แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
ยังไม่ได้เพิ่มนโยบาย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.มินตรา สาระรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ : : 1) การสร้างเสริมสุขภาพ : ทางเลือกใหม่ของคุณ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่22 อุบลราชธานี 3)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ปีที่ 1. และ 2) 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราธานี 5)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ความเชี่ยวชาญ : การสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ
หัวหน้าโครงการ
นายนิยม จันทร์นวล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : อาจารย์
ความเชี่ยวชาญ : พฤติกรรมศาสตร์ สุขศึกษา เพศศึกษา การส่งเสริมสุขภาพ
ผู้ร่วมโครงการ
นางลักษณีย์ บุญขาว คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ผู้ร่วมโครงการ
นายพลากร สืบสำราญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการระบาด
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1 โครงการ ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ หัวหน้าโครงการวิจัย 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาสุขภาพชุมชน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคในชุมชน ระบาดวิทยา ชีวสถิติ
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพัจนภา วงษาพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พิษวิทยาทางอาหารและโภชาการ)
ประสบการณ์ : ผู้ขเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ปีงบประมาณ 2555-2556
ความเชี่ยวชาญ : - อาหารและโภชนาการ - พฤติกรรมการบริโภคอาหาร -การประเมินความเสี่ยงในการได้รับสารอันตรายทางเคมีจากการบริโภคอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวปัณฑิตา สุขุมาลย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : -ผู้จัดรายการปัญหาสุขภาพ สถานีวิทยุ FM. 98.5 มุกดาหาร ปี 2548 - 2550 -ผู้ร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการ การตรวจสุขภาพนักเรียน หิด เหา ปี 2554 -ผู้ร่วมโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการการดูแลผู้สูงอายุ 2556 -ผู้ร่วมโครงการวิจัย โครงการวิจัย รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : บ้านหัวเรือทอง หมู่ 16 ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทุนวิจัย สกว. -บทความวิจัย ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน
ความเชี่ยวชาญ : การให้คำปรึกษาครอบครัวและชุมชน การสื่อสารปัญหาชุมชน อนามัยชุมชน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
เด็กวัยเรียนนับเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้น ภาวะสุขภาพที่ดี ความเป็นอยู่ที่ดีจะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงศักยภาพความเป็นอยู่และเป็นตัวกำหนดอนาคตของประเทศชาติ ถ้าเด็กนักเรียนมีสุขภาพอนามัยไม่สมบูรณ์แข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หรือขาดสุขนิสัยที่ดีย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ การพัฒนาสุขภาพอนามัยของนักเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาศักยภาพของคนให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ และ ในปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น การเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายลดลง เช่น โรคติดเชื้อต่างๆ โรคทางด้านอนามัยแม่และเด็ก โรคทึ่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกัน โรคขาดสารอาหารหรือการมีโภชนาการที่ไม่ได้ตามเกณฑ์ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพอื่นๆตามมา ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่สามารถพบได้ในเด็กวัยเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร เช่น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งปัญหาโภชนาการดังกล่าว จะส่งผลให้เด็กวัยเรียนมีสุขภาพอ่อนแอ เจ็บป่วยได้ง่ายและขาดเรียนบ่อย ขาดความกระตือรือร้นและไม่มีสมาธิในการเรียน ทําให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่ที่ด้อยคุณภาพเป็นผลทําให้การพัฒนาประเทศเป็นไปได้ช้า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร และหนึ่งในภาระหน้าที่คือการสอนให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนภายใต้ความขาดแคลนปัจจัยสนับสนุนสำคัญหลายประการ ประกอบกับนักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ค่อนข้างยากจนเป็นเหตุให้ขาดความตระหนักในเรื่องของการดูแลสุขภาพของตนเอง นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาด้านพฤติกรรมสุขภาพค่อนข้างมาก เช่น ด้านทุพโภชนาการ ด้านสุขภาพช่องปาก การแปรงฟันไม่ถูกวิธี ฟันผุ เหงือกอักเสบ และยังขาดการดูแลสุขภาพตนเองอื่นๆ เช่น การไม่ล้างมือด้วยสบู่ก่อนการนับประทานอาหาร เป็นต้น วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ได้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์) ซึ่งจะต้องเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และการส่งเสริมสุขภาพ จากนอกชั้นเรียนด้วย และในการดำเนินโครงการในครั้งนี้จะมีการบูรณาการความรู้ในวิชาต่างๆ และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาทางโภชนาการ ที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนในระยะยาวรวมทั้งยังเป็นกระตุ้นการส่งเสริม และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (เขตอำเภอ สิรินธร บุณฑริก น้ำยืน เป็นต้น) เพื่อให้ความรู้แก่ แกนนำนักเรียน ครูอนามัยโรงเรียน ครูโภชนาการ แกนนำผู้ปกครอง แกนนำชุมชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ให้มีการกระตุ้นให้นักเรียนปฏิบัติตนด้านการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องและเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่นักเรียนในถิ่นทุรกันดารและป้องกันปัญหาสุขภาพรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดกิจกรรมค่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนของแกนนำต้นแบบ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตรวจตระเวรชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี ทีผ่านการเข้าค่ายให้ความรู้ในโครงการปีงบประมาณ 2555 2. เพื่อให้ความรู้ด้าน อาหาร โภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และการสร้างเสริมสุขภาพอื่นๆ แก่แกนนำ และผู้รับผิดชอบทางด้านอาหาร โภชนาการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตรวจตระเวรชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี 3. เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
แกนนำนักเรียน (ชั้นป.4- ป 6.) ครูอนามัยโรงเรียน ครูโภชนาการ แกนนำผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราชธานี จำนวน 5 โรงเรียน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
86 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างแกนนำต้นแบบทีได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพฯในปีงบประมาณ 2555 กับแกนนำต้นแบบของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ 2556 ระยะเวลา 1/2 วัน (ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายน 2556 ) 1.2 จัดกิจกรรมค่ายให้ความรู้ เกี่ยวกับอาหาร โภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและการส่งเสริมสุขอนามัยอื่นๆ รวมทั้งกิจกรรมสร้างพลังกลุ่มสะท้อนปัญหาทางด้านภาวะโภชนาการและการเขียนโครงงานเพื่อแก้ไขและส่งเสริมภาวะโภชนาการ และปัญหาด้านสุขอนามัยอื่นๆที่จะนำไปดำเนินการจริงในแต่ละโรงเรียนและนำเสนอโครงงาน ระยะเวลา 2 วัน (ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายน 2556) 1.3 แกนนำนักเรียน ผู้ปกครอง ครูผู้รับผิดชอบ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลับไปดำเนินโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัยอื่นๆในโรงเรียนที่รับผิดชอบตามที่ได้นำเสนอโครงงานในช่วงเข้าร่วมกิจกรรมค่าย (ประมาณต้นเดือนกรกฎาคม ? กลางเดือนสิงหาคม 2556) 1.4 คณะทำงานติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการในพื้นที่จริง จำนวน 5 โรงเรียน (สัปดาห์ที่ 4 ของเดือนสิงหาคม 2556) 1.5 สรุปและประเมินผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. ประสานงานผู้รับผิดชอบโรงเรียนเพื่อจัดโครงการบริการวิชาการ -- --- --- --- 200.00
2.2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน - --- --- --- 0.00
3.3. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานครั้งที่ 1. -- --- --- --- 2,000.00
4.4. ติดต่อสถานที่จัดกิจกรรม --- -- --- --- 0.00
5.5. คณะทำงานจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดกิจกรรม --- -- - --- 30,000.00
6.6. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานครั้งที่ 2. --- --- -- --- 2,000.00
7.7. ประสานงานผู้รับผิดชอบโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดกิจกรรม --- --- -- --- 200.00
8.8. ดำเนินกิจกรรมค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำฯ ระยะเวลา 2 วัน (ค้างคืน 1 คืน) --- --- -- --- 126,600.00
9.9. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานครั้งที่ 3. เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ --- --- --- -- 2,000.00
10.10. แกนนำดำเนินกิจกรรมโครงการในโรงเรียนต้นสังกัด --- --- --- - 0.00
11.11. คณะทำงานเดินทางไปติดตามประเมินผลการดำเนินงานในพื้นที่จริง --- --- --- -- 30,000.00
12.12. ประชุมสรุปประเมินผลโครงการ --- --- --- -- 2,000.00
13.13. จัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการฉบับสมบูรณ์ --- --- --- -- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 13 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 12 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
6 มิถุนายน พ.ศ. 2556
08.30-19.30 น. พิธีเปิดค่ายกิจกรรม -จัดกิจกรรมค่ายให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และการดูแลสุขอนา อ.มินตรา สาระรักษ์ อ. ลักษณีย์ บุญขาวอ.พัจนภา วงษาพรหม อ.สมเจตน์ ทองดำและคณะ และเครือข่ายจากศูนย์อนา
7 มิถุนายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 น. กิจกรรมสร้างพลังกลุ่มสะท้อนปัญหาและเขียนโครงงานเพื่อแก้ปัญหาที่จะนำไปใช้ดำเนินการจริงในโรงเรียน พ อ.มินตรา สาระรักษ์ อ. ลักษณีย์ บุญขาว อ.สมเจตน์ ทองดำ และเครือข่ายจากศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1. แกนนำนักเรียนได้รับความรู้เพิ่มเติมในด้าน อาหาร โภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และการดูแลสุขอนามัยอื่นๆและเป็นแบบอย่างที่ดีได้ 2. มีการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านโภชนาการและ สุขอนามัยอื่นๆที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ 3. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และทำให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการ รวมทั้งสุขอนามัยอื่นๆที่ดีขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
86
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา โภชนศาสตร์ สุขภิบาลอาหาร และการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม
หลักสูตร หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 3 และ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 37,100.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 12,900.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 12,900.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
7,500.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1.5 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
1,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 24,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 8 คน
=
3,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 21,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
21,000.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 118,470.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,250.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 86 คน
=
10,750.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
1,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 32,320.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 86 คน
=
20,640.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 86 คน
=
4,300.00 บาท
3) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
4,800.00 บาท
4) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 86 คน
=
2,580.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 27,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 15 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
27,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 46,900.00 บาท )
1) ค่าเหมาจ่ายที่พัก 70 คน X 150 บาท
=
10,500.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาในโรงเรียน
=
15,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาทำเสื้อแกนนำเข้าค่ายอบรม
=
12,900.00 บาท
4) ค่าโทรศัพท์ติดต่อประสานตลอดโครงการ
=
1,500.00 บาท
5) ค่าบำรุงสถานที่ สาธารณูปโภคสถานที่ดำเนินกิจกรรม
=
3,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาแรงงาน
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 37,430.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 34,930.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
10,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
5,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
6,930.00 บาท
=
6,930.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
20,000.00 บาท
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) ค่าของที่ระลึกโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 193,000.00 บาท