำคัญมาจากความเสื่อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุมักขาดสารอาหารในระดับที่ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ง่าย แม้ว่าผู้สูงอายุจะมีความต้องการอาหารในปริมาณที่ลดลงจากวัยหนุ่มสาว แต่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และสร้างความต้านทานโรค เนื่องจากเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย สังคม และเศรษฐกิจ เช่น การรับรู้รสอาหารได้ด้อยลง การเสื่อมของระบบย่อยและดูดซึมอาหารของผู้สูงอายุ อีกทั้งผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว อาจจะเป็นอุปสรรคในการไปหาซื้ออาหารข้างนอก หรือแม้แต่การจะประกอบอาหารด้วยตนเอง ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำรงชีวิต เช่น การมีข้อจำกัดจากสภาพทางเศรษฐกิจ เนื่องจากไม่มีรายได้หรือมีรายได้ลดลงที่ต้องใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวัง อีกทั้งการที่ต้องอยู่บ้านคนเดียวขาดการติดต่อกับสังคมภายนอก การมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการพบปะสังสรรค์ทางสังคมน้อยลง ที่มีผลต่อสภาพทางจิตใจ ทำให้เบื่ออาหาร ตลอดทั้งการเลือกรับประทานอาหารโดยไม่คำนึงถึงประเภทที่หลากหลาย และของสารอาหารที่ควรได้รับครบถ้วน หรือไม่ควรได้รับมากเกินไป ผู้สูงอายุจึงมีโอกาสที่จะบริโภคโปรตีนไม่เพียงพอไม่ครบตามความต้องการหรือมีคุณภาพไม่ดีพอในขณะที่มีโอกาสที่จะขาดวิตามินแทบทุกชนิดและได้รับเกลือแร่โดยเฉพาะแคลเซียมและเหล็กไม่เพียงพอ ผู้สูงอายุ จึงมักขาดสารอาหารในระดับที่ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ง่าย (สุเทพ อาชานันทกุล และจันทนาอาชานัยนันท์, 2552; http://www.bangkokhealth.com) ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ การสำรวจการเข้าถึงสถานพยาบาลและรายจ่ายด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่ตายระหว่างปี พ.ศ. 2548 - 2549 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2549) พบว่าการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Not contagious disease) เป็นสาเหตุการตายของประชากรจำนวน 198,953 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 51.3 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยเฉพาะการเป็นโรคมะเร็งและโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายของประชากรจำนวน 62,890 และ 62,827 คน ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเท่ากันที่ร้อยละ 16.2 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด รายงานจากองค์การอนามัยโลกเมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า ภาวการณ์ตายและเจ็บป่วยและความพิการที่เป็นผลมาจากโรควิถีชีวิตเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ที่พบเป็นสาเหตุการตายของประชากรถึงร้อยละ 66 ของการตายทั้งหมด โดยเป็นผลจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และการขาดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย (Physical inactivity) และระบุว่าภาระโรค (Burden of Disease) เช่น ความดันโลหิตสูง และคลอเลสเตอรอลสูง ในประชากรก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะ และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลก เพราะก่อให้เกิดภาวะค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงกับสังคม ในขณะที่สุขภาพเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาประเทศและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจภาระโรคและภาระจากปัจจัยเสี่ยงของคนไทย พ.ศ. 2547 โดยกระทรวงสาธารณสุข (กรมอนามัย: http://nutrition.anamai.moph.go.th/web/khonthairaipung.html) การตระหนักในผลของพฤติกรรมและรูปแบบการดำรงชีวิตต่อสุขภาพทำให้อาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสมัยใหม่ อาหารพื้นบ้านไทย มีรสชาติที่อร่อยกลมกล่อม หลากหลายรส และยังเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งชี้ถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละท้องถิ่นที่สร้างสรรค์ปรุงแต่งให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารพื้นบ้านไทยเป็นอาหารที่ได้สมดุลทางโภชนาการ ผสมผสานลงตัวระหว่างชนิดและปริมาณของอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะมีข้าวเป็นอาหารหลัก อาจจะเป็นข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวแล้วแต่ท้องถิ่น และมักเป็นข้าวซ้อมมือซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินที่สำคัญ การปรุงอาหารจะเป็นการต้ม แกง ยำ ตำ มีการปรุงที่เรียบง่าย ไม่พิถีพิถัน ใช้เวลาไม่มาก ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารน้อย มีการใช้เนื้อสัตว์ไม่มาก แหล่งโปรตีนได้จากปลา ไก่ ไข่ หมู และสัตว์อื่นๆ บางชนิดในท้องถิ่น เครื่องปรุงล้วนเป็นสมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติ และที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นอาหารพื้นบ้านนานาชนิดที่หาได้ นำมาปรุงเป็นอาหาร หรือนำมาเป็นเครื่องจิ้มกับอาหารประเภทน้ำพริก หรือหลนต่างๆ ส่วนความพึงพอใจในรสชาติ หรือความอร่อยของอาหารไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว จะเห็นได้ว่า "อาหารพื้นบ้านของไทยเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำแต่มีเส้นใยอาหารสูง มีคุณค่าทางโภชนาการทั้ง วิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์กรดไขมัน มีความปลอดภัยจากสารเคมีและยังให้สรรพคุณทางสมุนไพรที่วิเศษ ซึ่งหาได้ยากจากอาหารประเภทอื่นๆ ซึ่งเหมาะสมสำหรับการพัฒนาอาหารพื้นบ้านและผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ (http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2258) ดังนั้นทางสาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้เล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมพื้นบ้าน จึงได้จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาอุสาหกรรมอาหารพื้นบ้าน (Center of Research and Industrial Development for Indigenous Food) ซึ่งทางคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราธานี มีศักยภาพและประสบการณ์ด้านการวิจัยและมีความพร้อมด้านอุปกรณ์ และเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในงานวิจัยและพัฒนาอาหารพื้นบ้านและผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ดี

วัตถุประสงค์
1.เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ
2.เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยนำผลงานวิจัย และนวัตกรรมตลอดจนเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาแล้วถ่ายทอดไปสู่ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ประกอบการ กลุ่มแม่บ้าน วิสาหกิจชุมชน และผู้สูงอายุ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การสำรวจ/ศึกษาข้อมูล/วางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ การคัดเลือกความคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ (Idea Screening) พัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ ถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ พัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การสำรวจ/ศึกษาข้อมูล/วางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ --- --- --- 30,000.00
2.การคัดเลือกความคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ (Idea Screening) --- - --- --- 20,000.00
3.พัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ --- -- --- 100,000.00
4.ถ่ายทอดเทคโนโลยี --- --- --- - 40,000.00
5.จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ --- --- --- -- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
9.00-16.00 ถ่ายทอดเทคโนโลยี ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : การถ่ายทอด/การอบรม ให้กับผู้สูงอายุและผู้ประกอบการ จำนวน 30 คน
ด้านสังคม : ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้าน ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและมีคุณค่าทางโภชนาการ จำนวน 2 ชนิด
ด้านสิ่งแวดล้อม : ทำให้อาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพเป็นที่ต้องการทั้งผู้สูงอายุและผู้บริโภคสมัยใหม่
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
30
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1205 492 โครงงานค้นคว้าวิจัย 1 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 (Senior Project I)
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การเขียนโครงร่างวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ โจทย์วิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 58,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 51,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 51,000.00 บาท )
1) จำนวน 25 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
30,000.00 บาท
2) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
21,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 73,100.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 18,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 1,500.00 บาท
=
6,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 1,500.00 บาท
=
9,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 4,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 2,000 บาท/คัน/วัน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 40,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คน x จำนวน 4 เดือน x เดือนละ 5,000.00 บาท
=
40,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนผู้ทดสอบชิม 50 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 ครั้ง
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 68,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,800.00 บาท )
1) กระดาษ
4 x 700 บาท
=
2,800 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,900.00 บาท )
1) ค่าหมึกพิมพ์
2 x 1,450 บาท
=
2,900 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 3,000.00 บาท )
1) น้ำมันเชื้อเพลิง
100 x 30 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 60,000.00 บาท )
1) ค่าวัตถุดิบ
=
10,000.00 บาท
2) ค่าสารเคมี เช่น อาหารเลี้ยงเชื้อ สารเคมีที่ใช้วิเคราะห์
=
30,000.00 บาท
3) ค่าเครื่องแก้ว
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 200,000.00 บาท