แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเตรียมการสู่สังคมผู้สูงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวสาวิตรี สิงหาด คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การพยาบาลผู้สูงอายุ
ประสบการณ์ : การพยาบาลผู้สูงอายุ
ความเชี่ยวชาญ : การพยาบาลผู้สูงอายุ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
สังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร เนื่องจากโครงสร้างประชากรของไทยมีแนวโน้มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุร้อยละ 9.38 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2553 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.89 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 17.51 ในปี พ.ศ. 2563(สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข, 2555) ทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ครอบครัว ต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นก็ยิ่งต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ความพิการหรือทุพพลภาพจะเพิ่มขึ้นตามอายุและต้องการพึ่งพาบุคคลอื่นมากขึ้น (วิไลวรรณ ทองเจริญ, 2554) การเป็นสังคมที่มีประชากรสูงอายุจำนวนมาก ประกอบกับการพัฒนาที่เน้นคุณภาพคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการเตรียมความพร้อมของระบบการดูแลผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุเพื่อคงความสามารถของผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็น สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพและมีความผาสุก เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้ (วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์, 2552) สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นพลังในการพัฒนาสังคมโดย 1) ส่งเสริมการสร้างรายได้และการมีงานทำในผู้สูงอายุ ควบคู่กับการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทั้งด้านวิชาการและการใช้สื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ ให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อการประกอบอาชีพและการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง 2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำความรู้และประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่เป็นคลังสมองของชาติทั้งภาครัฐและเอกชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้มีความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และประเทศ 3) ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งตนเอง โดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและความจำเป็นทางกายภาพให้เหมาะกับวัย และการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในด้านการจัดบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมอย่างบูรณการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้เป็นต้นแบบของการดูแลผู้สูงอายุเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นต่อไป คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมและการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน และให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ ตามความต้องการของชุมชนในพื้นที่ โดยการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่3 ทำให้เกิดกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุจากสถานการณ์จริงได้เป็นอย่างดี ผลจากการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำไปสู่การริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยใช้โรงเรียนและการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญในการฟื้นฟูศักยภาพผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุมีความรู้ทักษะทั้งด้านวิชาการและการใช้สื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยไปใช้ในการดูแลตนเอง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตที่สดใส มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม อนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น มีคุณค่าและความภาคภูมิใจในตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นฐานความพอเพียง สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพึ่งพาตนเอง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และประสบความสำเร็จทุกประการ โดยมีผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาและเข้ารับประกาศนียบัตร รุ่นที่ 1 จำนวน 30 คน เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้สูงอายุได้นำความรู้และความสุขที่ได้รับจากโรงเรียนนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน โดยการเป็นแกนนำกลุ่มในการให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุวัยเดียวกัน ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ดังนั้น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้มีการจัดโครงการโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 เพื่อสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านผู้สูงอายุ ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งเสริมความรู้ทักษะทั้งด้านวิชาการ การใช้สื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ตหรือ สมาร์ทโฟน ลดช่องว่างระหว่างวัย เรียนรู้ข่าวสารต่างๆ จากโลกอินเตอร์เน็ตไปใช้ในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ มีกิจกรรมนันทนาการ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้พบประสบการณ์ใหม่ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีคุณค่าและความภาคภูมิใจในตนเอง สามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มุ่งสู่เป้าหมาย “รู้จริง ปฏิบัติได้ ถ่ายทอดเป็น” รวมทั้งเพื่อเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาโดยการบูรณาการ การจัดการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ เน้นการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นรูปธรรมด้านการดูแลสร้างเสริมสุขภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รวมทั้งคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัยสามารถใช้เป็นหน่วยบริการที่บูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุศิลปะและวัฒนธรรมและการวิจัยอย่างครบวงจร ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและบริการสำหรับผู้สูงอายุและเชื่อมโยงคนทุกวัยให้ได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ การพึ่งพาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ
2.เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ
3.เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ และสามารถเป็นผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่นให้ ดำรงสืบไป
4.เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุศิลปะและวัฒนธรรมและการวิจัยอย่างครบวงจร ของทุกคณะทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย
5.เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย การบูรณาการงานด้านผู้สูงอายุ ระหว่าง คณะ/สถาบันการศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรที่เกี่ยวข้อง ภาคส่วนอื่นในท้องถิ่น และส่วนกลาง ตลอดจนภาคีเครือข่ายและทีมสุขภาพในพื้นที่ กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่เข้มแข็งและยั่งยืนเป็นรูปธรรม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
80 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
เสนอโครงการ ประสานงาน และขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือจากบุคลากร หน่วยงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย 2. การแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ 3. การดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ มีการจัดการเรียนการสอน สัปดาห์ละ 2 วัน ทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ เวลา 09.00 - 12.00 น. ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ผู้สูงอายุต้องมีเวลาเรียนทุกรายวิชาไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด หลังเรียนจบหลักสูตร ผู้สูงอายุที่สำเร็จการศึกษาทุกคนจะได้รับประกาศนียบัตร 4. โรงเรียนผู้สูงอายุมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของผู้สูงอายุ การพัฒนาทักษะและการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น การจัดหลักสูตรคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างกันและความพร้อมของผู้สูงอายุแต่ละพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 ผู้สูงอายุในเขตเมือง และ กลุ่ม 2 ผู้สูงอายุในชนบท ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียน ได้แก่ 1) วิชาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 2) วิชาวิถีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ 3) วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารของผู้สูงอายุ และ 4) วิชาการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ 5) วิชาเลือกตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุ เน้นการเรียนการสอนในระดับพื้นฐานทั่วไป การเรียนการสอนประกอบการฝึกปฏิบัติจริงและการศึกษาดูงาน เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มุ่งสู่เป้าหมาย “รู้จริง ปฏิบัติได้ ถ่ายทอดเป็น” 5. การจัดการเรียนการสอนในแต่ละหน่วยการเรียนมีคณาจารย์วิทยากรจากคณะต่างๆหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ตามความเชี่ยวชาญและความถนัดของผู้สูงอายุแต่ละคน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และ เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการดูแลสร้างเสริมสุขภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่บูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุศิลปะและวัฒนธรรมและการวิจัยอย่างครบวงจร อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่าย การบูรณาการงานด้านผู้สูงอายุ การทำงานร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุ คณาจารย์ สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ภาคส่วนอื่นในท้องถิ่น และส่วนกลาง องค์กรท้องถิ่นและทีมสุขภาพในพื้นที่ในการร่วมพัฒนางานเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต่อไป

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอโครงการ -- --- --- --- 0.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการ ประสานงาน และขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย -- --- --- --- 0.00
3.การแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ -- --- --- --- 0.00
4.ดำเนินการจัดกิจกรรมโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุ - - 293,200.00
5.สรุปและประเมินผลการดำเนินการ จัดทำรายงานสรุปและเผยแพร่ข้อมูล --- --- --- -- 6,800.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ให้มีความรู้ทักษะทั้งด้านวิชาการและการใช้สื่อการเรียนรู้สมัยใหม่มีทักษะในการดูแลตนเองได้ตามภาวะสุขภาพ มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตอบสนองความต้องการของตนเอง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสุขภาพจิตที่สดใสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2. การส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม อนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น มีคุณค่าและความภาคภูมิใจในตนเอง เกิดการสืบสาน ถ่ายทอด และเผยแพร่ ความรู้ภูมิปัญญาโดยผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ 3. การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว มีรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เข้มแข็งและยั่งยืนเป็นรูปธรรม ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็งด้านผู้สูงอายุ 4. การบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุและวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ โดยนักศึกษาได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง มีจิตอาสา มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะการเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีมมีจิตสำนึกต่อท้องถิ่น และเกิดการบูรณาการสู่การเรียนการสอนได้อย่างเป็นรูปธรรม 5. องค์กร/สถาบันการศึกษา หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย มีแหล่งเรียนรู้ แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการดูแลสร้างเสริมสุขภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัยสามารถใช้เป็นหน่วยบริการที่บูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุศิลปะและวัฒนธรรมและการวิจัยอย่างครบวงจร 6. การสร้างเครือข่าย การทำงานร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุ อาจารย์ องค์กรท้องถิ่นและทีมสุขภาพในพื้นที่ กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็งด้านผู้สูงอายุ พัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้เป็นต้นแบบของการดูแลผู้สูงอายุเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม 7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น /องค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนภาคีเครือข่าย สามารถนำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นไปเป็นแนวทางในการสร้างโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน การบูรณาการงานด้านผู้สูงอายุ ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ภาคส่วนอื่นในท้องถิ่น และส่วนกลาง ในการร่วมพัฒนางานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 24,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 24,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 12 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 400.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 184,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 32,400.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
28,800.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 54,000.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
48,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 24,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 24 วัน x ราคา 1,000 บาท/คัน/วัน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 74,000.00 บาท )
1) ค่าทำปก-เย็บเล่มรายงานการประเมินผล 200 บาท x 10 เล่ม
=
2,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปแบบสมุดคู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ 150 เล่ม x 200 บาท
=
30,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำวิดีทัศน์
=
4,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาทำนวัตนกรรมแอพพลิเคชั่นป้องกันสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
=
35,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ขนาด 8x12 เมตร
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 91,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 14,800.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 10,000 บาท
=
10,000 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร
4,800 x 1 บาท
=
4,800 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 12,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
400 x 30 บาท
=
12,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 64,800.00 บาท )
1) ค่าวัสดุเครื่องแต่งกาย
=
40,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
=
24,800.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 300,000.00 บาท