แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสุภวัฒน์ โสวรรณี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตร์ศึกษา
ประสบการณ์ : รับผิดชอบโครงการและประสานการดำเนินงานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงบประมาณและโครงการ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดนโยบายการพฒนาการศึกษาในปี 2560 ไว้ว่า หัวใจของการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ การส้รางและพัฒนาคนไทยเพื่ออนาคตของประเทศ สร้างคนไทยให้เป็นคนดีและคนเก่ง มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ เน้นการอ่านออก เขียนได้ คิดวิเคราะห์เป็น สามารถสร้างวิสัยทัศน์และวางแผนอนาคตที่ดีของตนเองได้ รวมถึงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของคนไทย และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติเป็นหลัก ซึ่งได้กำหนดแนวทางไปสู่การปฏิบัติไว้ 11 ข้อ ซึ่งมีแนวทางสำคัญที่มหาวิทยาลัยเห็นว่ามีความสำคัยและสามารถร่วมพัฒนาตามนโยบายดังกล่าวได้ คือ 1) เร่งรัดปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบและกระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันโลก 2) เร่งพัฒนาความแข็งแกร่งทางการศึกษา ให้ผู้เรียนทุกระดับมีความรู้ และทักษะแห่งโลกยุคใหม่ควบคู่กันไป โดยเฉพาะทักษะการอ่าน การเขียน และการคิด เพื่อให้มีความพร้อมเข้าสู่การศึกษาระดับสูงและโลกของการทำงาน 3) เร่งปรับระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีความสัมพันธ์กับเนื้อหา ทักษะ และกระบวนการเรียนการสอน ประกอบไปด้วย มาตรฐานและการประเมิน หลักสูตร และการสอน การพัฒนาทางวิชาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 4) ยกระดับความแข็งแกร่งมาตรฐานวิชาชีพครูและผู้บริหารสถานศึกษา ให้ครูเป็นผู้ที่มี ความสามารถและทักษะที่เหมาะสมกับการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน จากนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีบุคลากรที่มีองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่สามารถให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียนตามนโยบายดังกล่าวได้เป็นอย่างดี และมีกลุ่มโรงเรียนที่ร่วมกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัยมาต่อเนื่องยาวนาน เช่น กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 ดังนั้นเพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นบทบาทของมหาวิทยาลัย สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย ฯ จึงได้จัดทำโครงการการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กขึ้น เพื่อร่วมพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
2.เพื่อจัดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้นอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียนแก่นักเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ในโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและโรงเรียนที่สนใจ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัด กก.ตชด. 22
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
300 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. การประชุมสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเสนอแผนการดำเนินงานประจำปี 2560 2. คณะทำงานจัดทำกิจกรรมโครงการเพื่อดำเนินงาน 3. คณะทำงานดำเนินการตามแผนที่กำหนด 4. ประชุมติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การประชุมสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเสนอแผนการดำเนินงานประจำปี 2560 -- --- --- --- 20,000.00
2.คณะทำงานจัดทำกิจกรรมโครงการเพื่อดำเนินงาน -- -- -- --- 0.00
3.คณะทำงานดำเนินการตามแผนที่กำหนด -- - 700,000.00
4.ประชุม ออกพื้นที่ติดตามและสรุปผลการดำเนินงานรอบ 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน --- -- -- -- 50,000.00
5.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน --- --- --- -- 30,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 241 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ครู บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯในเขตพื้นที่เป้าหมาย มีทักษะและความรู้ด้านการเรียนการสอนและสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 2. นักเรียนและประชาชนในชุมชนพื้นที่เป้าหมายมีความรู้ ทักษะ ในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
300
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 159,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 144,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 144,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
144,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 15,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
8,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 522,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 54,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 25,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 ครั้ง x จำนวน 10 คน x ครั้งละ 500.00 บาท
=
25,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 5 ห้อง x ห้องละ 500.00 บาท
=
5,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 10 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 150,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 250 คน
=
150,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 250,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 250 คน
=
250,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 18,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 10 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 50,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาบริการ
=
50,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 118,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 20,800.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 20,800 บาท
=
20,800 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) ป้ายประชาสัมพันธ์
10 x 1,500 บาท
=
15,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 23,000.00 บาท )
1) หมึกพิมพ์
5 x 2,200 บาท
=
11,000 บาท
2) cpu, mainboard, ram
1 x 12,000 บาท
=
12,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 60,000.00 บาท )
1) วัสดุการศึกษา
=
20,000.00 บาท
2) วัสดุการเกษตร
=
20,000.00 บาท
3) วัสดุก่อสร้าง
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 800,000.00 บาท