แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : บริการวิชาการแบบพุ่งเป้า ประเด็นยุทศาสตร์สังคมสูงวัย
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเตรียมการสู่สังคมผู้สูงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.ชัชวิน นามมั่น คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : - อาจารย์พิเศษคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มจพ. - อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ - วิทยากรโครงการ SP2 UNI-Net
ความเชี่ยวชาญ : ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เว็บเชิงความหมาย สภาพแวดล้อมแบบยูบิควิตัส อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
หัวหน้าโครงการ
ดร.สมปอง เวฬุวนาธร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความเชี่ยวชาญ : การประมวลผลภาพ(Image Processing) การรู้จำใบหน้า(Face Recognition) การรู้จำรูปแบบ(Pattern Recognition) คอมพิวเตอร์วิทัศน์(Computer Vision)
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.วราวุฒิ ผ้าเจริญ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : ระบบฝังตัว อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.อนุสรณ์ บรรเทิง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : คอมพิวเตอร์กราฟฟิก ความจริงเสมือน
ผู้ร่วมโครงการ
นายอนุพงษ์ รัฐิรมย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการสารสนเทศ การบริการโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พยากรณ์โครงสร้างประชากรไทยว่า ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุถึง ๑ ใน ๔ ของประชากรและเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบภายในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๗๑ สัดส่วนประชากรที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้น ไปจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๑๑.๑ เป็นร้อยละ ๒๓.๕ หรือ ๑ ใน ๔ ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งแนวโน้มจะมีผู้สูงอายุอยู่ลำพังไร้ลูกหลานดูแลเพิ่มขึ้น โครงการนี้มีแนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยี Internet of Things เข้ามาร่วมประยุกต์ใช้ มาช่วยเหลือและสนับสนุนต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ทั้งทางด้านสุขภาพและสังคม Internet of Things หรือ IoT หมายถึงการที่สิ่งของสามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ผ่านโพรโตคอลสื่อสารทั้งแบบมีสายและไร้สาย ทำให้สามารถปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและทำงานร่วมกัน โครงการนี้จะเป็นการออกแบบและพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุโดยอาศัยอุปกรณ์ IoT ซึ่งประกอบไปด้วยตู้ยาอัจฉริยะและการปรับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับชีวิตประจำวัน พัฒนาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในบ้านสำหรับผู้สูงอายุ ระบบติดตามและค้นหาตำแหน่งผู้สูงอายุ ระบบเฝ้าระวังภัยและตรวจจับสัญญาณอันตรายสำหรับผู้สูงอายุ ระบบวิเคราะห์สุขภาพเบื้องต้นสำหรับผู้สูงอายุโดยใช้เซนเซอร์ ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการนี้จะได้เป็นฐานข้อมูลในการสืบค้นและใช้เป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์เพื่อพัฒนาต่อในเชิงพานิชย์ในภาคอุตสาหกรรมต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อออกแบบและระบบอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบไปด้วยตู้ยาอัจฉริยะระบบติดตามและค้นหาตำแหน่งผู้สูงอายุ ระบบเฝ้าระวังภัยและตรวจจับสัญญาณอันตรายสำหรับผู้สูงอายุ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ออกแบบภาพรวมของระบบแล้วรับฟังข้อคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายจากนั้นทำการพัฒนาระบบและสรุปการดำเนินงานต่อไป

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เก็บรวบรวมข้อมูลเบื่องต้น ทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ออกแบบภาพรวมของระบบอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ --- --- --- 15,000.00
2.นำเสนอแนวคิดและรับฟังข้อคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย --- -- --- --- 30,000.00
3.แก้ไขภาพรวมการทำงานของระบบจากแนวคิดที่ได้จากกลุ่มเป้าหมาย --- --- --- 10,000.00
4.พัฒนาระบบและอุปกรณ์จากการออกแบบในขั้นตอนที่ผ่านมา --- --- 205,000.00
5.สรุปผลการพัฒนาระบบและรับฟังข้อคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย --- --- --- - 35,000.00
6.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
27 มกราคม พ.ศ. 2560
9.00 - 16.00 นำเสนอแนวคิดและรับฟังข้อคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย ดร.ชัชวิน นามมั่น ดร.สมปอง เวฬุวนาธร ดร.วราวุฒิ ผ้าเจริญ ดร.อนุสรณ์ บรรเทิง นายอนุพงษ์ รัฐิรมย์
25 สิงหาคม พ.ศ. 2560
9.00 - 16.00 สรปผลการพัฒนาระบบและรับฟังข้อคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย ดร.ชัชวิน นามมั่น ดร.สมปอง เวฬุวนาธร ดร.วราวุฒิ ผ้าเจริญ ดร.อนุสรณ์ บรรเทิง นายอนุพงษ์ รัฐิรมย์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ประกอบการสามารถนำเอาความรู้จากงานนี้ไปต่อยอดสำหรับการพัฒนาอุปกรณ์ต่างในเชิงธุรกิจได้
ด้านสังคม : ระบบอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ และเครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้นช่วยสนับสนุนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : ได้เผยแพร่แนวความคิด/องค์ความรู้ ของระบบอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ รวมถึง ระบบการบริหารจัดการต่างๆที่เกี่ยวข้อง สร้างในการพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
50
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มีโครงงานที่นักศึกษาจัดทำเพื่อสนับสนุนการดำเนินการในโครงการดังกล่าว

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 40,320.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 25,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 15,120.00 บาท )
1) ค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการจำนวน 6 คน x จำนวน 6 ชม. x จำนวน 420.00 บาท/ชม.
=
15,120.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 93,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 23,400.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
15,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 6 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 2 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
2,400.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 14,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คน x จำนวน 2 เดือน x เดือนละ 3,500.00 บาท
=
14,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 40,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำกล่องอุปกรณ์ชุดต้นแบบ
=
40,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 166,280.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 29,280.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 29,280 บาท
=
29,280 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาทำผ้าป้ายไวนิล
2 x 1,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 55,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 55,000 บาท
=
55,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 80,000.00 บาท )
1) วัสดุอิเล็กทรอนิกส์
=
80,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 300,000.00 บาท