แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ ICT ในการประกอบธุรกิจออนไลน์ด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้สูงอายุ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเตรียมการสู่สังคมผู้สูงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.สมปอง เวฬุวนาธร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความเชี่ยวชาญ : การประมวลผลภาพ(Image Processing) การรู้จำใบหน้า(Face Recognition) การรู้จำรูปแบบ(Pattern Recognition) คอมพิวเตอร์วิทัศน์(Computer Vision)
หัวหน้าโครงการ
นายอนุพงษ์ รัฐิรมย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการสารสนเทศ การบริการโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ชัชวิน นามมั่น คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : - อาจารย์พิเศษคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มจพ. - อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ - วิทยากรโครงการ SP2 UNI-Net
ความเชี่ยวชาญ : ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เว็บเชิงความหมาย สภาพแวดล้อมแบบยูบิควิตัส อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
ผู้ร่วมโครงการ
นายชาญชัย ศุภอรรถกร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : วิทยากรบรรยายเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศกับ E-Commerce รุ่นที่ 1-6 บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด
ความเชี่ยวชาญ : E-commerce
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ICT : Information Communication Technology) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของทุกเพศทุกวัย เพื่อใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารรวมถึงการทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจออนไลน์ด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce หรือ E - Commerce) ซึ่งจะทำให้การติดต่อสื่อสาร มีความสะดวก ประหยัดเวลา และมีประสิทธิภาพมากมากยิ่งขึ้น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า เช่น การซื้อ ขายสินค้า การบริการ การชำระเงิน การโฆษณา เป็นต้น ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) สู่คนทั่วโลกภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้การดำเนินการซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งจะทำให้ผู้ขายสามารถโฆษณาขายสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณา การจัดตั้งร้านค้า การจัดตกแต่งสถานที่ ค่าใช้จ่ายการจัดเก็บสินค้า การกระจายสินค้า และยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆได้อีก การทำธุรกิจออนไลน์ด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีก (Business-to-Consumer: B2C) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เน็ต 2) ธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business: B2B) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เน็ต 3) ธุรกิจกับรัฐบาล (Business-to-Government: B2G) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ 4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (Government to Government: G2G) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง และ 5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer: C2C) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายอื่นก็ซื้อไป ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันการทำธุรกิจออนไลน์ด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางการค้าที่น่าสนใจมาก เพราะนับวันก็ยิ่งมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลให้การค้าทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสามารถทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก ประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าสถานที่ รวมถึงค่าจ้างพนักงานขาย เป็นต้น และที่สำคัญเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้บริโภคด้วยกันได้มีธุรกิจเป็นของตัวเอง โดยเฉเพราะกลุ่มผู้สูงอายุสามารถใช้ช่องทางนี้ในการหารายได้เพิ่ม ได้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ทำให้ไม่เหงาและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมผู้สูงอายุที่จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จึงมีโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ ICT ในการทำธุรกิจออนไลน์ด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมการเกิดรายได้และกระจายสินค้าในท้องถิ่นสู่ตลาดโลกโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังทำให้ผู้สูงอายุได้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ทำให้ไม่เหงาและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ ICT ในการทำธุรกิจออนไลน์ด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มรายได้และกระจายสินค้าในท้องถิ่นสู่ตลาดโลกโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังทำให้ผู้สูงอายุได้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ทำให้ไม่เหงาและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้มีอายุระหว่าง 50-55 ปี ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1) สำรวจกลุ่มผู้มีอายุระหว่าง 50-55 ปี ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 2) ติดต่อ/รับสมัคร ผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมการอบรมจำนวน 100 คน 3) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัตอการจำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ 33-35 คน/2 วัน โดยวันแรกเป็นรูปแบบของการแชร์ประสบการณ์การจากผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์และเสวนาเกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์ซึ่งมีวิทยากรจากทั้งภายในและภายนอก ส่วนวันที่สองผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือในการทำธุรกิจออนไลน์ 4) หัวข้อและซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการฝึกอบรมประกอบด้วย ทำธุรกิจออนไลน์ด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น บนเฟสบุ๊ค แอพพลิเคชั่นไลน์ โปรแกรมเฉพาะทางด้านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.สำรวจกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี -- --- --- --- 10,000.00
2.ติดต่อ/รับสมัคร ผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมการอบรม ครั้งที่ 1 33-35 คน -- --- --- --- 10,000.00
3.จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 --- -- --- --- 55,000.00
4.ติดต่อ/รับสมัคร ผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมการอบรม ครั้งที่ 2 และ 3 จำนวนครั้งละ 33-35 คน --- --- -- --- 10,000.00
5.จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 --- --- -- --- 55,000.00
6.จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 --- --- --- -- 55,000.00
7.จำทำเอกสารสรุปโครงการ --- --- --- -- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
12 มกราคม พ.ศ. 2560
09.00-16.00 น. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 วิทยากรภายในและภายนอก
8 มิถุนายน พ.ศ. 2560
09.00-16.00 น. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 วิทยากรภายในและภายนอก
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
09.00-16.00 น. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 3 วิทยากรภายในและภายนอก

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มช่องทางในการกระจายสินค้าจากท้องถิ่ง สู่ตลาดโลกโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้ชุมชนมีความเป็นอยู่และเศรฐกิจในท้องถิ่นดีขึ้น
ด้านสังคม : คนในท้องถิ่นมีงานทำโดยไม่ต้องเดินทางไปทำงานที่เมืองใหญ่ ทำให้ครอบครัวอบอุ่น ซึ่งจะส่งผลให้สังคมดีขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : ลดการเดินทางเพราะสามารถทำงานที่บ้านหรือในชุมชนใกล้บ้านได้ ทำให้ลดมลภาวะได้
ด้านอื่นๆ : คนแก่และเด็กไม่ถูกทอดทิ้งเพราะไม่ต้องเดินทางไปทำงานไกลบ้าน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มีความคุ้มค่า

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1106 301 - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษาชั้นปี : 3 - 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มีการนำกรณีศึกษาจากการผึกอบรมมาสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโดยการติดตั้งซอฟต์แวร์และเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ประกอบในการฝึกอบรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ให้นักศึกษาศึกษาโจทย์ปัญหาที่จะใช้เป็นกรณีศึกษาในการฝึกอบรมและช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 72,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 70,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 37,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
10,800.00 บาท
2) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
27,000.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 32,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
32,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
1,800.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 75,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
16,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 36,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
36,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 22,800.00 บาท )
- จำนวน 2 คัน x จำนวน 6 วัน x ราคา 1,900 บาท/คัน/วัน
=
22,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 52,400.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
100 x 100 บาท
=
10,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 9,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์
3 x 3,000 บาท
=
9,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
3 x 5,000 บาท
=
15,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 6,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง
6 x 1,000 บาท
=
6,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 12,400.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม
=
12,400.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 200,000.00 บาท