แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ สำรวจข้อมูลสัดส่วนร่างกาย และให้ความรู้เรื่องสมมาตรของร่างกายเพื่อลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อในวัยสูงอายุ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเตรียมการสู่สังคมผู้สูงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.กติกา สระมณีอินทร์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Biomedical Engineering University of Strathclyde, Glasgow, UK
ประสบการณ์ : * Lecturer: Occupational Health and Safety, Faculty of Science, Ubon Ratchathani University * Special lecturer: Safety and Health at Work Promotion Association (Thailand) * Special lecturer: All is One Co.,Ltd Special Lecturer: Safety Science, Faculty of Science Technology, Bansomdejchaopraya Rajabhat University * Engineer: National Electronics and Computer Technology Centre * Safety Officer: Wongpin Co.,Ltd
ความเชี่ยวชาญ : Biomechanics, Human Factors, Gait and Motion Analysis, Health Promotion, Safety for Vulnerable Populations
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การเข้าใจสัดส่วนร่างกาย ด้วยวิทยาการวัดสัดส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ (Anthropometry และการประเมินความสมมาตรของร่างกายตนเองได้อย่างถูกต้อง จะสามารถป้องกันการบาดเจ็บกล้ามเนื้อซ้ำๆ (Repetitive strain injury) และความผิดปกติของกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal) ซึ่งสามารถเป็นมากขึ้นตลอดเวลา และจากนำไปสู่ความพิการ (Disability) ในระยะยาวได้ ปัซึ่งจจัยเป็นสาเหตุของปัญหาดังกล่าวมาจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม การยกของที่มีน้ำหนักเกินขนาด การบิดเอี้ยวตัวในท่าฝืนธรรมชาติ รวมทั้งการนั่งและยืนเป็นเวลานานๆ ในแต่ชีวิตประจำวัน ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และกระดูก โดยเฉพาะบริเวณหลัง ซางเป็นปัญหาทางด้านกระดูกและกล้ามเนื้อสำคัญของประชาชนตั้งแต่วัยทำงานจนถึงผู้สูงอายุ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นหนึ่งในสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะทางด้าน อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพตลอดจนประชาชนทั่วไป การป้องกันการเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ อนามัย และความปลอดภัย ต้องอาศัยความร่วมมือ องค์ความรู้ และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพเฉพาะทำหน้าที่ในการควบคุมป้องกันเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพมีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จึงได้จัดโครงการสำรวจข้อมูลสัดส่วนร่างกาย และให้ความรู้เรื่องสมมาตรของร่างกายเพื่อลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ ในวัยสูงอายุ เพื่อส่งเสริมการรักษาสุขภาพด้านความสมมาตรของร่างกาย และการออกกำลังกายเพื่อแก้ไขการวางท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ให้กับประชาชนในชุมชนใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วัยทำงาน จนถึงผู้สูงอายุ ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถพัฒนาการรักษาสมมาตรของร่างกายในการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อทั้งในระยะสั้น และในระยะยาว รวมทั้งนักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมกับชุมชนในการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยี เพื่อการจัดการสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อมโยงกับการเรียน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชุมชน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อวัดและเก็บข้อมูลสัดส่วนร่างกาย
2.เพื่อให้ความรู้เรื่องสมมาตรของร่างกายเพื่อลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ ในวัยสูงอายุ
3.เพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาพที่ดี มีความปลอดภัยในการประกอบอาชีพและการใช้ชีวิตประจำวันในชุมชน
4.เพื่อให้นักศึกษาสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในชุมชน
5.เพื่อสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพให้กับนักศึกษาสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
6.เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระหว่างสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและชุมชน
7.เพื่อเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างประชากรสูงอายุ ในการวิจัยและพัฒนาต่อยอดในแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัย โครงการบริหารกล้ามเนื้อของวัยผู้สูงอายุโดยใช้เกมส์ ร่วมกับสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาควิชาคณิตศาสสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มตั้งแต่วัยแรงงาน (15-59ปี) จนถึงวัยผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
120 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1) เก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ เพศ อายุ ส่วนสูง และน้ำหนัก เพื่อคำนวณดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) 2) วัดความสมมาตรของร่างกายด้วยแผ่นมาตรวัด แผ่นนี้จะทำเป็นแผ่นไวนิลขนาด 2.5 x 2.5 ตารางเมตร แล้วแขวนกับผนัง เพื่อวัดสมมาตรของร่างกายทั้งรยางค์บนและล่าง ทั้งด้านซ้ายและขวาทางด้านหน้า และทางด้านข้างที่ตำแหน่งศีรษะ หลัง สะโพก เข่า และส้นท้า วัดระยะและองศาที่สามารถเหยียด และขยับได้ในตำแหน่งต่างๆ 3) วิเคราะห์การวางเท้าอย่างง่ายด้วยกระดาษ A4 โดยการปั๊มเท้าบนกระดาษ 4) วิเคราะห์ความสมมาตรในการเดิน โดยวางสมุดบนศีรษะแล้วเดินเป็นระยะทาง 5 เมตร 5) วัดความไวของการใช้มือและแขนด้วยเกมส์วางห่วงสี 6) สำรวจอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ด้วยแบบประเมินขนาดความปวดเมื่อย

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดทำแผนงานและรายละเอียดกิจกรรม - --- --- --- 0.00
2.จัดเตรียมเครื่องมือวัดทั้งหมด -- -- --- --- 11,600.00
3.เตรียมความรู้บุคลากร และนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม --- - --- --- 10,800.00
4.จัดกิจกรรมกับกลุ่มทดสอบ (Try-out) --- - --- --- 1,000.00
5.ประสานงานผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายวันเวลาเพื่อเข้าไปทำกิจกรรม --- - --- --- 0.00
6.จัดกิจกรรมลงชุมชน --- --- --- 48,400.00
7.ประเมิน และสรุปผลโครงการ --- --- --- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 327 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
8.30-16.30 เตรียมความรู้บุคลากร และนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม ดร.กติกา สระมณีอินทร์
18 เมษายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 สมมาตรของร่างกายเพื่อลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อในวัยสูงอายุ ชุมชนที่ 1 ดร.กติกา สระมณีอินทร์
25 เมษายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 สมมาตรของร่างกายเพื่อลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ ในวัยสูงอายุ ชุมชนที่ 2 ดร.กติกา สระมณีอินทร์
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 สมมาตรของร่างกายเพื่อลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ ในวัยสูงอายุ ชุมชนที่ 3 ดร.กติกา สระมณีอินทร์
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 สมมาตรของร่างกายเพื่อลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ ในวัยสูงอายุ ชุมชนที่ 4 ดร.กติกา สระมณีอินทร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในด้านสัดส่วน และสมมาตรของร่างกาย สามารถดูแลตนเองและครอบครัวให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และการใช้กล้ามเนื้อที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน ลดการเจ็บป่วยและการพึ่งพาสถานพยาบาล
ด้านสังคม : - กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญของการดูแลสุขภาพของตนเอง - นักศึกษาสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสามารถบูรณาการองค์ความรู้ ให้สอดคล้องกับชุมชน และการเปลี่ยนแปลงของสังคม -นักศึกษาสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้ฝึกปฏิบัติงานทางด้านอาชีวอนามัยและควปลอดภัยในชุมชน เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพของชาวบ้าน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : นักศึกษาสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตระหนักในเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมของการเป็นนักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
120
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1108321
หลักสูตร อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน สามารถนำความรู้จากการเรียนในห้องเรียนมาใช้บริการวิชาการได้มากกว่า ร้อยละ 80
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษามีส่วนร่วม ร้อยละ 80
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ 4 เรื่อง

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 18,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 18,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 59,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 13,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
10,000.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 31,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 120.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 120.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 2 เดือน x เดือนละ 2,500.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 10,600.00 บาท )
1) เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ในการวัดขนาดร่างกาย พร้อมอุปกรณ์ทำความสะอาดเครื่องมือวัดและอุปกรณ์
=
10,600.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 2,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 79,800.00 บาท