แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เผยแพร่ความรู้ "ฮีต 12งานบุญอีสาน" ประจำปี 2559
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวณัชชา อักษรศรี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐประศาสนาศาสตร์ บริหารองค์การ
ประสบการณ์ : จัดการประชุมวิชาการ / จัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัย ฯลฯ
ความเชี่ยวชาญ : บริหารโครงการ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ประเพณี ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอดเพราะมีการยึดมั่นที่เปรียบเหมือนธรรมนูญชีวิตชาวอีสานตราบเท่าจนปัจจุบัน(บางส่วน) แต่ก็มีหลายแห่งที่ทิ้งฮีตเก่าคลองเดิม นำวัฒนธรรมต่างชาติมาโดยไม่พิจารณาทำให้สังคมส่วนนั้นมีความวุ่นวาย เกิดปัญหาหลายๆอย่างขึ้น โดยฮีตสิบสองคลองสิบสี่นี้ จะประกอบไปด้วย ฮีต 12 ฮีต และคลอง 4ประเภท มี14 คลอง ได้แก่ ฮีต บุญเข้ากรรม(บุญเดือนอ้าย) ฮีต บุญคูณลาน เดือนยี่ ฮีต บุญข้าวจี่(เดือนสาม) อีต บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (เดือนสี่) ฮีต บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) ฮีตบุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) ฮีตบุญซำฮะ(บุญเดือนเจ็ด) ฮีตบุญเข้าพรรษา ฮีตบุญข้าวประดับดิน ฮีตบุญข้าวสาก ฮีตบุญออกพรรษา ฮีตบุญกฐิน ฮีตสิบสอง เป็นประเพณีการทำบุญที่มีประจำเดือนชาวอีสาน ประสมประสานระหว่างแนวคิดของพระพุทธเจ้า พราหมณ์และผี ก่อนที่ศาสนาพุทธเข้าสู่ไทย โดยเฉพาะดินแดนอีสานนั้นประเพณีตามฮีตคลองเดือนต่างๆมีมานาน สมัยก่อนจะเน้นพิธีทางของผีและพราหมณ์มากกว่าเพราะเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ วิญญาณ เปรตเทวดาอารักษ์ต่างๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีที่มองไม่เห็นตัวจะมีอิทธิพลต่อชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นพิธีกรรมส่วนใหญ่จึงวนเวียนอยู่กับเรื่องผีโดยมีพ่อกะจ้ำเป็นผู้นำทางพิธี เมื่อศาสนาเข้าสู่ไทยดินแดนอีสาน ความเชื่อและพิธีกรรมจึงได้เปลี่ยนไปบ้าง ได้นำพิธีกรรมทางศาสนาเข้าประสมประสาน มีพระสงฆ์องค์เจ้าเข้ามีส่วนร่วมมีพระเป็นผู้นำในบางพิธี แต่ส่วนใหญ่ยังมีปราชญ์หมู่บ้านเป็นผู้นำและจะเอนไปทางแนวพราหมณ์และผีมากกว่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมและงานประเพณีของท้องถิ่น และงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นพันธะกิจหนึ่งที่เป็นตัวชี้วัด ที่จะสะท้องถึงความสัมฤทธิผลของการปฏิบัติหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการจัดการข้อมูลซึ่งได้มีการรวบรวมมาจากการดำเนินงานโครงการสืบสานงานบุญอีสาน “ฮีต 12” ของคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำออกเผยแพร่ต่อเยาวชน นักเรียน นักศึกษาและ ประชาชนทั่วไป ให้เห็นถึงความเป็นมาและความสำคัญของ ฮีต 12 ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้อยุ๋ในจิตใจ และร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป จึงได้ร่วมมือกับวัดไชยมงคล ซึ่งได้มีการจัดงาน “ทอฝ้ายเป็นสายบุญ จุลกฐิน” ขึ้นทุกปี ปีนี้เป็นปีที่ 9 ซึ่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะได้นำองค์ความรู้เรื่องฮีต 12 เผยแพร่ในรูปแบบนิทรรศการ ชิ้นงาน วีดีทัศน์ และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงนำนักศึกษาเข้าร่วมการตักบาตรพระกรรมฐานในตอนเช้า และร่วมชมงาน โดยในปี 2559 นี้มีการจัดงานดังกล่าวขึ้นในวันที่ 10 – 12 พฤศจิกายน 2559 ณ บริเวณวัดไชยมงคล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

วัตถุประสงค์
1.เผยแพร่องค์ความรู้งานประเพณีอีสาน ฮีต 12
2.สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น ฮีต 12

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่สนใจ 2.โรงเรียนในเขตอีสานใต้
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
800 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
เผยแพร่องค์ความนรู้ในรูปแบบนิทรรศการ แสดงชิ้นงาน มีคู่มือนำชมนิทรรศการ มีแผ่นพับประชาสัมพันธ์ในงาน "ทอฝ้ายเป็นสายบุญ จุลกฐิน" และจัดทำวีดีทัศน์เพื่อเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนต

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมผู้เกี่ยวข้อง จัดเตรียมข้อมูล จัดเตรียมโครงการ งบประมาณ -- --- --- --- 0.00
2.จัดกิจกรรม ประเมินผล เผยแพร่ความรู้ 500,000.00
3.บันทึกภาพข้อมูลประเพณี ฮีต 12 ในการจัดจริงตามประเพณี นั้นๆ เพื่อจัดทำวีดีทัศน์ 300,000.00
4.รายงานผลการดำเนินงาน --- --- --- -- 12,200.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 341 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
09.09 น. พิธีเปิดงาน
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
09.39 น.- 21.00 น. เริ่มกิจกรรมการศึกษาและเรียนรู้ฐานการเรียนรู้ต่างๆ ฐานงานบุญอีสาน ฮีต 12 ประกวดการเล่านิทานด้วยภาษาถ
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.39 น.- 21.00 น. พิธีพราหมณ์ พิธีเปิดงาน ทอฝ้ายเป็นสายบุญ เริ่มกิจกรรมการผลิต เมล็ดฝ้ายสู่จีวร การประกวดต่างๆ รอบชิ
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
06.30 น. - 11.00 น. พิธีตักบาตรพระกัมมัฏฐาน จำนวน 109 รูป ถวายภัตตาหารพระกัมมัฏฐาน จำนวน 109 รูป ขบวนแห่ผ้าพระมหาบุญจุ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ได้รับความรู้ในเรื่องานประเพณีท้องถิ่นของตนเอง ได้รับการปลูกฝังให้รู้จักความเป็นมาของหลักคำสอนตามประเพณีต่างๆ รู้จักการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
800
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
0
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 10,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 10,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
6,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 802,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 802,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมารถบัส 2 คัน คันละ 10,000 บาท
=
20,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาออกแบบโครงสร้างนิทรรศการ
=
5,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาออกแบบ ART WORK นิทรรศการ
=
8,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาออกแบบคู่มือนำชมนิทรรศการ
=
2,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาพิมพ์สติ๊กเกอร์ พีวชี 24 แผ่น แผ่นละ 600 บาท
=
14,400.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาทำโครงติดตั้งนิทรรศการ 24 ชุด ชุดละ 6,000 บาท
=
144,000.00 บาท
7) ค่าจ้างเหมาพิมพ์แผ่นพับคู่มือนำชมนิทรรศการ
=
60,000.00 บาท
8) ค่าจ้างเหมาพิมพ์ป้ายไวนิล ประชาสัมพันธ์
=
5,000.00 บาท
9) ค่าจ้างเหมาพิมพ์แผ่นพับเผยแพร่ความรู้ ประเพณี ฮีต 12
=
60,000.00 บาท
10) ค่าถ่ายเอกสาร
=
8,600.00 บาท
11) ค่าจ้างเหมาจัดทำวีดีทัศน์เผยแพร่ความรู้ ประเพณี ฮีต 12 (ภาพรวมจากการจัดงานประเพณีจริง)
=
50,000.00 บาท
12) จ้างเหมาแรงงาน 5 คน คนละ 2 วัน วันละ 300 บาท
=
3,000.00 บาท
13) ค่าจ้างเหมาจำทำวีดีทัศน์ ฮีต 12 (12 เรื่อง) * 26,000 บาท
=
312,000.00 บาท
14) ค่าจ้างเหมาออกแบบแผ่นพับความรู้
=
9,000.00 บาท
15) จ้างเหมาออกแบบ ตกแต่งภายในและบริเวณโดยรอบ พร้อมติดตั้งไฟส่องสว่าง ซุ้มนิทรรศการ บุญ 12 เดือน
=
96,000.00 บาท
16) จ้างเหมาทำป้ายฟิวเจอร์บอร์ด
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 812,200.00 บาท