แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการ : ม.อุบลฯ ร่วมใจแสดงความอาลัยและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : แสดงความอาลัยและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางอมร วิชัยวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : มหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา
ประสบการณ์ : 1.การวิเคราะห์ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมรับน้องรูปแบบใหม่ 2.ศึกษาการพัฒนาการดำเนินงาน กิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนานักศึกษา
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559 สำนักพระราชวังออกประกาศว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2557 ตามที่สำนักพระราชวังได้แถลงให้ทราบเป็นระยะแล้วนั้น แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี จากประกาศดังกล่าว ประชาชนชาวไทยทุกคนต่างมีความเศร้าโศกเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชกรณียกิจเพื่อคนไทยนานัปการ ทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายตลอดมาโดยมิเคยย่อท้อ เหล่าพสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ รัฐบาลประกาศให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐและสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา 30 วัน, ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่รัฐ ไว้ทุกข์ 1 ปี ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป โดยการแต่งกายไว้ทุกข์และจัดกิจกรรม เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสู่สวรรคาลัย ให้เป็นไปด้วยความเหมาะสม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกรจังหวัดอุบลราชธานี เป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ ทั้งนี้ พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17-18 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2498 โดยเสด็จผ่าน อำเภอวารินชำราบ ไปอำเภอพิบูลมังสาหาร เพื่อทอดพระเนตรแก่งสะพือ และวัดสุปัฏนาราม มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนจำนวนมากเฝ้ารับเสด็จฯ และทูลเกล้าฯ ถวายพระพรพร้อมประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยมีนายโพธิ์ ส่งศรี ทำหน้าที่พราหมณ์ หลังจากนั้นเสด็จพระราชดำเนิน ณ ศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี (ศ.อ.ศ.อ.) ที่ว่าการอำเภอเมือง และศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ในวโรกาสนี้ราษฎรชาวจังหวัดอุบลราชธานีร่วมกันน้อมเกล้าฯ ถวายช้างชื่อ พลายบุญเลิศ นอกจากนั้นเจ้านายในราชตระกูลแห่งอาณาจักรลาว (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) ยังมารับเสด็จฯ ด้วย จังหวัดอุบลราชธานีจัดการแสดงพื้นเมืองถวายให้ทอดพระเนตรมีราษฎร ทั้งชาวจีน และชาวเวียดนาม ต่างทำซุ้มรับเสด็จฯ เขียนคำถวายการต้อนรับ และคำถวายพระพรชัยมงคลเป็นภาษาชาตินั้นๆ ทั้งสองพระองค์ประทับแรม ณ เรือนรับรองพิเศษ มณฑลทหารบกที่ 22 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ.2559 จะครบ 61 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จเยี่ยมชาวจังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2499 ดังนั้น พสกนิกรทุกหมู่เหล่าของจังหวัดอุบลราชธานี จะร่วมกันจัดงานเพื่อน้อมรำลึก “ใต้ร่มพระบารมี 61 ปี ในหลวงทรงเสด็จเยี่ยมชาวจังหวัดอุบลราชธานี” โดยมีเป้าหมายคือ ประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 60,000 คน จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการ ม.อุบลฯ ร่วมใจแสดงความอาลัยและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เพื่อให้ผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อถวายความเคารพและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเพื่อแสดงออกถึงความรักเทิดทูนทั้งสองพระองค์ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมและปลูกฝังให้ผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่า มีความภาคภูมิใจ และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษให้คงอยู่สืบไป

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้ ผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา ม.อุบลฯ ร่วมใจแสดงความอาลัยและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
1550 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประสานงานกับคณะ/สำนัก/หน่วยงาน เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคลากรและนักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม วันที่ 26 – 31 ตุลาคม 2559 2. เตรียมการ วันที่ 1 – 15 พฤศจิกายน 2559 3. วันจัดกิจกรรม : วันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 4. ประเมินผลและรายงานผล วันที่ 17 – 30 พฤศจิกายน 2559

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1. -- --- --- --- 185,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
16.30 -20.30 น. ฝึกซ้อมการแสดง
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
16.30 -20.30 น. ฝึกซ้อมการแสดง
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
13.00 - 20.00 น. บุคลากรและนักศึกษา เข้าร่วมฝึกซ้อมและร่วมงานถวายอาลัย

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : ผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา ม.อุบลฯ ได้ร่วมใจแสดงความอาลัยและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
1550
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
0
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
0
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 12,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 12,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
12,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 151,300.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 9,300.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 3.00 บาท x จำนวน 1550 คน
=
9,300.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 77,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 1550 คน
=
77,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 64,500.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาเวทีพร้อมเครื่องเสียงในวันฝึกซ้อม
=
4,500.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมารถบัสพัดลมพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น
=
60,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 21,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 21,700.00 บาท )
1) ค่าวัสดุในโครงการ
=
5,000.00 บาท
2) ค่าดอกบัวพร้อมเทียน
=
16,700.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 185,000.00 บาท