แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การจัดการขยะมูลฝอยระดับครัวเรือนเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการพัฒนาชุมชนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ วังไพศาล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิศวกรรมโยธา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : วัสดุกันซึมในระบบฝังกลบ วิศวกรรมการประปา
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันประเทศไทยยังคงประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการแพร่กระจายของมลพิษที่มาจากขยะมูลฝอย กากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และน้ำเสีย ทำให้เกิดการปนเปื้อนของมลพิษในดิน แหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน สำหรับขยะมูลฝอยนั้น กรมควบคุมมลพิษ รายงานว่าในปี พ.ศ.2546 ประเทศไทยผลิตขยะมูลฝอยทั้งหมดประมาณ 14.4 ล้านตัน หรือเฉลี่ยวันละ 39,240 ตัน จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดในประเทศ ได้มีการกำจัดอย่างถูกวิธีเพียงร้อยละ 35 เท่านั้น จากการสำรวจข้อมูลในชุมชน ในโครงการวิจัยการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยข้าวสารเพื่อแก้ปัญหาความยากจน พบว่าชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในเขตการให้บริการจัดเก็บและการกำจัดขยะมูลฝอยโดยหน่วยงานในท้องถิ่น จึงปรากฏอยู่ทั่วไปว่า มีขยะมูลฝอยกระจัดกระจายตามพื้นที่ต่างๆ ในเขตชุมชน ทั้งในเขตทางสาธารณะและในบริเวณโดยรอบบ้านเรือน ทำให้ชุมชนขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม (ดังตัวอย่างในรูปที่ 1) ประชาชนบางส่วนกำจัดขยะมูลฝอยด้วยตนเอง โดยไม่มีการแยกกำจัดขยะอินทรีย์และขยะอันตราย ใช้วิธีการกำจัดโดยการฝัง การเผากลางแจ้ง หรือกองทิ้งในเขตที่ดินของตน วิธีการกำจัดอย่างไม่ถูกวิธีทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ การปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนต่อน้ำใต้ดิน การแพร่กระจายของเชื้อโรค สิ่งเหล่านี้ส่งผลร้ายกลับมายังประชาชนในชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนนั้นๆ ส่งผลให้มีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพลดลง และอาจเกี่ยวโยงไปถึงปัญหาความยากจนของประชาชนในชุมชนได้ รูปที่ 1 การทิ้งขยะมูลฝอยในเขตชุมชนทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน ในการจัดประชุมกลุ่มในชุมชนและการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยในหมู่บ้านนำร่อง 6 หมู่บ้านที่อยู่บริเวณต้นน้ำของลุ่มน้ำห้วยข้าวสาร โดยโครงการวิจัยการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยข้าวสารเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ระหว่างปี พ.ศ.2549 ถึง 2552 พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ 1. ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา การปลูกพืชหลังนา เช่น ปลูกพริก ฟักทอง แตงกวา แตงโม ข้าวโพด และผักสวนครัว ซึ่งมีการใช้ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช และปุ๋ยเคมีในปริมาณสูง การใช้สารเคมีอันตรายเหล่านี้ ไม่ได้มีการป้องกันอย่างถูกวิธีด้วยเครื่องป้องกัน ทั้งๆ ที่ทราบว่ามีอันตรายต่อสุขภาพ ขวดหรือซองบรรจุสารเคมีที่ใช้ก็ไม่ได้มีการกำจัดอย่างถูกวิธี เมื่อใช้หมดที่ไหนก็ทิ้งในบริเวณนั้นเลย บางครั้งสามารถพบเห็นขวดหรือซองเหล่านั้นในที่นาหรือตามลำห้วยธรรมชาติ ซึ่งพบว่าทุกๆ หมู่บ้านมีสภาพปัญหาคล้ายคลึงกัน สิ่งที่น่าสนใจคือ มีผู้ให้ข้อมูลว่า ไม่กล้าบริโภคน้ำจากแหล่งน้ำที่เป็นบ่อน้ำตื้นในพื้นที่หมู่บ้านของตน เนื่องจากเกรงว่ามีการสะสมของปริมาณสารพิษปนเปื้อนในน้ำมาก 2. ข้อมูลจากการสำรวจด้านสุขภาพของประชาชน ที่ได้สุ่มตรวจหาปริมาณสารพิษตกค้างในร่างกายของเกษตรกรในพื้นที่ศึกษานำร่อง พบว่า มีเกษตรกรจำนวนมากที่มีปริมาณสารพิษตกค้างในร่างกายอยู่ในระดับสูง จากจำนวนผู้รับการตรวจ 119 คน พบว่าผู้มีสารพิษตกค้างอยู่ในระดับความเสี่ยงมีจำนวนร้อยละ 53 และผู้มีสารพิษตกค้างอยู่ในระดับอันตรายมีจำนวนร้อยละ 11 ของจำนวนผู้ได้รับการตรวจทั้งหมด สาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการขาดวามตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีอันตรายเหล่านั้น จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับขยะมูลฝอยในชุมชนและขยะอันตรายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไข วิธีการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้คือ การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยการเริ่มต้นจากการเตรียมความพร้อมของประชาชนในระดับครัวเรือนให้มีศักยภาพในการแก้ปัญหา โดยสามารถเริ่มจากเยาวชนและผู้ปกครองของเยาวชนในแต่ละครัวเรือน ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะมูลฝอยที่ตนผลิตขึ้น ให้รู้จักวิธีการลดปริมาณการผลิตขยะมูลฝอยด้วยการนำกลับไปใช้ใหม่ การคัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การนำวัสดุที่มีมูลค่าไปขายได้ การนำเศษอาหารไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นต้น ส่วนขยะมูลฝอยที่เป็นอันตรายก็ควรได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี ดังนั้น การเผยแพร่ความรู้ด้านการจัดการขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือนซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดของชุมชน เป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม จะช่วยให้การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยอาศัยกระบวนการถ่ายทอดความรู้ การฝึกปฎิบัติ การสาธิต การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ และการทัศนศึกษา เป็นต้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ เยาวชนและประชาชน ทราบถึงปัญหาและผลกระทบจากขยะมูลฝอยที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
2.เพื่อให้เยาวชนมีสวนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน โดยเริ่มต้นที่ครัวเรือน
3.เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการลดและแยกขยะในครัวเรือน โรงเรียนและชุมชน เพื่อการกำจัดที่เหมาะสม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
การดำเนินงานโครงการ การจัดการขยะมูลฝอยระดับครัวเรือนเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นการดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ซึ่งเป็นโจทย์ปัญหาที่ได้จากโครงการวิจัย การพัฒนาลุ่มน้ำห้วยข้าวสารเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ที่ดำเนินงานโดยนักวิจัยจากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในคราวจัดประชุมกลุ่มเพื่อรวบรวมสภาพปัญหาจากชุมชนในหมู่บ้านนำร่อง 6 หมู่บ้าน การดำเนินงานโครงการนี้จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นส่วนเสริมให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายมีความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเพื่อชุมชนและคนจนเป็นสำคัญ รวมทั้งมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเพื่อความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่น ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ประกอบด้วย นักเรียนและเยาวชน ในหมู่บ้านนำร่องของโครงการวิจัยการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยข้าวสารเพื่อแก้ปัญหาความยากจน คือ โรงเรียนบ้านคุ้ม ตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 30 คน และผู้ปกครองของนักเรียนที่สนใจร่วมกิจกรรม อย่างไรก็ตาม โครงการนี้สามารถขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ ที่มีสภาพปัญหาเช่นเดียวกันได้ โดยการปรับรูปแบบและรายละเอียดการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และดำเนินงานในปีต่อๆ ไปได้
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ลักษณะการดำเนินงานหลัก เป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ จากองค์ความรู้ที่มีอยู่และจากตัวอย่างการปฏิบัติจริงที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของตนในการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน โดยเริ่มปฏิบัติที่ตนเองและภายในครอบครัว ซึ่งจะเป็นตัวอย่างแก่ครอบครัวอื่นๆ ในชุมชนและชุมชนข้างเคียงได้ การถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการจะเน้นเรื่องที่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน เช่น ปริมาณขยะมูลฝอยที่แต่ละครัวเรือนผลิตขึ้นต่อวัน การจำแนกองค์ประกอบของขยะมูลฝอยในครัวเรือนของตน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการหาวิธีการลดปริมาณ วิธีการกำจัดและการใช้ประโยชน์ขยะที่เหมาะสมกับประเภทของขยะมูลฝอยที่ตนผลิตขึ้น เช่น การแยกขยะเพื่อการรีไซเคิลหรือสำหรับขาย การแยกกำจัดขยะโดยการทำปุ๋ยหมัก การแยกกำจัดขยะอันตราย เช่น แบตเตอรี่ ขวดยาฆ่าแมลง เป็นต้น การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จะเป็นการนำเสนอตัวอย่างโครงการจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนขยะและของเสีย ดำเนินงานโดยงานบำบัดน้ำเสียและขยะมูลฝอย กองบริหารกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งดำเนินการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ลักษณะของโครงการเป็นการคัดแยกขยะเพื่อนำมาแลกแลกของใช้พื้นฐานในครัวเรือน เช่น อาหารแห้ง อุปกรณ์ เครื่องใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน และการทัศนศึกษาระบบกำจัดขยะมูลฝอยด้วยการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ของเทศบาลเมืองวารินชำราบ ตั้งอยู่ที่ บ้านดอนผอุง ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มใช้งาน พ.ศ. 2543 มีขนาดพื้นที่กำจัดขยะมูลฝอยประมาณ 180 ไร่ เป็นการฝังกลบขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล มีองค์ประกอบหลักในการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ชั้นกันซึม การปิดกลบรายวัน ระบบบำบัดน้ำเสียที่ครบถ้วนตามหลักวิชาการ ปัจจุบันให้บริการรับกำจัดขยะมูลฝอยแก่ เทศบาลนครอุบลราชธานี องค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง รวมถึงภาคเอกชน แผนการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ช่วงเตรียมการ 1. ประสานงานกับ โรงเรียน และผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงและร่วมกันเตรียมโครงการ 2. ประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการสู่กลุ่มเป้าหมาย และรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 3. ประสานงานคณะดำเนินงาน วิทยากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมกิจกรรมโดยละเอียด เตรียมวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกอบรมและทัศนศึกษา ช่วงดำเนินการอบรม ดำเนินงานฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้ และทัศนศึกษา รวมระยะเวลาการอบรม 3 วัน ช่วงสรุปและติดตามผล 1. ติดตามความสัมฤทธ์ผลของโครงการ โดยการเยี่ยมชม สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมโครงการ 2. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ พร้อมนำเสนอปัญหาอุปสรรค เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป 3. สรุป และรายงานผลการดำเนินงาน 4. ขยายผลการดำเนินงาน และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการเรียนการสอนหรืองานวิจัยเพื่อชุมชนต่อไป

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ช่วงเตรียมการ (ประสานงาน) --- -- --- --- 3,000.00
2.ช่วงดำเนินการอบรม --- - --- --- 66,000.00
3.ช่วงสรุปและติดตามผล รายงานผล --- --- -- --- 3,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556 - 30 เมษายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 120 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543
09:00-12:00 • ประเมินความรู้ก่อนอบรม • ระดมความคิดเห็น ปัญหาขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม • สำรวจสภาพปัญหาภายในช ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ วังไพศาล
0 พ.ศ. 543
13:00-16:00 • เสนอแนวทางแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน • บรรยายความรู้เกี่ยวกับขยะอันตราย ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและป ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ วังไพศาล
0 พ.ศ. 543
09:00-12:00 • บรรยายเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ โครงการจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนขยะมูลฝอยและของเสีย ของมหา นายนุกูล มงคล
0 พ.ศ. 543
13:00-16:00 • สาธิตการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ในครัวเรือน • สำรวจปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน การจำแนกองค์ประกอบข นางสาวดาวพร นาวาบุญนิยม
0 พ.ศ. 543
09:00-12:00 • ทัศนศึกษาสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ของเทศบาลเมืองวารินชำราบ (ผู้ปกครองนักเรียนหร กองช่างสุขาภิบาล เทศบาลเมืองวารินชำราบ
0 พ.ศ. 543
13:00-16:00 • สรุปและประเมินผล ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ วังไพศาล

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : - ชุมชนสามารถนำต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่ดีไปประยุกต์ใช้ในชุมชนของตนได้ เช่น การจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนขยะ การคัดแยกขยะมูลฝอย เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัวได้ - ครอบครัวของเยาวชนสามารถมีรายได้เสริมจากการคัดแยกขยะบางส่วน แล้วสามารถขายได้ เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ เป็นต้น
ด้านสังคม : - เยาวชนสามารถกระตุ้นให้สมาชิกในครัวเรือนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขยะมูลฝอย โดยมีการลดปริมาณขยะมูลฝอย มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน มีการใช้ประโยชน์จากขยะในรูปแบบต่างๆ อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด - หากชุมชนสามารถกำหนดกติกาในการจัดการขยะมูลฝอยร่วมกันได้ เช่น การแยกขยะ การทิ้งขยะให้เป็นที่ จะทำให้ชุมชนน่าอยู่และมีความสุข
ด้านสิ่งแวดล้อม : - เยาวชนและประชาชน ตระหนักถึงปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน และทราบถึงผลกระทบจากขยะมูลฝอยที่มีต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม - ประชาชนทราบและสามารถกำจัดขยะอันตรายอย่างถูกวิธี ลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านอื่นๆ : - เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน และหน่วยงานต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการให้กับชุมชนในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม - สามารถบูรณาการการวิจัย การบริการวิชาการและการเรียนการสอนในหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้าด้วยกันได้ และสามารถนำไปสู่การกำหนดประเด็นและแนวทางการศึกษาการวิจัยเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยอาศัยประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานโครงการนี้

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
50
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา 1305 446 วิศวกรรมธรณีสิ่งแวดล้อม
หลักสูตร หลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาชั้นปีที่ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน - การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการหรือข้อมูลที่น่าสนใจเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด - นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในวิชาดังกล่าวได้มีโอกาสออกพื้นที่เพื่อร่วมกิจกรรมให้บริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้จากเนื้อหาวิชาแก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 13,280.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 10,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,800.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,800.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 2,480.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
800.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 1,680.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,680.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 41,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 9,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 17,000.00 บาท )
1) ค่าบำรุงสถานที่ในการฝึกอบรม 1000 บาท/ 3 วัน
=
3,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมารถบัสเพื่อนำนักเรียนไปดูงาน ณ สถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย 1 วัน
=
6,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับ ป้ายและสื่อประชาสัมพันธ์
=
3,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม 40 ชุด ๆ ละ 50 บาท
=
2,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาจัดทำกล่องจัดเก็บขยะอันตรายสำหรับติดตั้งในชุมชนชุดละ 1000 บาท จำนวน 3 ชุด
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 8,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 6,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
6,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับสาธิตการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 62,880.00 บาท