แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 8/1 ชุดโครงการการจัดทำแบบเรียนภาษาจีนจากหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : ชุดโครงการการจัดทำแบบเรียนภาษาจีนจากหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายเมชฌ สอดส่องกฤษ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์จีน
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิจัย ปี งบประมาณ 2552 ถึง ปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมจีน ภาษาและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
หัวหน้าโครงการ
ดร.ชิดหทัย ปุยะติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Chinese Literature
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการและกรรมการโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการสอนภาษาจีน ปี 2553 ถึงปัจจุบัน หัวหน้าโครงการและกรรมการโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร ปี 2553 ถึงปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาวัฒนธรรมและวรรณคดีจีน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวประภาพร แก้วอมตวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการ 1.การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง:การสร้างสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนจากสื่อมัลติมีเดีย 2.การจัดทำสารานุกรมศาสนสถานจีนในภาคอีสานตอนล่าง 3.การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนตอนใต้ 4.การจัดทำพจนานุกรมคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยถิ่นอีสานจีน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษา วัฒนธรรมจีน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ทั่วโลกเร่งพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาจีนกันอย่างกว้างขวาง ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ในช่วงระหว่างการพัฒนาบุคลากรนี้ สิ่งสำคัญคือการสร้างแหล่งเรียนรู้ การผลิตสื่อการสอน ซึ่งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก็เป็นหน่วยงานสำคัญหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่จัดการเรียนการสอน และพัฒนาบุคลากรด้านภาษาจีนมาตั้งแต่ปี 2547 นับถึงปัจจุบันครบรอบ 1 ทศวรรษแล้ว นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 เป็นต้นมา คณะศิลปศาสตร์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน ให้จัดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในอีสานใต้อย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2553 เรื่อง ปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีน ครั้งที่ 2 ปีงบประมาณ 2554 เรื่อง การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนจากสื่อในท้องถิ่น ครั้งที่ 3 ปีงบประมาณ 2555 การสร้างสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนจากสื่อมัลติมีเดีย ครั้งที่ 4 ปีงบประมาณ 2555 เรื่อง การอบรมเพื่อถ่ายทอดการใช้สื่อการเรียนการสอนภาษาจีนจากสื่อ มัลติมีเดีย ครั้งที่ 5 ปี งบประมาณ 2557 เรื่อง การสร้างสื่อการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนจากสื่อนิทาน จีน และ การสร้างสื่อการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนจากคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน ครั้งที่ 6/1 งบประมาณ 2557 การจัดทำสื่อการเรียนการสอนจากสื่อนิทาน) ครั้งที่ 6/2 งบประมาณ 2558 การถ่ายทอดการสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนจากสื่อนิทานจีน งปม) ครั้งที่ 7/1 งบประมาณ 2559 การจัดทำสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนจากเพลงจีนสำหรับเด็ก ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2559 ได้ดำเนินการรวบรวม และจัดทำสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนจากเพลงจีนสำหรับเด็ก ตามแผนการดำเนินงานแล้ว เพื่อเตรียมการจัดพิมพ์รูปเล่มตามจำนวนผู้รับบริการ และจำนำไปถ่ายทอดในปี 2560 ต่อไป ครั้งที่ 7/2 งบประมาณ 2560 การถ่ายทอดการสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนจากเพลงจีนสำหรับเด็ก ครั้งที่ 8/1 งบประมาณปี 2561 ชุดโครงการ การจัดทำแบบเรียนภาษาจีนจากหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางมีเนื้อหามาก และกำหนดช่วงชั้นไว้ชัดเจน การทำงานครั้งนี้จึงจัดทำเป็นชุดโครงการ มีรายละเอียดดังนี้ ชื่อโครงการ งานที่จะส่งมอบ ผู้รับผิดชอบ ชุดโครงการ การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 8/1 รายงานผลการดำเนินโครงการ และผลงานจากโครงการย่อยชุดที่ 1 2 และ 3 รศ.เมชฌ สอดส่องกฤษ โครงการย่อยที่ 1 การสร้างแบบเรียนภาษาจีนจากหลักสูตรแกนกลางกระทรวงศึกษาธิการ ระดับประถมศึกษา แบบเรียนภาษาจีน ตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ระดับประถมศึกษา อาจารย์ประภาพร ศศิประภา โครงการย่อยที่ 2 การสร้างแบบเรียนภาษาจีนจากหลักสูตรแกนกลางกระทรวงศึกษาธิการ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบบเรียนภาษาจีน ตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดร.ชิดหทัย ปุยะติ โครงการย่อยที่ 3 การสร้างแบบเรียนภาษาจีนจากหลักสูตรแกนกลางกระทรวงศึกษาธิการ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบเรียนภาษาจีน ตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รศ.เมชฌ สอดส่องกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ สื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพ และศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้ • ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตีความ นำเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม • ภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาความสัมพันธ์ ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับวัฒนธรรมไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม • ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น การใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน • ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก การใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และสังคมโลก เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ต ๑.๓ นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา กับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก มาตรฐาน ต ๔.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม มาตรฐาน ต ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก เพื่อให้การบริการวิชาการ ทั้งคุณภาพของงานวิชาการและผลสัมฤทธิ์ของการถ่ายทอดความรู้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงยั่งยืนและต่อเนื่อง นับจากการดำเนินโครงการบริการวิชาการครั้งที่สามเป็นต้นมา หลักสูตรภาษาจีนมีแผนการดำเนินงานเรื่องละ 2 ปี กล่าวคือ ปีที่หนึ่งเป็นการสร้างสื่อการเรียนการสอน และปีที่สองเป็นการอบรมเพื่อถ่ายทอดสื่อการเรียนการสอนให้กับผู้รับบริการ ผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องที่ผ่านมา มีผู้สนใจและเข้าร่วมอบรมจำนวนมาก ทั้งที่เป็นครูผู้สอนภาษาจีนในระดับก่อนอุดมศึกษา ระดับอุดมศึกษา ครูผู้สอนภาษาจีนอิสระ นักเรียน นักศึกษาในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ได้ให้บริการวิชาการสู่บุคลภายนอกทั้งที่เข้ารับการอบรม และรับบริการจากสื่ออื่น มากกว่า 5,000 คนขึ้นไป ซึ่งผู้รับบริการวิชาการ สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอน เป็นประโยชน์ในการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีผลกระทบต่อการเรียนการสอนภาษาจีนระดับก่อนอุดมศึกษาเรียนการสอนภาษาจีนในเขตอีสานใต้ในระดับสูง จากการตอบแบบสอบถามในการจัดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในเขตอีสานใต้ ครั้งที่ผ่านมา ผู้เข้าอบรมกว่า 90% ชี้ว่า ต้องการให้มหาวิทยาลัยช่วยสร้างแบบเรียนจากหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้สามารถนำไปใช้สอนได้อย่างมีมาตรฐานร่วมกัน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่า กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดหลักสูตรแกนกลางมาให้ แต่ไม่ได้กำหนดแบบเรียน ครูผู้สอนต้องสร้างแบบเรียนขึ้นเอง และเห็นว่าคณาจารย์ในระดับอุดมศึกษามีความรู้ทักษะภาษาจีนและการสอนภาษาจีนในระดับสูง จึงขอให้จัดทำแบบเรียนดังกล่าวเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่เปิดสอนหลักสูตรภาษาจีนในระดับปริญญาตรี และมีแผนที่จะเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาในอนาคต มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านภาษาและการสอนภาษาจีน เพื่อรองรับความต้องการของโรงเรียนในเขตพื้นที่สวัสดิการ 2 โรงเรียน โรงเรียนเครือข่าย 22 โรงเรียน และโรงเรียนในเขตอีสานใต้ พันธกิจของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอย่างหนึ่งคือ พัฒนาและให้บริการทางวิชาการครอบคลุมจังหวัดในเขตอีสานใต้รวม 5 จังหวัดได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และนครราชสีมา นักเรียนที่สมัครเข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร้อยละ 90 มาจากโรงเรียนในพื้นที่บริการ การจัดโครงการบริการวิชาการในครั้งนี้ จึงเกิดประโยชน์โดยตรงกับผู้รับบริการ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วัตถุประสงค์
1.มุ่งสร้างแบบเรียนจากหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเตรียมการเผยแพร่ให้กับโรงเรียนระดับประถมศึษา มัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
การทำงานบริการวิชาการครั้งนี้มีสองขั้นตอน คือ ครั้งที่ 8/1 ปี งปม.2561 เป็นการเรียบเรียงแบบเรียนเพื่อเตรียมสำหรับการจัดอบรมในโครงการ ครั้งที่ 8/2 ปี งปม.2562 หนังสือที่จัดพิมพ์จะเตรียมมอบให้กับผู้รับบริการปี 2562
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
0 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ชื่อโครงการ งานที่จะส่งมอบ ผู้รับผิดชอบ ชุดโครงการ การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 8/1 รายงานผลการดำเนินโครงการ และผลงานจากโครงการย่อยชุดที่ 1 2 และ 3 รศ.เมชฌ สอดส่องกฤษ โครงการย่อยที่ 1 การสร้างแบบเรียนภาษาจีนจากหลักสูตรแกนกลางกระทรวงศึกษาธิการ ระดับประถมศึกษา แบบเรียนภาษาจีน ตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ระดับประถมศึกษา อาจารย์ประภาพร ศศิประภา โครงการย่อยที่ 2 การสร้างแบบเรียนภาษาจีนจากหลักสูตรแกนกลางกระทรวงศึกษาธิการ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบบเรียนภาษาจีน ตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดร.ชิดหทัย ปุยะติ โครงการย่อยที่ 3 การสร้างแบบเรียนภาษาจีนจากหลักสูตรแกนกลางกระทรวงศึกษาธิการ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบเรียนภาษาจีน ตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รศ.เมชฌ สอดส่องกฤษ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การประชุมคณะทำงาน เก็บข้อมูลภาษาและวัฒนธรรม วางโครงร่างแบบเรียน --- --- --- 101,800.00
2.การเรียบเรียง --- --- --- 100,000.00
3.การเรียบเรียง --- --- --- 100,000.00
4.การเรียบเรียง และส่งงาน --- --- --- 100,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 ตุลาคม พ.ศ. 2560
8.00 โครงการนี้เป็นชุดโครงการเรียบเรียงแบบเรียน จัดทำเสร็จ จะนำเผยแพร่สู่ผู้รับบริการในโครงการครัง้ที่ 8/ คณาจารย์หลักสูตรภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้สอนภาษาจีนในระดับก่อนอุดมศึกษาสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้โดยเบ็ดเสร็จ ลดงบประมาณการจัดซื้อหนังสือและแบบเรียนของโรงเรียน
ด้านสังคม : ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมอันดีในสังคม โดนสอดแทรกเนื้อหาด้านคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมอันดีในแบบเรียน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับก่อนอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และของชาติมีมาตรฐานร่วมกัน ผู้สอนสามารถนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
250
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับก่อนอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และของชาติมีมาตรฐานร่วมกัน ผู้สอนสามารถนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ปริทรรศน์การสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ
หลักสูตร ภาษาจีนและการสื่อสาร
นักศึกษาชั้นปี : 2,3,4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษามีส่าวนร่วมในการคัดเลือกคำศัพท์สำหรับใช้ในแบบเรียน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษามีว่วนร่วมในการอ่าน ทดลองใช้แบบเรียน และนำไปใช้ฝคกสอนในฐานะผู้สอน ในวิชาปริทรรศน์การสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 69,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 3,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 45,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 45,800.00 บาท )
1) จำนวน 19 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
26,600.00 บาท
2) จำนวน 24 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
19,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญชาวจีนด้านการแปลและประเมินความถูกต้องทางวิชาการ1 ครั้งจำนวน 2 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 10,000.00 บาท/ชม.
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 332,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 60.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
2,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 330,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูลหลักสูตรแกนกลางจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ 4 กลุ่ม 3 ช่วงชั้น (10000 * 3)
=
30,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาออกแบบโครงสร้างรูปแบบของแบบเรียน 3 ช่วงชั้น (10000 * 3)
=
30,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาออกแบบและวาดภาพประกอบแบบเรียน 3 ช่วงชั้น (10000 * 3)
=
30,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ตลอดโครงการ ทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับระบบการพิมพ์ อักษรจีน และรูปแบบข
=
30,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาการพิสูจน์อักษรภาษาไทย 3 ช่วงชั้น (10000 * 3)
=
30,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาการพิสูจน์อักษรภาษาจีน 3 ช่วงชั้น (10000 * 3)
=
30,000.00 บาท
7) ค่าจ้างเหมาการพิสูจน์สัทอักษร คำอ่านภาษาจีน 3 ช่วงชั้น (10000 * 3)
=
30,000.00 บาท
8) ค่าจ้างเหมาการพิมพ์เอกสารภาษาจีน และอักษรพิเศษในแบบเรียน 3 ช่วงชั้น (10000 * 3)
=
30,000.00 บาท
9) ค่าจ้างเหมาตรวจสอบต้นฉบับ รูปเล่ม จัดหน้า 3 ช่วงชั้น (10000 * 3)
=
30,000.00 บาท
10) ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์ 3 ช่วงชั้น ประมาณการช่วงชั้นละ 50 เล่ม (10000 * 3)
=
30,000.00 บาท
11) ค่าจ้างเหมาจัดการประชาสัมพันธ์ เตรียมการสำหรับการเผยแพร่ การประชาสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร ประสานงาน
=
30,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 401,800.00 บาท