แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ใกล้ชิดใจวัยสูงอายุ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเตรียมการสู่สังคมผู้สูงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวเกษร สายธนู คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันประเทศไทยกลายเป็นสังคมของผู้สูงอายุ(Aging society) จากสถิติของผู้สูงอายุที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจประชากรไทย พ.ศ.2557 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล(2557) พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุ ราว 10 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.3 ของประชากรทั้งหมด คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า ในพ.ศ. 2577 จะมีจำนวนผู้สูงอายุ ประมาณ 19 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 29 ของประชากรทั้งหมด เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีพัฒนาการในทางเสื่อมถอย ผลที่ตามมาจากภาวะสูงอายุ ได้แก่ปัญหาสุขภาพกายหรือการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้ ความเสื่อมจากโรคสะสมมากขึ้น ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมทั้งหมดของบุคคลเพื่อการดูแลประคับประคอง (Curtin & Lubkin, 1995 อ้างถึงใน สมจิต หนุเจริญกุล, 2546) นอกจากการเจ็บป่วยจากภาวะที่สูงอายุแล้ว ยังพบปัญหาที่สำคัญอีกด้านคือ ปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งอาจจะเกิดจากปัญหาสุขภาพกายหรือ ปัญหาอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงบทบาททางสังคม ปัญหาค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยผลจากการรักษา ความรู้สึกการเป็นภาระของบุตรหลาน และปัญหาการสูญเสียบุคคลใกล้ชิดอาจส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่สามารถปรับตัวรับกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ บางรายอาจมีอาการซึมเศร้า บางรายอาจมีความผิดปกติทางจิตเกิดขึ้นได้ (จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และ วัลลภา คชภักดี,2551) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าว และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ สอดคล้องกับการดำเนินงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในการให้บริการวิชาการแก่สังคมโดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้น ผู้รับผิดชอบโครงการจึงได้จัดโครงการใกล้ชิดใจวัยสูงอายุขึ้น โดยมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีโดยการส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วม และกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้รับการช่วยเหลือ ประคับประคองจิตใจ มีการช่วยเหลือด้านจิตใจซึ่งกันและกัน โดยกิจกรรมโครงการนี้จัดให้มีการบูรณาการกับการเรียนการสอนในสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอีกด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี เสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจแก่ผู้สูงอายุ
2.เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง
3.เพื่อประคับประคองจิตใจแก่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต
4.เพื่อให้ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุ อสม. เทศบาลตำบลธาตุ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
80 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
- กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตและโรคจิตเวชในผู้สูงอายุ - กิจกรรมกลุ่มบำบัดสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต และการดำเนินการวิจัยเกี่ยวความแข้มแข็งทางจิตใจและการตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเองของผู้สูงอายุ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ขั้นเตรียมการ - เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ - --- --- --- 0.00
2.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง - ประชาสัมพันธ์โครงการ -- --- --- --- 0.00
3.ขั้นดำเนินการ ดำเนินการตามโครงการ โดยบูรณาการกับการวิจัย กิจกรรมมีดังนี้ -อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตและโรคจิตเวชในผู้สูงอายุ -กิจกรรมกลุ่ --- --- 78,000.00
4.ขั้นสรุปและรายงาน ประเมินผลโครงการ จัดทำเล่มรายงาน --- --- --- - 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต 2. อาจารย์ได้พัฒนาทักษะวิชาชีพตนเองในการให้ บริการวิชาการแก่สังคม สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน 3. หน่วยงานสาธารณสุขได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 17,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 50 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 100.00 บาท/ชม.
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 58,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 11,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
4,800.00 บาท
2) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
3,600.00 บาท
3) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 11,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
6,400.00 บาท
2) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 9,000.00 บาท )
- จำนวน 3 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,000 บาท/คัน/วัน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 26,800.00 บาท )
1) ค่าของที่ระลึกผู้เข้าร่วมโครงการ (กระเป๋าผ้า 60 บาท X80 คน)
=
4,800.00 บาท
2) คู่มือความรู้ด้านสุขภาพจิตและโรคจิตเวชในผู้สูงอายุ ( 100 เล่ม X 80 บาท)
=
8,000.00 บาท
3) ค่าของรางวัลกิจกรรม
=
4,000.00 บาท
4) ค่าของรางวัลกิจกรรมกลุ่มบำบัดสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต
=
3,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาพิมพ์งานและวิเคราะห์ข้อมูล
=
5,000.00 บาท
6) ค่าถ่ายเอกสารและเข้าเล่ม
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 4,400.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 3,400.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 3,400 บาท
=
3,400 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ค่าไวนิล
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 80,000.00 บาท